ฟร็องซิส ปีกาบียา

(เปลี่ยนทางจาก Francis picabia)

ฟร็องซิส ปีกาบียา (ฝรั่งเศส: Francis Picabia; ชื่อเกิด ฟร็องซิส-มารี มาร์ตีเน เดอ ปีกาบียา, 22 มกราคม ค.ศ.1879 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1953) ศิลปิน ช่างภาพ กวี และนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

ฟร็องซิส ปีกาบียา
เกิด22 มกราคม ค.ศ. 1879
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส
อาชีพจิตรกร ช่างภาพ กวี นักพิมพ์
มีชื่อเสียงจากผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญในลัทธิดาดา

นอกจากบทบาทในการเป็นหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญของลัทธิดาดาในอเมริกาและฝรั่งเศสแล้ว เขายังมีผลงานในลัทธิประทับใจ ศิลปะนามธรรม และงานในศิลปะลัทธิผสานจุดสี เขายังมีผลงานเกี่ยวข้องกับบาศกนิยมและโดดเด่นในผลงานของลัทธิเหนือจริงอีกด้วย

ชีวประวัติ แก้

ช่วงวัยเด็ก แก้

ฟร็องซิส ปีกาบียา เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1879 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเขากำเนิดขึ้นในตระกูลที่ร่ำรวย จึงทำให้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ท่องเที่ยว และมีความสุขกับชีวิตที่หรูหรา อย่างไรก็ตามเมื่อเขาอายุได้7ปี แม่ของเขาได้จากไปด้วยวัณโรคและในปีถัดไป ยายของเขาก็ได้เสียชีวิตลง เขาจึงตกอยู่ในการดูแลของพ่อ ลุง และตาของเขา

ลุงของเขาเป็นคนรักศิลปะและนักสะสม ทำให้ปีกาบียาเริ่มมีความสนใจในจิตรกรคลาสสิคของฝรั่งเศส อาทิเช่น เฟลิกซ์ ซีม (Felix Ziem) และเฟอร์ดินาน รอยเบิร์ด (Ferdinand Roybert) ส่วนตาของเขาที่เป็นช่างภาพมือสมัครเล่น ก็ได้สอนเขาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วย และหลังจากนั้นปีกาบียาจึงได้ใช้กล้องเพื่อช่วยในการทำงานของเขา [1]

ช่วงแรกของการเป็นศิลปิน แก้

ในปี ค.ศ. 1895 ปีกาบียาได้เข้าเรียนที่ École des Arts Decoratifs เขาได้ทำงานกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเขาฌอร์ฌ บรัก และมารี ลอเรนซิน ซึ่งเขาได้สร้างผลงานที่เป็นงานสีน้ำและเคยถูกจัดแสดงที่ Salon des Artistes Francis อยู่หนหนึ่ง เขาละทิ้งงานสีน้ำแบบดั้งเดิมไปในเวลาอันสั้นและเริ่มหันไปทำงานแนวลัทธิประทับใจแทน ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากกามีย์ ปีซาโรและอัลเฟรด ซิสลีย์ เขามีความเชื่อว่า “ภาพวาดไม่ได้เป็นตัวแทนของธรรมชาติ แต่เป็นอารมณ์ที่ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ของศิลปิน” และงานแนวลัทธิประทับใจ ก็สามารถเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอุดมการณ์ของเขาได้

ปีกาบียาเริ่มแสดงงานครั้งแรกในปี 1905 ที่ Galerie Hausmann ในกรุงปารีส ในนิทรรศการได้จัดแสดงภาพทิวทัศน์จำนวน 61 รูปและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเริ่มจัดแสดงต่อในกรุงปารีส ลอนดอน และเบอลิน

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1909 เขาได้ละทิ้งงานที่เรียกว่าเป็นแบบอย่างของเขาและเปลี่ยนมาเป็นแบบอาว็อง-การ์ดซึ่งรวมไปถึงคติโฟวิสต์ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่เขาต้องเลิกแสดงงานที่ Galerie Hausmann ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเองเขาได้แต่งงานกับนักดนตรีผู้นำดนตรีมาสู่ชีวิตของเขา เธอคนนั้นก็คือ แกเบรียล บัฟเฟ ด้วยเหตุนี้เองก็ทำให้เขาได้ค้นพบจุดเชื่อมโยงระหว่างดนตรีและศิลปะ นอกจากนี้เธอก็ยังทำให้เขาสนใจงานแนวอาว็อง-การ์ด มากขึ้นไปอีกจากปี 1909-1913

 
Francis Picabia, 1909, Caotchouc, Oil on canvas

ปีกาบียาได้พยายามค้นหาแบบอย่างงานอีกครั้งที่จะสามารถถ่ายทอดความเป็นปัญญาชนหัวก้าวหน้าของเขาได้อย่างเหมาะสมลงตัวที่สุด เขาลองเปลี่ยนจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เช่น คติโฟวิสต์, บาศกนิยม, ศิลปะนามธรรม แม้อนาคตของเขาในฐานะศิลปินจะยังมีความไม่แน่นอน แต่เขาและภรรยาก็เริ่มต้นสร้างครอบครัวด้วยการมีลูกคนแรกด้วยกันในปี 1910 และคนที่ 2 ในปีต่อมา เขาและภรรยาได้เข้าร่วม Sociètè Normande de Peinture Moderne ซึ่งเป็นที่ที่ส่งเสริมและสนับสนุนความสัมพันธ์ของงานศิลปะแบบสหวิทยาการ และมันนำพามาสู่การจัดนิทรรศการเป็นประจำทุกปีและอีเว้นท์อื่นๆ เป็นการสร้างเครือข่ายและสังคมกับศิลปินคนอื่นๆ ในปี 1911 ปีกาบียาได้พบกับมาเซล ดูช็องป์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ทั้งในชีวิตจริงและบนเส้นทางงานศิลปะ

การเป็นศิลปินอย่างเต็มตัว แก้

ในปี ค.ศ. 1912 ปีกาบียาได้แสดงออกทางงานบาศกนิยมอย่างรุนแรงขึ้น ภาพวาดของเขามาจากความทรงจำและประสบการณ์มากกว่าการได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ จากการเข้าร่วม Armory Show ที่ นิวยอร์ก เขาแสดงผลงาน La Danses à la source (1912),Souvenir de Grimaldi (1912), La Procession Seville (1912) และ ปารีส (1912)ผลงานของเขาถูกวิจารณ์ในหลาย ๆ ด้าน เช่นนักข่าวบางส่วนที่วิจารณ์สีสันที่ประสานกันอย่างลงตัวของเขาว่าเป็นสิ่งจอมปลอม แม้ว่าจะได้รับคำวิจารณ์เช่นนั้นในอเมริกา แต่เขาก็เลือกที่จะอยู่ต่อไปอีก 2 สัปดาห์กับ อัลเฟรด สติกกลิซ และแกลอรี 291 ของเขา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ปีกาบียาได้หนีหลบซ่อนตัวไปอยู่ที่บาร์เซโลนา, นิวยอร์ก และแคริบเบียน ตามลำดับ ผลจากสงครามทำให้เขาค้นพบงานแนวใหม่ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งยุคอุตสาหกรรม เขาได้แสดงเครื่องวาดภาพเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1916 ที่ Modern Gallery ในนิวยอร์กความสัมพันธ์ระหว่างเขาและภรรยาเริ่มจืดจางลงเมื่อเขาได้พบกับเจอเมน เอเวอร์ลิง

ในปี ค.ศ. 1919 ปีกาบียาและภรรยาของเขาได้หย่าร้างกันในที่สุด ถึงตอนนี้ผลงานภาพวาดแนวเครื่องจักรของเขาก็เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีผ่านสำนักพิมพ์ที่เกี่ยวกับงานอาว็อง-การ์ด ในปี 1920 ดาดาได้ดำเนินมาจนถึงจุดสูงสุด ซึ่งผลงานมีทั้ง Happening งานนิทรรศการ หนังสือ และนิตยสาร หลังจากการเผยแพร่ความเคลื่อนไหวของการต่อต้านงานศิลปะเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายปี ปีกาบียาเริ่มรู้สึกว่าดาดาได้กลายเป็นแค่ระบบทั่วไปของการก่อตั้งความคิด ในปี ค.ศ. 1921 เขาโจมตีศิลปินดาดาคนอื่น ๆ ในประเด็นพิเศษใน 391 ที่ชื่อว่า Phihaou-Thibaou

หลังจากที่เขาล้มเลิกที่จะเป็นดาดา เขาก็หันมาสนใจการจัดนิทรรศการภาพวาดอีกครั้งหนึ่ง และในปี 1922 เขาได้แสดงที่ Salon d’Automne ด้วยเครื่องวาดภาพของเขาที่ใกล้เคียงกับภาพวาดในสไตล์สเปนมากขึ้น หลังจากที่เขาจากเพื่อนร่วมงานมากว่า 10 ปี และแสวงหาชีวิตใหม่กับภรรยาใหม่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เขาทิ้งกรุงปารีสไปในปี 1925 และใช้ชีวิต 20 ปีอยู่ที่โกตดาซูร์ เขาและภรรยาใช้เวลาพักผ่อนในบ้านที่คานส์ และจ้างแม่นมมาดูแลลูกชายของพวกเขา ซึ่งปีกาบียาได้เกิดหลงรักแม่นมที่ชื่อโอลก้า โมเลอ ต่อมาไม่นานเขาก็เริ่มห่างกับเจอเมน และแยกกันอยู่อย่างเป็นทางการในปี 1933

บั้นปลายชีวิต แก้

ในช่วงปี 1930 ปีกาบียาแสดงผลงานภาพวาดของเขาในชุด Transparencies (1928-31) ที่ Galerie Theophile Briant ซึ่งเป็นผลงานที่เค้าได้ฉีกกฎการภาพวาดประเพณีนิยมไป โดยเป็นภาพวาดแนวใหม่ที่ไม่คำนึงถึงเรื่องทัศนมิติ แต่เป็นการวาดภาพแบบแบนๆ มีขนาดที่แตกต่างกัน มีจุดรวมสายตาหลายจุด และภาพซ้อนไขว้กันไปมา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นภาพมายาที่สามารถมองได้หลายมุม[2]

ในปี ค.ศ. 1940 เขาและโอลก้า โมเลอได้แต่งงานกัน และนั่นก็ทำให้สไตล์งานของเขาเปลี่ยนไปอีกครั้ง หลายคนพูดว่างานของเขาในช่วง 1940 ค่อนข้างจะเป็นเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง เขาวาดภาพรูปที่ได้รับความนิยมมากจากนิตยสารของสาว ๆ อย่างดาราหญิง และคู่รักโรแมนติกในชีวิตจริง ในท้ายที่สุดของสายงานของเขา ปีกาบียาก็เปลี่ยนเส้นทางอีกครั้งเป็นงานศิลปะนามธรรม เขายังคงจัดงานนิทรรศการต่อไปอีกตามแกลอรี่ดังๆในปารีสและตีพิมพ์งานเขียนของเขาจนถึงปี ค.ศ. 1951 ในขณะที่เขามีสภาวะผิดปกติที่หลอดเลือดและไม่สามารถวาดภาพต่อไปได้อีก และได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1953

แนวความคิดสำคัญในการสร้างผลงาน แก้

ช่วงปี ค.ศ. 1910 ปีกาบียาเป็นหนึ่งในศิลปินผู้มีความสนใจลัทธิบาศกนิยม และได้แรงบันดาลใจจากความทันสมัยและวัตถุนิยม ซึ่งความสนใจนี้ถูกแสดงออกผ่านภาพวาดแบบศิลปะนามธรรมของเขา และความสนใจต่อเครื่องจักรกลของเขาได้แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านผลงานภายใต้ลัทธิดาดาในช่วงต้นของเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงาน mechanomorphs ซึ่งเป็นภาพของเครื่องจักรประดิษฐ์ และชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่มีเจตนาเป็นเหมือนการล้อเลียนเสียดสีในผลงานของเขาว่า มนุษย์เป็นเพียงเครื่องจักรเท่านั้นที่ถูกสั่งการโดยความกระหายหิว

ช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 ปีกาบียาเริ่มเป็นที่รู้จักในปารีสและถือเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวในดาดา โดยเขาได้ละทิ้งเทคนิคและความสนใจเดิมๆไปอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มใช้ข้อความในรูปภาพและผลงานคอลลาจของเขาเพื่อเพิ่มความรุนแรงและชัดเจนให้กับงานของเขาที่เป็นการโจมตีความคิดแบบประเพณีนิยมที่มักเกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม ศาสนา และกฎหมาย โดยเป็นงานที่ถูกสร้างโดยกลุ่มเคลื่อนไหวในดาดาเพื่อต่อต้านวัฒนธรรมที่กลุ่มผู้นำยุโรปในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการสนับสนุน การโจมตีของเขามักเป็นการเสียดสีด้วยมุขตลกร้ายและหยาบคาย ซึ่งสะท้อนถึงความไม่เคารพต่อสิ่งใดๆ แม้กระทั่งศิลปะ ที่กลายเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของวัฒนธรรมที่กว้างขึ้นของสังคม ที่เขาปฏิเสธ

ผลงานหลักช่วงกลาง ค.ศ. 1920 จนถึงช่วงกลาง ค.ศ. 1940 เมื่อเขาได้แรงบันดาลใจจากสเปน โรมาเนสก์ และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ภาพประหลาดต่าง ๆ และภาพนู้ด เขาได้รวมทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันภายใต้ผลงานชุด Transparencies (ค.ศ. 1928-1931) ซึ่งเป็นภาพที่มีการซ้อนทับกันไปมา ดูประหลาดและสับสน โดยนักวิจารณ์ศิลปะได้อธิบายภาพ Transparencies ว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่ลึกลับ หรือภาพความฝันแบบลัทธิเหนือจริง ปีกาบียามักจะมีอารมณ์ขันและหัวรุนแรงในการต่อต้านรัฐบาลเสมอในผลงานต่าง ๆ ด้านดาดาของเขา

ปีกาบียาเรียนรู้ว่าศิลปะนามธรรม ไม่ได้เพียงสะท้อนถึงเครื่องจักรกลเท่านั้น แต่ยังสะท้อนความลึกลับและความหมกมุ่นในกามารมณ์ ได้อีกด้วย เขาจึงสร้างผลงานในรูปแบบศิลปะนามธรรมเป็นหลัก แม้กระทั่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตเขาก็ได้ย้อนกลับมาสร้างผลงานในรูปแบบนี้อีก

ในช่วงต้นปีค.ศ.1940 ปีกาบียาได้รับการยกย่องจากจิตรกรร่วมสมัย ให้เป็นหนึ่งในศิลปินที่มีความลึกลับและน่าสนใจที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษ[3]

ตัวอย่างผลงานที่สำคัญ แก้

  • (1898-1901) "The Path"
  • (1901) "Moret-sur-Loing"
  • (1903) "Moret, Route des Pres"
  • (1904) "Canal de Moret, Winter Effect(also known as Barges on the Loing, Morning Effect)"
  • (1905) "Morning Effect, Banks of the Yonne River"
  • (1907) "A Canal at St. Mammes","Banks of the River"
  • (1909) "Saint-Tropez","Caucho"
  • (1910) "Bouquet of Flowers"
  • (1913) "Clergyman","Estrella danzante y su escuela de danza"
  • (1915) "He ahí la mujer"
  • (1916-1918) "Machine Turn Quickly"
  • (1922) "The Spanish Night"
  • (1924-1926) "Woman with Dog"
  • (1926-1927) "Barcelona"
  • (1928-1929) "Transparence"
  • (1929) "Lotruli - Visage de Olga"
  • (1930) "Salomé"
  • (1934) "Portrait of Olga"
  • (1937) "The Spanish Revolution"
  • (1936-1938) "Notornis"
  • (1936-1939) "Transparence, Portrait of a Woman"
  • (1941-1943) "French Cancan","Two Dancers"
  • (1941-1946) "Woman's Face in Black"
  • (1947) "Le Brave"
  • (1948) "Clover Leaf"
  • (1949) "Colloquium"
  • (1950) "The Spell"
  • (1951) "The Groom","Villejuif"

สมุดภาพตัวอย่างผลงาน แก้

อ้างอิง แก้

  • จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2552. (ISBN 978-9-747-38539-7)
  • Baker, George. The Artwork Caught by the Tail: Francis Picabia and Dada in Paris. Cambridge, MA: MIT Press, 2007. (ISBN 978-0-262-02618-5)
  • Samaltanos, Katia. Apollinaire Catalyst for Primitivesm, Picabia and Duchamp. UMI : Press, 1981. (ISBN 0-8357-1568-x)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฟร็องซิส ปีกาบียา