ปลากระเบนหางแส้
ปลากระเบนหางแส้ | |
---|---|
ปลากระเบนราหู (H. polylepis) | |
ภาพวาดลักษณะของลำตัวปลากระเบนในสกุลนี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Batoidea |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Dasyatidae |
สกุล: | Himantura Müller & Henle, 1837 |
ชนิดต้นแบบ | |
Raja sephen uarnak Forsskål, 1775 | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลากระเบนหางแส้ (อังกฤษ: Whip rays[1] ) เป็นชื่อสกุลของปลากระเบน ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Himantura (/ไฮ-แมน-ทู-รา/)
ปลากระเบนในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ มีปลายจะงอยปากที่แหลมยาว ขอบของด้านหน้าเชิงมน ลำตัวแบนกลมคล้ายใบโพ กลางหลังมีผิวที่ขรุขะและเป็นหนาม ในบางตัวอาจมีตุ่มหนามเล็ก ๆ ไปจรดถึงโคนหางที่เป็นเงี่ยงพิษ 2 ชิ้น มีส่วนหางที่เรียวยาวมาก โดยจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 คู่ อยู่ด้านใต้ของลำตัวซึ่งเป็นสีขาว และสีจางกว่าด้านบนลำตัว ความยาวของลำตัววัดจากรูก้นถึงปลายจะงอยปากสั้นมากกว่าความกว้างลำตัว[2]
เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 28 ชนิด [3]โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากระเบนราหู (H. polylepis) ที่พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ของประเทศไทยไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีความยาวถึง 5 เมตร และหนักถึงเกือบ 300 กิโลกรัม[4]
ชนิด
แก้- Himantura alcockii (Annandale, 1909) (ปลากระเบนจุดมุก)
- Himantura astra Last, Manjaji-Matsumoto & Pogonoski, 2008 (ปลากระเบนจุดดำ)
- Himantura dalyensis, Last & Manjaji-Matsumoto, 2008 (ปลากระเบนน้ำจืด)
- Himantura fai Jordan & Seale, 1906 (ปลากระเบนลายดอกไม้)
- Himantura gerrardi (Gray, 1851) (ปลากระเบนแมลงวัน)
- Himantura granulata (Macleay, 1883) (ปลากระเบนป่าชายเลน)
- Himantura hortlei Last, Manjaji-Matsumoto & Kailola, 2006 (ปลากระเบนฮอร์เทล)
- Himantura imbricata (Bloch & Schneider, 1801) (ปลากระเบนปากแหลม)
- Himantura javaensis Last & White, 2013[5]
- Himantura jenkinsii (Annandale, 1909) (ปลากระเบนหางหนาม)
- Himantura kittipongi Vidthayanon & Roberts, 2005 (ปลากระเบนกิตติพงษ์)
- Himantura leoparda Manjaji-Matsumoto & Last, 2008 (ปลากระเบนเสือดาว)
- Himantura lobistoma Manjaji-Matsumoto & Last, 2006 (ปลากระเบนปากหลอด)
- Himantura marginata (Blyth, 1860) (ปลากระเบนดำ)
- Himantura microphthalma (Chen, 1948) (ปลากระเบนตาเล็ก)
- Himantura oxyrhyncha (Sauvage, 1878) (ปลากระเบนลายหินอ่อน)
- Himantura pacifica (Beebe & Tee-Van, 1941) (ปลากระเบนแปซิฟิก)
- Himantura pastinacoides (Bleeker, 1852) (ปลากระเบนกลม)
- Himantura polylepis (Bleeker, 1852) (ปลากระเบนราหู)
- Himantura randalli Last, Manjaji-Matsumoto & Moore, 2012 (ปลากระเบนลายแถบอาหรับ) [3]
- Himantura schmardae (Werner, 1904) (ปลากระเบนชูเพรย์)
- Himantura signifer Compagno & Roberts, 1982 (ปลากระเบนขาว)
- Himantura toshi Whitley, 1939 (ปลากระเบนสีน้ำตาล)
- Himantura tutul Borsa, Durand, Shen, Arlyza, Solihin & Berrebi, 2013 (ปลากระเบนเสือดาวลายสวย)[6]
- Himantura uarnacoides (Bleeker, 1852) (ปลากระเบนบัว)
- Himantura uarnak (Gmelin, 1789) (ปลากระเบนลายแมลงวัน)
- Himantura undulata (Bleeker, 1852) (ปลากระเบนเสือดาว)
- Himantura walga (Müller & Henle, 1841) (ปลากระเบนแคระ)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Himantura". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 2. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ 3.0 3.1 Last, P.R., Manjaji-Matsumoto, B.M. & Moore, A.B.M. (2012): Himantura randalli sp. nov., a new whipray (Myliobatoidea: Dasyatidae) from the Persian Gulf. Zootaxa, 3327: 20–32.
- ↑ ตามดู“ปลากระเบนราหู”รายการ “บางอ้อ” จากคมชัดลึก
- ↑ Last, P.R. & White, W.T. (2013): Two new stingrays (Chondrichthyes: Dasyatidae) from the eastern Indonesian Archipelago. Zootaxa, 3722 (1): 1–21.
- ↑ Borsa, P., Durand, J.-D., Shen, K. N., Arlyza, I. S., Solihin, D. D. & Berrebi, P. (2013): Himantura tutul sp. nov. (Myliobatoidei: Dasyatidae), a new ocellated whipray from the tropical Indo-West Pacific, described from its cytochrome-oxidase I gene sequence. Comptes Rendus Biologies, 336: 82–92.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Himantura ที่วิกิสปีชีส์