พินอิน

(เปลี่ยนทางจาก Hanyu Pinyin)

พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวย่อ: 汉语拼音; จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

ฮั่นยฺหวี่พินอิน
ชนิดระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับAlphabet
ภาษาพูดภาษาจีนมาตรฐาน
ผู้ประดิษฐ์คริสต์ทศวรรษ 1950
พินอิน
ตารางพยางค์ฮั่นยฺหวี่พินอิน ซึ่งรวมพยางค์หน้า 23 ตัว (บน) และพยางค์หลัง 24 ตัว (ล่าง)
ภาษาจีน拼音
ตัวเขียนสำหรับสัทตัวอักษรจีน
อักษรจีนตัวย่อ汉语拼音方案
อักษรจีนตัวเต็ม漢語拼音方案

พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น) แก้

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และมีอักษรจู้อินกำกับ อักษรไทยที่กำกับไว้หมายถึงเสียงพยัญชนะไทยที่ใกล้เคียง มิใช่การทับศัพท์

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน ปุ่มเหงือกกับ
เพดานแข็ง
เพดานแข็ง เพดานอ่อน
เสียงกัก b
[p] (ป ㄅ)
p
[pʰ] (พ ㄆ)
d
[t] (ต ㄉ)
t
[tʰ] (ท ㄊ)
g
[k] (ก ㄍ)
k
[kʰ] (ค ㄎ)
เสียงนาสิก m
[m] (ม ㄇ)
n
[n] (น ㄋ)
เสียงกึ่งเสียดแทรก z
[ts] (ตซ คล้าย จ ㄗ)
c
[tsʰ] (ทซ คล้าย ช ㄘ)
zh
[ʈʂ] (ตซ (จ) ม้วนลิ้น ㄓ)
ch
[ʈʂʰ] (ทซ (ช) ม้วนลิ้น ㄔ)
j
[tɕ] (จ ㄐ)
q
[tɕʰ] (ช ㄑ)
เสียงเสียดแทรก f
[f] (ฟ ㄈ)
s
[s] (ซ ㄙ)
sh
[ʂ] (ซ ม้วนลิ้น ㄕ)
x
[ɕ] (คล้าย ซ ㄒ)
h
[x] (คฺฮ คล้าย ฮ ㄏ)
เสียงข้างลิ้น l
[l] (ล ㄌ)
r¹
[ɻ~ʐ] (ร (ล) ม้วนลิ้น ㄖ)
เสียงกึ่งสระ y²
[j]/[ɥ]³ (ย ㄧ/ㄩ)
w²
[w] (ว ㄨ)
¹ /ɻ/ อาจออกเสียงคล้ายกับ /ʐ/ (เสียงเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ก้อง) ซึ่งเปลี่ยนแปรไปตามผู้พูด แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน
² อักษร y และ w นั้นไม่ได้บรรจุอยู่ในตารางเสียงพยัญชนะของระบบพินอินอย่างเป็นทางการ แต่ใช้สำหรับแทนที่อักษรสระ i, u, ü เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็น yi, wu, yu ตามลำดับ
³ อักษร y จะออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่อตามด้วย u (ซึ่งลดรูปมาจาก ü)

การเรียงลำดับเสียงพินอิน (ไม่รวม w และ y) ได้รับการสืบทอดมาจากระบบจู้อิน (注音; Zhùyīn) นั่นคือ

b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s

หรือ ที่เราท่องกันว่า... โป โพ โม โฟ เตอ เทอ เนอ เลอ เกอ เคอ เฮอ จี ชี ซี จืยฺ ชืยฺ ซืยฺ รืยฺ ตซือ (จือ) ทซือ (ชือ) ซือ

อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมสมัยใหม่ ได้เรียงพินอินแบบ a-z เหมือนอักษรโรมันเพื่อให้การค้นหาสะดวกยิ่งขึ้น

ท้ายพยางค์ (เสียงสระและเสียงพยัญชนะสะกด) แก้

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และปรากฏเป็นสองรูปแบบได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น และรูปแบบที่มีเสียงพยัญชนะต้นซึ่งจะมีขีดนำหน้า

ตัวท้าย ตัวจบ
/i/ /u/ /n/ /ŋ/
ตัวกลาง -i¹
[ɨ]
(อือ)
e, -e
[ɤ]
(เออ)
a, -a
[a]
(อา)
ei, -ei
[ei̯]
(เอย์)
ai, -ai
[ai̯]
(ไอ/อาย)
ou, -ou
[ou̯]
(โอว)
ao, -ao
[au̯]
(เอา/อาว)
en, -en
[ən]
(เอิน)
an, -an
[an]
(อัน/อาน)
-ong
[ʊŋ]
(เวิง, อุง)
eng, -eng
[əŋ]
(เอิง)
ang, -ang
[aŋ]
(อัง/อาง)
/i/ yi, -i
[i]
(อี)
ye, -ie
[i̯e]
(เย, อีเย)
ya, -ia
[i̯a]
(ยา, เอีย)
you, -iu
[i̯ou̯]
(โยว, โอฺยว)
yao, -iao
[i̯au̯]
(เยา/ยาว, เอียว)
yin, -in
[in]
(อิน)
yan, -ian
[i̯ɛn]
(เยียน, เอียน)
yong, -iong
[i̯ʊŋ]
(ยฺวืง, อฺวืง)
ying, -ing
[iŋ]
(อิง)
yang, -iang
[i̯aŋ]
(เยียง/ยาง, เอียง)
/u/ wu, -u
[u]
(อู)
wo, -uo³
[u̯o]
(วอ, อฺวอ)
wa, -ua
[u̯a]
(วา, อัว/อวา)
wei, -ui
[u̯ei̯]
(เวย์, เอฺวย์)
wai, -uai
[u̯ai̯]
(ไว/วาย, อวาย)
wen, -un
[u̯ən]
(เวิน, เอฺวิน)
wan, -uan
[u̯an]
(วัน/วาน, อวน/อวาน)
weng
[u̯əŋ]
(เวิง, อุง)
wang, -uang
[u̯aŋ]
(วัง/วาง, อวง/อวาง)
/y/ yu, -ü²
[y]
(อวี)
yue, -üe²
[y̯e]
(เยฺว, เอฺว)
yun, -ün²
[yn]
(ยฺวืน, อฺวืน)
yuan, -üan²
[y̯ɛn]
(ยวืออัน, อวืออัน)
¹ -i อักษรนี้ใช้ผสมกับ zh ch sh r z c s เท่านั้น
² ü จะเขียนเป็น u เมื่อตามหลัง j q x y
³ uo จะเขียนเป็น o เมื่อตามหลัง b p m f

เสียง /ər/ (เออร์ เช่น 而, 二, ฯลฯ) ซึ่งไม่ปรากฏในตาราง จะเขียนเป็น er ซึ่งเป็นเสียงสระตัวเดียวที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น สำหรับรูปต่อท้าย -r (ร์) ระบบพินอินไม่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ จึงสามารถนำไปต่อท้ายสระของพยางค์ก่อนหน้าโดยไม่ทำให้เสียงของพยางค์นั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ก็ยังมี ê [ɛ] (เอ เช่น 欸, 誒) และเสียงกึ่งพยางค์เช่น m (อืม เช่น 呒, 呣), n (อืน เช่น 嗯, 唔), ng (อืง เช่น 嗯, 𠮾) ใช้เป็นคำอุทาน

อะพอสทรอฟี (') จะใช้เพื่อเป็นการแบ่งพยางค์ เมื่อการเขียนติดกันอาจก่อให้เกิดความกำกวม โดยเฉพาะเมื่อเขียนโดยไม่ใส่วรรณยุกต์ เช่นระหว่าง pi'ao (皮袄/皮襖) กับ piao (票) และระหว่าง Xi'an (西安) กับ xian (先)

การถอดเสียงวรรณยุกต์ แก้

 
เสียงวรรณยุกต์

ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้

1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (◌̄) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:

ā ē ī ō ū ǖ

2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (◌́) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:

á é í ó ú ǘ

3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (◌̌) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง"เอก") :

ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ

4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (◌̀) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:

à è ì ò ù ǜ

5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:

a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)

ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)

การใส่วรรณยุกต์ แก้

โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u

ตัวอย่าง
อักษรจีน พินอิน อักษรไทย ความหมาย
มา แม่
หมา ป่าน
หม่า ม้า
ม่า ดุด่า
ma มะ หรือ, ไหม

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Gao, Johnson K. (2005). Pinyin shorthand: a bilingual handbook. Jack Sun. ISBN 9781599712512.
  • Kimball, Richard L. (1988). Quick reference Chinese : a practical guide to Mandarin for beginners and travelers in English, Pinyin romanization, and Chinese characters. China Books & Periodicals. ISBN 9780835120364.
  • Pinyin Chinese–English dictionary (ภาษาอังกฤษ). Beijing: Commercial Press. 1979. ISBN 9780471867968.
  • Yǐn Bīnyōng (尹斌庸); Felley, Mary (1990). 汉语拼音和正词法 [Chinese romanization: pronunciation and orthography] (ภาษาอังกฤษ). ISBN 9787800521485.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้