ลินคอล์น (ภาพยนตร์)

(เปลี่ยนทางจาก Lincoln (film))

ลินคอล์น (อังกฤษ: Lincoln) เป็นภาพยนตร์ละครประวัติศาสตร์ ค.ศ. 2012 ที่กำกับและอำนวยการสร้างโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก นำแสดงโดยแดเนียล เดย์-ลูวิส ในบทประธานาธิบดีสหรัฐ อับราฮัม ลินคอล์น[5] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีแซลลี ฟิลด์, เดวิด สตราเธิร์น, โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์, เจมส์ สเปเดอร์, ฮัล โฮลบรูก และทอมมี ลี โจนส์ ในบทสมทบ

ลินคอล์น
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก
บทภาพยนตร์โทนี คัชเนอร์
สร้างจากทีมออฟไรเวิลส์: เดอะโพลิติคอลออฟอับราฮัม ลินคอล์น
โดย ดอริส เคิร์นส กูดวิน
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพยานูช กามินสกี
ตัดต่อไมเคิล คาห์น
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย
วันฉาย8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (2012-10-08)(เทศกาลภาพยนตร์นิวยอร์ก)
พฤศจิกายน 9, 2012 (สหรัฐ)
ความยาว150 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
อินเดีย[2]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง65 ล้านดอลลาร์[3]
ทำเงิน275.3 ล้านดอลลาร์[4]

เขียนบทโดยโทนี คัชเนอร์ โดยอิงแบบไม่เคร่งครัดจากผลงานชีวประวัติ ทีมออฟไรเวิลส์: เดอะโพลิติคอลออฟอับราฮัม ลินคอล์น ของดอริส เคิร์นส กูดวิน และครอบคลุมสี่เดือนสุดท้ายของชีวิตลินคอล์น โดยเพ่งความสนใจไปที่ความพยายามของเขาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1865 เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐครั้งที่สิบสามผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก และผู้ทำงานร่วมกันบ่อยครั้งอย่างแคธลีน เคนเนดี ผ่านบริษัทผู้ผลิตนั้น ๆ ได้แก่ แอมบลินเอนเตอร์เทนเมนต์ และเดอะเคนเนดี/มาร์แชลคอมพานี โดยเริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2011[6] และสิ้นสุดในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2011[7] ลินคอล์นได้รับการฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ที่เทศกาลภาพยนตร์นิวยอร์ก ภาพยนตร์เรื่องนี้ร่วมผลิตโดยบริษัทอเมริกัน ดรีมเวิกส์พิกเจอส์, ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ และพาร์ทิซิแพนต์มีเดีย ร่วมกับบริษัทอินเดีย รีไลอันซ์เอนเตอร์เทนเมนต์ และเปิดตัวภาพยนตร์โดยทัชสโตนพิกเจอส์ในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012[2][8][9] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่โดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ในอาณาเขตทั่วโลก[10]

ลินคอล์นได้รับการชื่นชมอย่างมากสำหรับการแสดงโดยเฉพาะการแสดงของเดย์-ลูวิส รวมถึงการกำกับของสปีลเบิร์ก และมูลค่าการผลิต ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเจ็ดรางวัลลูกโลกทองคำ รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสำหรับสปีลเบิร์ก และนักแสดงยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ดรามา สำหรับเดย์-ลูวิส ส่วนที่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสิบสองอะแคเดมีอะวอร์ด รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เรื่องนี้ชนะออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสำหรับเดย์-ลูวิส[11] ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เช่นกัน โดยทำรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์ที่บ็อกซ์ออฟฟิศ[4]

อ้างอิง แก้

  1. "LINCOLN (12A)". British Board of Film Classification. November 28, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  2. 2.0 2.1 "Lincoln (2012)". BFI. British Film Institute. สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  3. McClintock, Pamela (17 October 2013). "DreamWorks' Stacey Snider Reveals How Studio Slimmed Down to Stay Alive". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
  4. 4.0 4.1 "Lincoln (2012)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  5. Breznican, Anthony (April 13, 2011). "Steven Spielberg's 'Lincoln' gets its Mary Todd: Sally Field". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ June 28, 2011.
  6. McClintock, Pamela (October 12, 2011). "Participant Media Boarding Steven Spielberg's 'Lincoln' (Exclusive)". The Hollywood Reporter. Los Angeles. สืบค้นเมื่อ October 15, 2011.
  7. "Filmmakers really liked Petersburg". The Progress-Index. Petersburg, Virginia. ธันวาคม 29, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 25, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 22, 2012.
  8. Fischer, Russ (November 19, 2010). "Daniel Day-Lewis to Star in Steven Spielberg's Lincoln". /Film.
  9. Prabhakar, Binoy (January 19, 2013). "Anil Ambani's Reliance Entertainment hits Oscar jackpot with Lincoln". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
  10. McClintock, Pamela (มกราคม 23, 2012). "Fox Partnering with DreamWorks on Steven Spielberg's 'Lincoln'". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 1, 2014. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 18, 2014.
  11. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-02-25.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม แก้

  • Mitchell, Mary Niall. "Seeing Lincoln: Spielberg's Film and the Visual Culture of the Nineteenth Century," Rethinking History 19 (Sept. 2015), 493-505.
  • Dimock, Wai Chee (Winter 2013). "Crowdsourcing History: Ishmael Reed, Tony Kushner, and Steven Spielberg Update the Civil War". American Literary History. 25 (4): 896–914. doi:10.1093/alh/ajt044.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้