ลูเซิร์น

(เปลี่ยนทางจาก Lucerne)

ลูเซิร์น (อังกฤษ: Lucerne) หรือ ลูแซร์น (เยอรมัน: Luzern) เป็นเมืองหลวงของรัฐลูเซิร์นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยความที่ลูเซิร์นเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภาคกลางของประเทศ ทำให้ลูเซิร์นกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ, การคมนาคม, ทางวัฒนธรรม ของภาคกลาง ภาษาทางการที่ใช้ในลูเซิร์นคือภาษาเยอรมัน (ภาษาพูด สวิสเยอรมัน ท้องถิ่น) ตั้งอยู่ชายฝั่งด้านตะวันตกติดกับทะเลสาบลูเซิร์น มีแม่น้ำร็อยส์ไหลออกมาจากทะเลสาบผ่านกลางเมือง จากเมืองนี้สามารถมองเห็นเทือกเขาแอลป์, เขาพีลาทุส และเขารีกี ลูเซิร์นมีภูมิอากาศเย็นตลอดทั้งปี จุดหมายตาที่สำคัญในเมืองคือคาเพ็ลล์บรึคเคอ สนามบินที่อยู่ใกล้ลูเซิร์นที่สุดคือท่าอากาศยานซือริช ซึ่งมีรถไฟโดยตรงมาสู่ลูเซิร์นทุกชั่วโมงโดยใช้เวลาเดินทางราว 1 ชั่วโมง[3]

ลูเซิร์น
ตราราชการของลูเซิร์น
ตราอาร์ม
ลูเซิร์นตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์
ลูเซิร์น
ลูเซิร์น
ที่ตั้งของลูเซิร์น
พิกัด: 47°3′N 8°18′E / 47.050°N 8.300°E / 47.050; 8.300
ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
รัฐลูเซิร์น
เขตลูเซิร์น
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด37.4 ตร.กม. (14.4 ตร.ไมล์)
ความสูง (Lake shore)435 เมตร (1,427 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (Sonnenberg)800 เมตร (2,600 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (Rotsee)422 เมตร (1,385 ฟุต)
ประชากร
 (ธ.ค. 2015[2])
 • ทั้งหมด81,295 คน
 • ความหนาแน่น2,200 คน/ตร.กม. (5,600 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมเยอรมัน: Luzerner(in)
รหัสไปรษณีย์6000
เลข SFOS1061
เว็บไซต์www.stadtluzern.ch

ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนอลามันน์เชื้อสายเยอรมันก็มีอิทธิพลเหนือดินแดนที่เป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน จนกระทั่งราวปี 750 ก็มีการจัดตั้งสังฆมณฑลซังคท์เลโอเดอการ์ (St. Leodegar) นิกายโรมันคาทอลิกขึ้น ต่อมาในศตวรรษที่ 9 สังฆมณฑลซังคท์เลโอเดอการ์ได้ตกอยู่ในการปกครองของอารามมูร์บัค (Murbach Abbey) ในแคว้นอาลซัส ในช่วงเวลานี้เอง พื้นที่แถบนี้ได้ถูกเรียกว่า ลูกิอาริอา[4] (ละติน: Luciaria) ต่อมาในปี 1178 สังฆมณฑลแห่งนี้ได้เป็นอิสระจากอารามมูร์บัค และได้สถาปนาสังฆมณฑลเป็นเมืองลูเซิร์นในปีเดียวกัน เมืองลูเซิร์นกลายเป็นทางผ่านที่สำคัญบนเส้นทางการค้าที่กำลังเฟื่องฟูในภูมิภาคก็อทฮาร์ท (Gotthard)

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของนครลูเซิร์น
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.4
(38.1)
5.2
(41.4)
10.3
(50.5)
14.4
(57.9)
19.1
(66.4)
22.2
(72)
24.7
(76.5)
23.8
(74.8)
19.4
(66.9)
14.3
(57.7)
7.8
(46)
4.3
(39.7)
14.1
(57.4)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.5
(32.9)
1.4
(34.5)
5.4
(41.7)
9.1
(48.4)
13.7
(56.7)
16.9
(62.4)
19.1
(66.4)
18.3
(64.9)
14.6
(58.3)
10.2
(50.4)
4.6
(40.3)
1.6
(34.9)
9.6
(49.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -2.3
(27.9)
-2.0
(28.4)
1.1
(34)
4.3
(39.7)
8.9
(48)
12.1
(53.8)
14.2
(57.6)
13.9
(57)
10.6
(51.1)
6.7
(44.1)
1.6
(34.9)
-1.0
(30.2)
5.7
(42.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 51
(2.01)
54
(2.13)
74
(2.91)
88
(3.46)
128
(5.04)
154
(6.06)
151
(5.94)
146
(5.75)
107
(4.21)
76
(2.99)
73
(2.87)
72
(2.83)
1,173
(46.18)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 16.0
(6.3)
20.2
(7.95)
8.3
(3.27)
1.2
(0.47)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.4
(0.16)
5.3
(2.09)
14.6
(5.75)
66.0
(25.98)
ความชื้นร้อยละ 83 79 73 70 72 72 72 75 80 83 84 84 77
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 9.3 8.7 11.8 11.8 12.9 13.5 12.5 12.5 10.2 9.4 9.6 10.0 132.2
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 cm) 3.8 4.4 1.9 0.6 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.1 2.4 7.9 37.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 47 72 122 141 161 171 201 187 137 97 52 36 1,423
แหล่งที่มา: MeteoSwiss[5]

อ้างอิง แก้

  1. Arealstatistik Standard - Gemeindedaten nach 4 Hauptbereichen
  2. Swiss Federal Statistical Office - STAT-TAB, online database – Ständige und nichtständige Wohnbevölkerung nach institutionellen Gliederungen, Geburtsort und Staatsangehörigkeit (เยอรมัน) accessed 30 August 2016
  3. "City pocket timetable: Luzern – Zürich Flughafen" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Bern, Switzerland: Swiss Federal Railways (SBB AG). 2015. p. 88. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ 2015-02-07.
  4. Lucerne in German, French and Italian in the online Historical Dictionary of Switzerland.
  5. "Climate normals Luzern (Reference period 1981−2010)" (PDF). Zürich-Airport, Switzerland: Swiss Federal Office of Metreology and Climatology, MeteoSwiss. 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-04-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้