โจเซฟ เชริดัน เล ฟานิว

(เปลี่ยนทางจาก Joseph Sheridan Le Fanu)

โจเซฟ ทอมัส เชริดัน เล ฟานิว (อังกฤษ: Joseph Thomas Sheridan Le Fanu; 28 สิงหาคม พ.ศ. 2357 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416) เป็นนักประพันธ์แนวกอทิกชาวไอริชเชื้อสายฝรั่งเศสแห่งศตวรรษที่ 19 มีชายาว่า "บิดาแห่งเรื่องสยองขวัญของอังกฤษ" ผลงานเรื่องสั้นเรื่อง Camilla ไว้ด้วย เป็นผลงานอมตะและเป็นต้นแบบให้นักเขียนรุ่นหลังหลายคน รวมไปถึงแบรม สโตกเกอร์ (Bram Stoker) นับว่าเล ฟานิวเป็นผู้บุกเบิกนวนิยายสยองขวัญ ส่งต่อไปให้นักเขียนในยุควิกตอเรีย (ช่วงปี พ.ศ. 2380-2444) พัฒนารูปแบบต่อไป

โจเซฟ เชริดัน เล ฟานิว

ประวัติ แก้

โจเซฟ เชริดัน เล ฟานิว เกิดที่กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เรียนกฎหมายที่วิทยาลัยทรินิตี กรุงดับลิน เป็นนักเรียนดีเด่นและนักกิจกรรม เมื่อเรียนจบแล้วถูกเรียกตัวให้มาทำงานที่ศาล แต่เขาปฏิเสธเพราะอยากจะทำงานวรรณกรรมมากกว่า เขาเริ่มทำงานเป็นนักข่าวในปี พ.ศ. 2380 ปีต่อมาเรื่องสั้นสยองขวัญเรื่องแรกของเขาก็ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Dublin University Magazine ชื่อว่า The Ghost and the Bone-Setter และต่อมาไม่กี่ปี เล ฟานิวก็ก้าวหน้าในอาชีพจนกลายเป็นแถวหน้าในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นเจ้าของและมีหุ้นส่วนในหนังสือพิมพ์หลายหัว อาทิ The Warder, Statesman, Dublin Evening Mail, Dublin University Magazine

เขาได้อาศัยช่องทางที่เขาเป็นเจ้าของและหุ้นส่วนในการตีพิมพ์ผลงานของตัวเอง และแสดงความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษนิยม เขาแต่งงานกับลูกสาวของหัวหน้าทนายความแห่งกรุงดับลิน ชื่อซูแซนนา เบนเนตต์ในปี พ.ศ. 2386 มีบุตรด้วยกัน 4 คน ภายหลังภรรยาของเขามีอาการทางโรคประสาทและเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2401 ทำให้เล ฟานิวเสียใจมาก กล่าวโทษตนเองว่าเป็นต้นเหตุการตายของภรรยา เขาใช้ชีวิตสันโดษ แยกตัวจากสังคม ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านและสำนักงาน ในช่วงที่เขาเก็บตัวเขาได้ออกผลงานเรื่องสั้นและนิยายออกมาจำนวนมาก อาทิ All in the Dark, A Lost Name, The Wyvern Mystery และ Willing to Die และผลงานเด่นคือเรื่อง In a Glass Darkly ซึ่งรวมนิยายขนาดสั้นเรื่อง Camilla ไว้ด้วย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์เลสเบี้ยน ซึ่งกลายเป็นผลงานอมตะและเป็นต้นแบบให้แบรม สโตเกอร์ ผู้เขียน Dracula ด้วย

เล ฟานิวกลับสู่ชนบทในไอร์แลนด์ และเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนของเขา แพทริก เคนเนดี เขียนเรื่อง D.U.M. เล ฟานิวเสียชีวิตในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2416 ที่ดับลิน

อ้างอิง แก้