ฝรั่งเศสเสรี

(เปลี่ยนทางจาก Free France)

ฝรั่งเศสเสรี และกองทัพฝรั่งเศสเสรี (ฝรั่งเศส: France Libre et les Forces françaises libres) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นภายใต้การนำของนายพลชาร์ล เดอ โกล ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และกองกำลังทหารที่ยังคงต่อสู้กับฝ่ายอักษะในฐานะประเทศชาติสัมพันธมิตร ภายหลังจากฝรั่งเศสถูกยึดครอง ก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ได้มีการจัดตั้งและให้การสนับสนุนการต่อต้านในฝรั่งเศสที่ถูกยึดครองและจัดตั้งฐานที่มั่นในอาณานิคมฝรั่งเศสหลายแห่งในแอฟริกา

ฝรั่งเศสเสรี

La France Libre
1940–1944
ดู รายละเอียดสีบนแผนที่; ฟ้า = อาณานิคมที่ฝรั่งเศสเสรีควบคุมหลังปฏิบัติการคบเพลิง
ดู รายละเอียดสีบนแผนที่; ฟ้า = อาณานิคมที่ฝรั่งเศสเสรีควบคุมหลังปฏิบัติการคบเพลิง
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น, รัฐบาลเฉพาะกาลเหนือดินแดนที่ไม่ได้ครอบครอง
ประธานาธิบดี 
• 1940–1944
ชาร์ล เดอ โกล
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
18 มิถุนายน 1940
11 กรกฎาคม ค.ศ. 1940
24 กันยายน ค.ศ. 1941
• ก่อตั้งCLFN
3 มิune 1943
3 มิถุนายน 1944
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ชาร์ล เดอ โกล นายพลและรัฐมนตรีของรัฐบาลชาวฝรั่งเศส ได้ปฏิเสธการเจราจาสงบศึกโดยจอมพล ฟีลิป เปแต็ง และลี้ภัยไปยังบริติช ที่นั่นเขาได้ปลุกระดมชาวฝรั่งเศสให้ทำการต่อต้านในการแผ่กระจายเสียงทางวิทยุบีบีซีของเขา "คำอุทธรณ์ 18 มิถุนายน"

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1940 สภาการป้องกันจักรวรรดิ (Conseil de défense de l'Empire) ได้ถูกจักตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบการปกครองดินแดนในแอฟริกากลาง เอเชีย และโอเชียเนีย เมื่อได้รับฟังการเรียกร้องในวันที่ 18 มิถุนายน ได้ถูกแทนที่ เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1941 โดยคณะกรรมการแห่งชาติฝรั่งเศส(Comité national français หรือ CNF) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 "ฝรั่งเศสเสรี" ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า นักต่อสู้ชาวฝรั่งเศส (France combattante) เพื่อเป็นการระบุว่าการต่อสู้รบกับฝ่ายอักษะได้ดำเนินการทั้งจากภายนอกโดยกองทัพเสรีฝรั่งเศส (FFF) และภายในโดยกองกำลังฝรั่งเศสแห่งกิจการภายใน (French Forces of the Interior หรือ FFI) ภายหลังจากการกลับมายึดครองแอฟริกาเหนืออีกครั้ง สิ่งนี้ในทางกลับกันได้รวมเข้ากับการบัญชาการของนายพล อ็องรี ฌีโรด์ คู่แข่งของเดอ โกลในแอลเจียร์เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการแห่งการปลดปล่อยชาติฝรั่งเศส (Comité français de Libération nationale หรือ CFNL) การผลัดถิ่นได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการด้วยการปลดปล่อยกรุงปารีสโดยกองพลยานเกราะเสรีฝรั่งเศสที่ 2 และกองกำลังฝ่ายต่อต้าน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (gouvernement provisoire de la République française หรือ GPRF) ในการปกครองฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติลงและหลังจากนั้นถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อมีการจัดตั้งสาธารณรัฐที่สี่ เป็นอันสิ้นสุดลงของระบอบการปกครองชั่วคราวที่ประสบความสำเร็จในสาธารณรัฐที่สาม ภายหลังจากล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1940

เสรีฝรั่งเศสได้ต่อสู้รบกับทหารของฝ่ายอักษะและระบอบวิชีและทำหน้าที่ในสมรภูมิทุกแห่ง ตั้งแต่ตะวันออกกลางไปจนถึงอินโดจีนและแอฟริกาเหนือ กองทัพเรือเสรีฝรั่งเศสที่ดำเนินปฏิบัติการในฐานะกองกำลังสนับสนุนแก่ราชนาวีของบริติช และในแอตแลนติกเหนือ ให้การสนับสนุนแก่กองทัพเรือแคนนาดา หน่วยทหารเสรีฝรั่งเศสยังได้ทำหน้าที่ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร กองทัพอากาศโซเวียต และหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ของบริติช ก่อนที่กองบัญชาการขนาดใหญ่จะถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลผลัดถิ่น

จากอาณานิคมด่านนอกในแอฟริกา อินเดีย และแปซิฟิก ฝรั่งเศสเสรีได้เข้ายึดครองดินแดนที่อยู่ภายใต้ระบอบวิชีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการยกพลขึ้นบกในแอฟริกาเหนือ (ปฏิบัติการคบเพลิง) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 วิชีปกครองได้แค่เพืยงพื้นที่เสรีในทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและดินแดนเพี่ยงไม่กี่แห่งในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก (และอินโดจีนฝรั่งเศสที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง) กองทัพแห่งแอฟริกาของฝรั่งเศสได้หันไปจงรักภักดีให้กับฝรั่งเศสเสรี และสิ่งนี้ทำให้ฝ่ายอักษะเข้ายึดครองวิชีเพื่อเป็นการตอบโต้

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 กองทัพแห่งแอฟริกาได้ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับกองทัพฝรั่งเศสเสรีเพื่อจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยฝรั่งเศส ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1944 กองกำลังของกองทัพนี้มีจำนวนมากกว่า 400,000 นาย และพวกเขาได้เข้าร่วมในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีและการบุกครองทางตอนใต้ของฝรั่งเศส จนในที่สุดก็ได้กลายเป็นผู้นำในการเคลื่อนทัพไปถึงกรุงปารีส ในไม่ช้า พวกเขาได้ต่อสู้รบในอาลซัส เทือกเขาแอลป์ และบริตตานี เมื่อสงครามได้ยุติลง พวกเขามีความแข็งแกร่งด้วยจำนวนทั้งหมด 1,300,000 นาย ซึ่งเป็นกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีขนาดใหญ่-เป็นอันดับสี่ในยุโรปและมีส่วนร่วมในการรุกผ่างทางฝรั่งเศสและการบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลฝรั่งเศสเสรีได้จัดตั้งสาธารณรัฐเฉพาะกาลขึ้นมาใหม่ภายหลังจากได้รับการปลดปล่อย โดยเตรียมพื้นที่สำหรับสาธารณรัฐที่สี่ในปี ค.ศ. 1946

อ้างอิง แก้

ข้อมูลและอ่านเพิ่มเติม แก้

  • Axelrod, Alan; Kingston, Jack A. (2007). Encyclopedia of World War II. Vol. 1. Facts on File. ISBN 9780816060221.
  • Bennett, G. H. (2011). The RAF's French Foreign Legion: De Gaulle, the British and the Re-emergence of French Airpower 1940-45. London; New York: Continuum. ISBN 9781441189783.
  • Crémieux-Brilhac, Jean-Louis (1996). La France libre (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Gallimard. ISBN 2-07-073032-8.
  • Gordon, Bertram M. Historical Dictionary of World War II France: The Occupation, Vichy, and the Resistance, 1938-1946 (1998)
  • Hastings, Max, p. 125–126, All Hell Let Loose, The World at War 1939–45, Harper Press, London, 2011
  • Holland, James. Normandy '44: D-Day and the Epic 77-Day Battle for France (2019) 720pp
  • Jackson, Julian (2001). France: The Dark Years, 1940–1944. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-820706-1. OCLC 1179786074.{{cite book}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  • Mollo, Andrew (1981). The Armed Forces of World War II. Crown. ISBN 0-517-54478-4.
  • Munholland, Kim (2007) [1970]. Arms, Men and Governments: The War Policies of Canada, 1939–1945. Queens Printer for Canada.
  • Muracciole, Jean-François (1996). Histoire de la France libre. Que sais-je (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Presses universitaires de France. ISBN 978-2-13-047520-0.
  • Muracciole, Jean-François (2009). Les Français libres. Histoires D'aujourd'hui (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Tallandier. ISBN 978-2-84-734596-4.
  • Stacey, C.P. (2007) [2005]. Rock of Contention: Free French and Americans at War in New Caledonia, 1940–1945. Berghahn Books. ISBN 978-1-84545-300-8.
  • Sumner, Ian; Vauvillier, François (1998). The French Army 1939–45: Free French, Fighting French and the Army of Liberation. Men-at-arms Series No. 318. Vol. 2. London: Osprey. ISBN 978-1855327078.
  • Taylor, A. J. P. The Second World War – an Illustrated History, Hamish Hamilton, London, 1975.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้