ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค

(เปลี่ยนทางจาก Kingdom of Württemberg)

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค (เยอรมัน: Königreich Württemberg) คือรัฐประเทศที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการของ "รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี" ในยุคปัจจุบัน เคยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1806 – 1918 ปัจจุบันอยู่ในเขตของรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค

Königreich Württemberg
1805–1918
ธงชาติเวือร์ทเทิมแบร์ค
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของเวือร์ทเทิมแบร์ค
ตราแผ่นดิน
คำขวัญFurchtlos und treu
"กล้าหาญและภักดี"
เพลงชาติWürttemberger Hymne
"เพลงแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค"
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คภายในจักรวรรดิเยอรมัน
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คภายในจักรวรรดิเยอรมัน
สถานะ
เมืองหลวงชตุทการ์ท
ภาษาทั่วไปเยอรมัน
ศาสนา
เดมะนิมชาวเวือร์ทเทิมแบร์ค
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1805–1816
ฟรีดริชที่ 1
• 1816–1864
วิลเฮ็ล์มที่ 1
• 1864–1891
คาร์ลที่ 1
• 1891–1918
วิลเฮ็ล์มที่ 2
ประธานรัฐมนตรี 
• 1821–1831
Christian von Otto
• 1918
Theodor Liesching
สภานิติบัญญัติลันท์ทาค
• สภาสูง
Herrenhaus
• สภาล่าง
Abgeordnetenhaus
ยุคประวัติศาสตร์สงครามนโปเลียน / สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• ยกสถานะเป็นราชอาณาจักร
26 ธันวาคม 1805
30 พฤศจิกายน 1918
พื้นที่
181319,508 ตารางกิโลเมตร (7,532 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1812
1,379,501
• 1910
2,437,574
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐผู้คัดเลือกเวือร์ทเทิมแบร์ค
เสรีรัฐประชาชนเวือร์ทเทิมแบร์ค
สาธารณรัฐไวมาร์

ภูมิศาสตร์ แก้

 

เส้นเขตแดนของราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คำได้รับการปักปันใน ค.ศ. 1813 ตามตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ระหว่าง 47°34' และ 49°35' เหนือ และ 8°15' และ 10°30' ตะวันออก ช่วงยาวที่สุดระหว่างเหนือ-ใต้ คือ 225 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดระหว่างตะวันออก-ตะวันตก คือ 160 กิโลเมตร เส้นเขตแดนรวมยาวทั้งหมด 1800 กิโลมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 19,508 ตารางกิโลเมตร มีการแบ่งปันเขตแดนฝั่งตะวันออกกับราชอาณาจักรบาวาเรียและอีกสามส่วนกับราชรัฐบาเดิน ยกเว้นเขตแดนทางด้านทิศใต้ที่ติดกับรัฐโฮเฮนซอลเลิร์นและทะเลสาบคอนสตันซ์

ประวัติ แก้

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1806 ดุ๊กฟรีดริชที่ 2 ที่ขณะที่ครองราชสมบัติเทียบเทียมกับพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 ทรงเพิกถอนรัฐธรรมนูญที่ผูกราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์คเก่าและใหม่เข้าไว้ด้วยกัน และภายหลังได้ทรงบริหารทรัพย์สมบัติของโบสถ์ภายใต้การควบคุมของพระองค์ ใน ค.ศ. 1806 ทรงได้นำราชอาณาจักรเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ และทรงได้รับอาณาเขตรวมถึงได้รับประชากรเพิ่มเติมอีก 160,000 คนภายหลังจากเข้าร่วมสหพันธ์ได้ไม่นานจากอาณาเขตและประชากรส่วนหนึ่งของเวียนนาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1809 จากเดิมที่มีประชากรภายใต้การปกครองของพระองค์ 110,000 คน ต่อมาพระองค์ได้ทรงให้ความช่วยเหลือแก่นโปเลียน โบนาปาร์ต ทำสงครามกับราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยการส่งพลทหารของพระองค์เข้าร่วมทัพกับนโปเลียน 16,000 คน แต่มีเพียงแค่ไม่กี่ร้อยคนที่สามารถเดินทัพกลับมาจากการไปร่วมรบที่มอสโก ต่อมาที่สมรภูมิแห่งไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) (ตุลาคม ค.ศ. 1813) พระเจ้าฟรีดริชทรงได้ทำลายความฝันอันซีดเผือกของจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส นโปเลียน โบนาปาร์ต ลง จากการทำสนธิสัญญากับเมทเทอร์นิชที่ฟัลดา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1813 พระองค์ทรงปกป้องสิทธิอันชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติและการครอบครองอาณาเขตที่พระองค์พึ่งทรงยึดมาได้เมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่กองทัพและพันธมิตรของพระองค์เดินทัพไปยังฝรั่งเศส

ใน ค.ศ. 1815 ก็ทรงได้เข้าร่วมกับสมาพันธรัฐเยอรมันแต่รัฐสภาแห่งเวียนนาได้ทำให้การเข้าร่วมสหพันธรัฐในครั้งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการถือครองอาณาเขตเพิ่มเติม ในปีเดียวกันพระองค์ทรงปล่อยวางการเมืองของอาณาจักร ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่สุดท้ายก็ล้มเลิกไป ท่ามกลางความตื่นตกใจ พระเจ้าฟรีดริชก็สวรรคตในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1816

ดูเพิ่ม แก้