ฟลอเรนซ์ (วิดีโอเกม)

(เปลี่ยนทางจาก Florence (video game))

ฟลอเรนซ์ (อังกฤษ: Florence) เป็นเรื่องเล่าและวิดีโอเกมแนวปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาโดยสตูดิโอเมาต์เทนส์ในออสเตรเลีย และจัดจำหน่ายโดยแอนนาเพอร์นาอินเตอร์แอ็กทีฟ เกมถูกปล่อยวางจำหน่ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 (วันวาเลนไทน์) สำหรับไอโอเอส และวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 สำหรับแอนดรอยด์ และวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แม็คโอเอส และนินเท็นโด สวิตช์

ฟลอเรนซ์
ภาพตัวอย่างของ ฟลอเรนซ์
ผู้พัฒนาเมาต์เทนส์
ผู้จัดจำหน่ายแอนนาเพอร์นาอินเตอร์แอ็กทีฟ
กำกับเคน หว่อง
แต่งเพลงเควิน เพนกิน
เอนจินยูนิตี
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • ไอโอเอส
  • 14 กุมภาพันธ์ 2018
  • แอนดรอยด์
  • 14 มีนาคม 2018
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แม็คโอเอส, นินเท็นโด สวิตช์
  • 13 กุมภาพันธ์ 2020[1]
แนวนิยายปฏิสัมพันธ์, มินิเกมส์
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

ใน ฟลอเรนซ์ ผู้เล่นจะได้ติดตามเรื่องราวของฟลอเรนซ์ โยห์ สาววัย 25 ปีที่ใช้ชีวิตประจำวันและได้พบกับคริช นักเชลโลที่เธอได้พบที่สวน ตัวเกมได้แสดงบทสนทนาสั้น ๆ และบอกเล่าเรื่องราวของฟลอเรนซ์ผ่านบทสั้น ๆ หลายบท ปริศนาในเกมเป็นตัวช่วยในการเติมเต็มชีวิตของฟลอเรนซ์ซึ่งผู้เล่นสามารถทำได้ผ่านเรื่องราวของเธอ

ผู้ออกแบบหลัก เคน หว่อง ต้องการสร้างเกมที่ไม่มีความรุนแรงและได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานวิดีโอเกมก่อนหน้านี้ของเขาอย่าง โมนูเมนต์แวลเลย์ เพื่อให้เกมมีประสบการณ์ที่เน้นการบรรยายโดยรวมเอาเกมปริศนาเข้าไปด้วย ตัวเกมได้รับการชื่นชมถึงภาพ เพลงประกอบ และรูปแบบการบรรยาย แต่ฉากจบกลับถูกวิจารณ์

รูปแบบการเล่น แก้

 
ฟลอเรนซ์ แสดงให้เห็นถึงความอึดอัดของการออกเดทครั้งแรกผ่านมินิเกมไขปริศนา เมื่อฟลอเรนซ์รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคริช ปริศนาก็ง่ายขึ้น[2]

ฟลอเรนซ์ ถูกแบ่งเรื่องราวออกเป็น 20 บท ในแต่ละบทก็จะแสดงส่วนของชีวิตของฟลอเรนซ์ โยห์ ที่แตกต่างกัน[3] บทต่าง ๆ จะถูกแยกออกเป็นหกฉาก ซึ่งแสดงถึงช่วงการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงชีวิตของฟลอเรนซ์ที่แตกต่างกัน ตัวเกมดำเนินเรื่องอย่างตรงไปตรงมาโดยอาศัยผู้เล่นที่จะต้องเล่นมินิเกมสั้น ๆ เพื่อจำลองหรือเปิดเผยความคิดและการกระทำของฟลอเรนซ์[3][4] มินิเกมเหล่านี้ได้แก่ ฉากฟลอเรนซ์แปรงฟัน ฉากฟลอเรนซ์เดินตามเสียงเชลโลจนพบกับคริช ฉากคริชทำความสะอาดห้องของเขาก่อนที่ฟลอเรนซ์จะมาเยี่ยม และฉากฟลอเรนซ์จัดเก็บของของเธอเมื่อคริชย้ายเข้าและฟลอเรนซ์คืนสิ่งของแก่คริชเมื่อเขาย้ายออก รวมถึงฉากอื่น ๆ การเล่นจบหนึ่งครั้งในเกมฟลอเรนซ์ จะใช้เวลาเล่นประมาณ 30 นาที[3]

เนื้อเรื่อง แก้

เกมได้เล่าถึง ฟลอเรนซ์ โยห์ หญิงสาววัย 25 ปี ผู้ใช้ชีวิตคนเดียวและทำงานเป็นกิจวัตรซ้ำ ๆ กันทุกวัน อีกทั้งยังไม่ค่อยพูดคุยหรือติดต่อกับเพื่อนร่วมงาน และโต้ตอบกับโซเชียลมีเดียอย่างไม่ค่อยเอาใจใส่ในระหว่างที่เธอเดินทาง[5] เช้าวันหนึ่ง โทรศัพท์ของเธอเสีย และเธอได้ติดตามเสียงเชลโลและได้พบกับคริช นักแสดงเปิดหมวกริมถนน เป็นครั้งแรก[5] คริชได้เป็นเพื่อนกับฟลอเรนซ์และออกเดตด้วยกัน[5][6] พวกเขาได้จูบกันครั้งแรกและมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คริชได้ย้ายไปอยู่กับฟลอเรนซ์ และได้รับกำลังใจที่จะทำให้เขากลายเป็นนักเชลโลที่ยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการขอบคุณ คริชจึงได้ให้ชุดภาพวาดแก่ฟลอเรนซ์ และเธอก็ได้วาดฝันถึงการเป็นจิตรกร[4]

หกเดือนถัดมา คู่รักทะเลาะกันที่ร้านขายของชำ[7] และเมื่อผ่านไปหนึ่งปี ทั้งคู่เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกัน และตัดสินใจที่จะแยกกันอยู่[5] หลังจากการทะเลาะกันอีกครั้ง คริชได้ย้ายออกไป ส่วนฟลอเรนซ์ก็ลาออกจากงานประจำของเธอ และเริ่มไล่ล่าความฝันที่จะเป็นจิตรกร ซึ่งสุดท้ายแล้วเธอทำสำเร็จ[4]

การพัฒนา แก้

 
เคน หว่อง หัวหน้าฝ่ายออกแบบเกมฟลอเรนซ์ ต้องการสร้างเกมที่ไม่มีความรุนแรง[8]

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ โมนูเมนต์แวลเลย์ เคน หว่อง ผู้เป็นนักออกแบบเกม รู้สึกว่าเขาได้ทำในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ตอนที่ทำงานที่สตูดิโออุสต์โว และต้องการที่จะสร้างสตูดิโอเป็นตนเอง[9] เขาจึงเดินทางกลับไปที่ออสเตรเลียหลังจากที่เห็นฉากการพัฒนาเกมที่เมลเบิร์น[9] และได้ก่อตั้งบริษัทแห่งใหม่ในเมลเบิร์นที่ชื่อว่าเมาต์เทนส์[9][10]

หลังจากที่จ้างพนักงานแล้ว บริษัทเมาต์เทนส์ยังคงไม่มีทิศทางในการสร้างเกมของพวกเขา[9] จนกระทั่งหว่องได้เริ่มจ้างทีมงานและเกิดความคิดเกี่ยวกับเกมที่มีคุณภาพดี[9] ทีมงานต่างก็สนทนากันว่าภาพยนตร์และหนังสือเจาะประเด็นเกี่ยวกับความรักและอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งนั่นถือเป็นความท้าทายที่ดีในการทำเกม[9] พวกเขาเลือกแนวคิดนี้เพื่อสร้างเกม ฟลอเรนซ์[9] นี่เป็นเกมแรกที่หว่องได้ดำเนินงานต่อจากโมนูเมนต์แวลเลย์[11]

หว่องและทีมงานต้องการสร้างเกมที่หลีกเลี่ยงจากความรุนแรง[8] เขากล่าวว่า "ผมต้องการค้นหาว่าเรื่องราวแบบไหนและพลวัตแบบไหนที่เราสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่สอดแทรกความรุนแรง"[8] เมาต์เทนส์จึงตัดสินใจสร้างเกมบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเท่าที่จะทำได้[8] เป้าหมายของทีมงานคือสร้างเกมซึ่งผู้เล่นจดจ่อกับการค้นหาอารมณ์แทนที่จะทำแค่เพียงให้ถึงเป้าหมาย[11] หากเปรียบเทียบกับเกมก่อนหน้านี้ของหว่องอย่าง โมนูเมนต์แวลเลย์ เขาต้องการสร้างประสบการณ์ที่คล้ายกับหนังสือการ์ตูนหรือภาพยนตร์เงียบซึ่งมุ่งเน้นไปที่การบรรยาย[8] หว่องและทีมงานได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ในการสร้างเกม ฟลอเรนซ์ โดยอ้างอิงจาก ซัมเมอร์ของฉัน 500 วัน ไม่ลืมเธอ, ลบเธอ...ให้ไม่ลืม และ ไททานิก[8][12]

ผู้พัฒนาต้องการสร้างเกมให้เป็นประสบการณ์เส้นตรงเพราะกังวลว่าผู้คนซึ่งมีประสบการณ์มากจะเลือกตัวเลือกถูกต้องและหลีกเลี่ยงที่จะเลือกศีลธรรมของเกม[13] เมาต์เทนส์ได้รับแรงบันดาลใจจากวิธีการที่ผู้คนรับรู้สื่อเพื่ออารมณ์ และต้องการนำความรู้สึกนั้นเข้าไปในเกม[11] ทีมงานตัดสินใจที่จะใช้ดนตรีแทนบทสนทนาตลอดทั้งเกม โดยเสียงเชลโลเป็นตัวแทนที่สื่อถึงคริช ส่วนเสียงเปียโนนั้นสื่อถึงฟลอเรนซ์[14] เมาต์เทนส์ได้ใช้ธีมดนตรีสำหรับตัวละครหลังจากที่บังเอิญสร้างมันขึ้นในตอนที่สร้างบท "ร้านขายของชำ" ซึ่งเป็นตอนที่คริชกับฟลอเรนซ์ทะเลาะกันครั้งแรก[13] หว่องเลือกใช้ชื่อฟลอเรนซ์เพราะเธอถูกออกแบบให้เป็นชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีนซึ่งบิดามารดาของเธอตั้งชื่ออันล้าสมัยนี้เมื่อพวกเขาอพยพเข้ามา[14]

ภายหลังจากที่เกม ฟลอเรนซ์ ได้ถูกวางจำหน่าย เคน หว่องผู้พัฒนาหลักถูกกล่าวหาโดยพนักงานคนหนึ่งของเมาต์เทนส์ว่าใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมในระหว่างการพัฒนาเกม ฟลอเรนซ์[15][16] พนักงานซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้านักพัฒนาของ ฟลอเรนซ์ กล่าวหาว่าหว่องใช้อารมณ์ในทางที่ผิด "ถึงขั้นซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย"[16] หว่องกล่าวขอโทษต่อสาธารณชนสำหรับพฤติกรรมของเขาในแถลงการณ์ว่า "มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ฉันควรทำได้ดีกว่าหรือแตกต่างออกไปในช่วงเวลานั้น"[16]

เพลงประกอบ แก้

เพลงประกอบดั้งเดิมของเกม ฟลอเรนซ์ ประพันธ์โดยเควิน เพนกิน วางจำหน่ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ตัวเกมวางจำหน่าย โดยแอนนาเพอร์นาอินเตอร์แอ็กทีฟ[17]

ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Florence"2:01
2."Adult Life"1:27
3."Memories"2:30
4."Music"1:44
5."Crash"2:13
6."First Dates"1:39
7."Dreams"1:27
8."Inspiration"2:32
9."Exploration"1:46
10."Groceries"2:27
11."Moving In"1:53
12."Happy Together"2:05
13."Routine"1:32
14."Erosion"1:56
15."Fight"2:13
16."Drifting"1:25
17."Moving Out"2:04
18."Fragments"1:23
19."Let Go"2:30
20."Wake Up, Moving On"2:17

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติกiOS: 82/100[18]
NS: 90/100[19]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เดสทรักทอยด์8/10[4]
เอดจ์8/10[20]
เกมอินฟอร์เมอร์8/10[21]
เกมส์ทีเอ็ม9/10[22]
ไอจีเอ็น9.6/10 (ญี่ปุ่น)[23]
เดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์(เป็นที่ชื่นชอบ)[2]

คำวิจารณ์ แก้

ฟลอเรนซ์ ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2017[27] โดยเปิดตัวแบบสาธิตแก่สาธารณชนในงานแพกซ์ ออสเตรเลีย 2017 ซึ่งแสดงการเล่นในช่วง 15 นาทีแรกของเกม และเกมได้รับการชื่นชมจากนักหนังสือพิมพ์วิดีโอเกมออสเตรเลีย[27][27][28] แร จอห์นสตัน จากโกตากูออสเตรเลีย เรียก ฟลอเรนซ์ ว่าเป็น "เกมที่โดดเด่น" ของเธอ และแสดงความรู้สึกว่ามินิเกมประสบความสำเร็จในการสวมบทบาทของเธอเข้าไปในตัวละคร[28] อเลย์นา โคล จากพีซีออเทอริตี ชื่นชมว่าเป็นเกมที่ให้ความโดดเด่นของเรื่องราวความรักและความหลากหลาย และบรรยายว่า "เหมือนเป็นสิ่งที่หายาก" ในวัฒนธรรมวิดีโอเกมยุคใหม่[27]

ฟลอเรนซ์ ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวก ซีเจ แอนดรีสเซน จากเดสทรักทอยด์ บรรยายว่าเกมนี้เป็น "ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามอย่างแท้จริง" และรู้สึกว่าเกมนี้เป็นหนึ่งในสื่อเล่าเรื่องที่มีจินตนาการมากที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็น[4] ทิม บิกส์ จากเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ กล่วว่า มินิเกมทำให้ ฟลอเรนซ์ "มีความพิเศษอย่างแท้จริง" และมันก็ "ให้อารมณ์และความรู้สึกอันน่าทึ่ง"[2] จอร์แดน เอริกา เว็บเบอร์ จากเดอะการ์เดียน ชื่นชมความสามารถของ ฟลอเรนซ์ ในการจับประเด็นว่า "อะไรคือสิ่งที่จะตกหลุมรักเป็นครั้งแรก"[25] คริสตีอัน ดอนแลน จากยูโรเกมเมอร์ บันทึกว่ารูปแบบปริศนาของเกมอาจไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักการเดินทางของเรื่องราวในเกม[5] แพทริก เชนลีย์ จากเดอะฮอลลีวูดรีพอร์เตอร์ ชื่นชมหว่องและทีมงานของเขาในการ "ทำให้รู้จักคุณ" ในแง่มุมของการเดต[29] เอสรา แครบบ์ จากไอจีเอ็น เจแปน เรียกเกมนี้ว่าเป็น "งานศิลปะระดับจักรวาล" และชื่นชมว่าเป็นเกมที่ใคร ๆ ก็เล่นได้[23] ไซมอน พาร์กิน จากเดอะการ์เดียน บันทึก ฟลอเรนซ์ ลงในรายชื่อ "เกมยอดเยี่ยมประจำเดือน" ของเขา และบันทึกว่าเกมนี้ไม่น่าเบื่อและดำเนินเรื่องได้ยอดเยี่ยม[6]

นักวิจารณ์หลายคนเปรียบเทียบเกมนี้กับเกมชุด วาริโอแวร์[7][30] แอนดรูว์ เว็บสเตอร์ จากเดอะเวิร์จ เปรียบเทียบเกมนี้ว่าเป็น "การ์ตูนเน็ตที่ตัดกันกับ วาริโอแวร์" และอัลเลกรา แฟรงก์ จากโพลีกอน ชื่นชมมินิเกมซึ่งทำให้องค์ประกอบของอารมณ์ในเกมสะท้อนไปถึงผู้เล่นได้[7][30] แอนดรีสเซน จากเดสทรักทอยด์ สะท้อนแนวคิดของแฟรงก์เกี่ยวกับผลกระทบจากมินิเกม และรู้สึกว่าเกมนี้เป็น "ผลผลิตที่สวยงาม"[4]

องค์ประกอบบางส่วนของเรื่องถูกวิพากย์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนจบ[4][5][30] แอนดรีสเซน จากเดสทรักทอยด์ กล่าวว่า เกมทิ้งเขาให้ "คิดในแง่ลบ" เกี่ยวกับความรัก และยังกล่าวอีกว่า "มันเป็นการติดตามของศิลปะและแรงจูงใจที่แท้จริงในตัวเอง ซึ่งมันโดดเด่นในตอนจบ"[4] ดอนแลน จากยูโรเกม รู้สึกว่าตอนจบให้ "ความคิดโบราณง่าย ๆ แก่อีกฝ่าย" และเขาผิดหวังกับตอนจบ[5]

การจำหน่าย แก้

การวางจำหน่าย ฟลอเรนซ์ สามารถขายจนคืนต้นทุนในการพัฒนามาได้ แต่ตัวเกมกลับไม่สามารถทำเงินได้มากพอที่จะลงทุนในแผนงานถัดไปของเมาต์เทนส์[31] เคน หว่อง ผู้ออกแบบหลักของ ฟลอเรนซ์ กล่าวว่า การจำหน่ายของเกมนี้ "ใช้ได้" และกล่าวต่อว่า "การขายในโทรศัพท์พรีเมียมมันยาก"[31] ณ การอภิปราย หว่องกล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของรายได้จากการจำหน่าย ฟลอเรนซ์ มาจากประเทศจีน และผู้คนมักเล่นเกมนี้ในภาษาจีนแมนดารินมากกว่าภาษาอังกฤษ[32] หว่องได้รายงานที่การประชุมเหล่าผู้พัฒนาเกม 2019 ว่า ร้อยละ 88 ของการจำหน่ายมาจากไอโอเอส ซึ่งร้อยละ 41 ของการจำหน่ายในไอโอเอสนั้นมาจากประเทศจีน[31]

รางวัล แก้

 
เหล่าทีมงานผู้พัฒนาฟลอเรนซ์ เรียงจากซ้ายไปขวา เควิน เพนกิน นักแต่งเพลงประกอบ, คามินา วินเซนต์ ผู้ผลิตเกม และเคน หว่อง ผู้กำกับงาน ในงานประกาศรางวัลตัวเลือกผู้พัฒนาเกม 2019

ฟลอเรนซ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขา "ช่วงเวลาหรือลำดับที่ดีที่สุด" กับ "พยายามที่จะปะติดปะต่อความสัมพันธ์กัน" จากงานเกมแห่งปีของไจแอนท์บอมบ์ประจำปี 2018[33] สำนักข่าวโพลิกอนได้ขนานนาม ฟลอเรนซ์ ว่าเป็นเกมที่ดีที่สุดในทศวรรษ[34]

ปี รางวัล ประเภท ผล อ้างอิง
2018 รางวัลโกลเดนจอยสติก เกมโทรศัพท์มือถือแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง [35][36]
รางวัลเกมแห่งปี 2018 เกมทรงอิทธิพล เสนอชื่อเข้าชิง [37][38]
เกมโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม ชนะ
เกมอินดี้ที่เปิดตัวยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลทางเลือกของนักเล่นเกม เกมโทรศัพท์มือถืออันเป็นที่ชื่นชอบของแฟน เสนอชื่อเข้าชิง [39]
รางวัลเกมออสเตรเลีย เกมที่ถูกพัฒนาโดยชาวออสเตรเลียแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง [40]
2019 รางวัลนิวยอร์กเกม รางวัลเอเทรนสำหรับเกมโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม ชนะ [41][42]
รางวัลไดซ์อวอร์ดส์ครั้งที่ 22 ความสำเร็จอันโดดเด่นในเนื้อเรื่อง เสนอชื่อเข้าชิง [43][44]
ความสำเร็จอันโดดเด่นสำหรับเกมอินดี้ เสนอชื่อเข้าชิง
เกมพกพายอดเยี่ยมแห่งปี ชนะ
ความสำเร็จอันโดดเด่นในการกำกับเกม เสนอชื่อเข้าชิง
เนชันแนลอคาเดมีออฟวิดีโอเกมเทรดรีวิเวอร์อวอร์ดส์ เกม, ออริจินัลแอด​แวนจอร์ เสนอชื่อเข้าชิง [45]
เกม, สเปเชียลคลาส เสนอชื่อเข้าชิง
เซาท์บายเซาท์เวสต์เกมมิ่งอวอร์ดส์ การบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [46]
เกมโทรศัพท์มือถือแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
เกมดีเวลลอปเปอร์สชอยอวอร์ดส์ การเปิดตัวยอดเยี่ยม (เมาต์เทนส์) ชนะ [47][48]
เกมโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม ชนะ
อินโนเวชันอวอร์ด เสนอชื่อเข้าชิง
การบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลบริติชอคาเดมีเกมอวอร์ดส์ เกมเปิดตัวยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [49][50]
เกมบียอนด์เอนเตอร์เทนเมนต์ เสนอชื่อเข้าชิง
เกมโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม ชนะ
บรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงประกอบยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ออริจินัลพรอปเพอร์ตี เสนอชื่อเข้าชิง
อิตาเลียนวิดีโอเกมอวอร์ดส์ เกมโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม ชนะ [51]
เกมบียอนด์เอนเตอร์เทนเมนต์ เสนอชื่อเข้าชิง
เว็บบีอวอร์ดส์ 2019 กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [52][53]
ออกแบบเกมยอดเยี่ยม ชนะ
ออกแบบเพลงประกอบยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เขียนบทยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เกมฟอร์เชนจ์อวอร์ดส์ รูปแบบการเล่นยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [54]

อ้างอิง แก้

  1. Carpenter, Nicole (February 4, 2020). "Florence's sweet, subtle story coming to Nintendo Switch and PC". Polygon. สืบค้นเมื่อ February 4, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 Biggs, Tim (March 14, 2018). "Florence review: wordless love story is brief and breathtaking". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 Fogel, Stefanie (February 19, 2018). "'Florence' Is a Short, Bittersweet and Relatable Tale About First Love". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Andriessen, CJ (February 27, 2018). "Review: Florence". Destructoid. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Donlan, Christian (February 19, 2018). "Florence is so much more than a love story". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018. สืบค้นเมื่อ March 29, 2018.
  6. 6.0 6.1 Parkin, Simon (March 3, 2018). "Florence review – girl meets boy meets iPhone game". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 Webster, Andrew (February 14, 2018). "With just a few taps, Florence shows you how it feels to fall in love". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Webster, Andrew (October 24, 2017). "Florence is a game about love from the designer behind Monument Valley". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Dealessandri, Marie (March 14, 2018). "Florence: How game design can tell love stories". MCV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  10. Conditt, Jessica (February 14, 2018). "'Florence' turns falling in love into a video game". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  11. 11.0 11.1 11.2 Findling, Deborah (February 11, 2018). "The designer of 'Monument Valley' has a new game where users explore relationships, without prizes or big thrills". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  12. Frank, Allegra (October 24, 2017). "Monument Valley lead's next game, Florence, is like Eternal Sunshine of the Spotless Mind". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  13. 13.0 13.1 Valentine, Rebekah (February 2018). "Interview: Ken Wong, and breaking with what a game 'should be' in Florence". App Trigger. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018. สืบค้นเมื่อ March 29, 2018.
  14. 14.0 14.1 Weber, Rachel (February 14, 2018). "Fall in love with Florence, the new game from Monument Valley's designer". Games Radar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  15. Graft, Kris (August 28, 2019). "New allegations of sexual assault surface against established game devs". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  16. 16.0 16.1 16.2 Batchelor, James (August 29, 2019). "Ken Wong apologises following accounts of abuse from former employee". gamesindustry.biz. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  17. "Kevin Penkin – Florence". Discogs. สืบค้นเมื่อ May 3, 2022.
  18. "Florence for iPhone/iPad Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2018. สืบค้นเมื่อ June 6, 2018.
  19. "Florence for Switch Reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ March 15, 2020.
  20. "Florence". Edge. No. 318. Future plc. May 2018. p. 120.
  21. Favis, Elise (February 20, 2018). "Florence Review – An Earnest Tale About Ordinary Love". Game Informer. สืบค้นเมื่อ April 7, 2019.
  22. "Florence". GamesTM. No. 199. 2018. p. 83.
  23. 23.0 23.1 Krabbe, Esra (February 16, 2018). "Florence Review". IGN Japan (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  24. Slater, Harry (February 14, 2018). "Florence review - "A moving, if a little brief, tale of love, loss, and life"". Pocket Gamer. สืบค้นเมื่อ April 7, 2019.
  25. 25.0 25.1 Webber, Jordan Erica (February 23, 2018). "Florence review – powerfully relatable snapshots of first love". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  26. Hodapp, Eli (February 13, 2018). "'Florence' Review – A Brief Fling". TouchArcade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Cole, Alayna (November 6, 2017). "Hands-on Preview: Florence". PC Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ March 18, 2018.
  28. 28.0 28.1 Walker, Alex (October 31, 2017). "What We Liked From PAX Australia 2017". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  29. Shanley, Patrick (February 12, 2018). "This Mobile Game Captures What First Love Is Like". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2018. สืบค้นเมื่อ March 29, 2018.
  30. 30.0 30.1 30.2 Frank, Allegra (February 15, 2018). "The breathtaking Florence captures falling in love better than almost any game". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ April 12, 2018.
  31. 31.0 31.1 31.2 Hanson, Ben (March 20, 2019). "Florence Started Development As 3D Rubik's Cube Of Human Heads". Game Informer. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  32. Handrahan, Matthew (October 23, 2018). ""More people have played Florence in Mandarin than in English"". GamesIndustry.biz. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  33. Gesrtmann, Jeff (December 28, 2018). "Here's What Won". Giant Bomb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2019. สืบค้นเมื่อ December 28, 2018.
  34. "The 100 best games of the decade (2010–2019): 50–11". Polygon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). พฤศจิกายน 4, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 6, 2019. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 9, 2019.
  35. Hoggins, Tom (September 24, 2018). "Golden Joysticks 2018 nominees announced, voting open now". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  36. Sheridan, Connor (November 16, 2018). "Golden Joystick Awards 2018 winners: God of War wins big but Fortnite gets Victory Royale". GamesRadar+. สืบค้นเมื่อ November 17, 2018.
  37. McWhertor, Michael (November 13, 2018). "The Game Awards 2018 nominees led by God of War, Red Dead Redemption 2". Polygon. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  38. Grant, Christopher (December 6, 2018). "The Game Awards 2018: Here are all the winners". Polygon. สืบค้นเมื่อ December 7, 2018.
  39. Glyer, Mike (November 19, 2018). "2018 Gamers' Choice Awards Nominees". File 770. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  40. "Your 2018 Winners". Australian Games Awards. December 19, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  41. Keyes, Rob (January 3, 2019). "2018 New York Game Awards Nominees Revealed". Screen Rant. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  42. Meitzler, Ryan (January 23, 2019). "The New York Game Awards Reveals 2019 Winners; God of War Earns the Top Prize". DualShockers. สืบค้นเมื่อ January 23, 2019.
  43. Makuch, Eddie (January 10, 2019). "God Of War, Spider-Man Lead DICE Awards; Here's All The Nominees". GameSpot. สืบค้นเมื่อ January 11, 2019.
  44. McWhertor, Michael (February 14, 2019). "God of War wins big at DICE Awards 2019". Polygon. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
  45. "Nominee List for 2018". National Academy of Video Game Trade Reviewers. February 11, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
  46. Trent, Logan (February 11, 2019). "Here Are Your 2019 SXSW Gaming Awards Finalists!". South by Southwest. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
  47. Good, Owen S. (January 4, 2019). "Red Dead Redemption 2 tops list of Game Developers Choice nominees". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  48. Williams, Mike (March 20, 2019). "God of War Wins Another GOTY at 2019 Game Developers Choice Awards". USGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ March 20, 2019.
  49. Fogel, Stefanie (March 14, 2019). "'God of War,' 'Red Dead 2' Lead BAFTA Game Awards Nominations". Variety. สืบค้นเมื่อ March 14, 2019.
  50. "BAFTA Games Awards winners 2019". BAFTA. สืบค้นเมื่อ April 4, 2019.
  51. "Italian Video Game Awards Nominees and Winners". Italian Video Game Awards. April 11, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2018. สืบค้นเมื่อ May 25, 2019.
  52. Liao, Shannon (April 23, 2019). "Here are all the winners of the 2019 Webby Awards". The Verge. สืบค้นเมื่อ April 24, 2019.
  53. "2019 Winners". The Webby Awards. April 23, 2019. สืบค้นเมื่อ April 24, 2019.
  54. McAloon, Alissa (May 30, 2019). "Detroit: Become Human, Nintendo Labo among Games for Change Awards finalists". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ May 30, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้