มันคันขาว

(เปลี่ยนทางจาก Dioscorea pentaphylla)
มันคันขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Dioscoreales
วงศ์: Dioscoreaceae
สกุล: Dioscorea
สปีชีส์: D.  pentaphylla
ชื่อทวินาม
Dioscorea pentaphylla
L.

มันคันขาว หรือมันเลือด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea pentaphylla, อังกฤษ: fiveleaf yam) เป็นพืชในวงศ์กลอย เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียและทางตะวันออกของโพลีเนเชีย[1] เป็นไม้เลื้อย ดอกแยกเพศแยกต้น มีหัวใต้ดินแข็ง อยู่ได้นาน และมีการสะสมของลิกนิน ใช้ลำต้นเลื้อยพัน เหนียว ใบเดี่ยวรูปหัวใจ บางครั้งเกิดหัวฝอยสะสมอาหารที่ลำต้น หัวยาว อยู่ลึกในดิน กลมหรือทรงลูกแพร์ เนื้อหัวสีขาวหรือสีเหลืองส้ม บางครั้งมีจุดประสีม่วง ลำต้นเลื้อยพันไปทางซ้าย ส่วนล่างมีหนามปกคลุม มีขนสีแดงสนิมคลุมก้านใบ ช่อดอกมีขนละเอียดสีแดงปกคลุม ผลสีดำมีปีกและมีขนปกคลุม

สายพันธุ์ แก้

มันคันขาวกระจายพันธุ์เริ่มจากตอนเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของจีนและทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความแตกต่างกันเป็นหลายพันธุ์ดังนี้

  • variety pentaphylla หัวทรงกระบอก ขนาดเล็ก ไม่แตกแขนงพบได้ทั่วไป
  • variety papuana หัวป้อมเป็นพู ไม่แบน ดอกขนาดใหญ่ พบในนิวกินี
  • variety javanica ตันเล็กกว่าพันธุ์ papuana ดอกเล็กกว่า พบที่เกาะชวา
  • variety palmata หัวแบบ ผิวเรียบ มีขนสีเงินปกคลุม พบในติมอร์ ฟิลิปปินส์
  • variety sacordotalis คล้าย variety palmata แต่ใบย่อยยาวกว่าดอกและหัวเล็กกว่า พบในเกาะชวา

การใช้ประโยชน์ แก้

หัวใช้รับประทานเป็นอาหาร ต้นที่เป็นสายพันธุ์ป่ามักมีกลิ่นและรสที่ไม่น่ารับประทานส่วนหัวรับประทานได้ เนื้อหัวมีสารสีม่วงกระจายเป็นหย่อม ต้มสุกแล้วเนื้อร่วนซุย เนื้อออกสีม่วง[2]

มันคันขาวนึ่งไม่ใส่เกลือ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน343 กิโลจูล (82 กิโลแคลอรี)
20 g
0.08 g
1.73 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.086 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(1%)
0.014 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(1%)
0.13 มก.
(10%)
0.48 มก.
วิตามินบี6
(16%)
0.209 มก.
โฟเลต (บี9)
(3%)
12 μg
แร่ธาตุ
เหล็ก
(3%)
0.43 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
10 มก.
แมงกานีส
(13%)
0.283 มก.
ฟอสฟอรัส
(6%)
40 มก.
โพแทสเซียม
(11%)
495 มก.
โซเดียม
(1%)
12 มก.
สังกะสี
(3%)
0.32 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

อ้างอิง แก้

  1. Gucker, Corey L. 2009. Dioscorea spp. In: Fire Effects Information System, [Online]. U.S. Department of Agriculture, Forest Service, Rocky Mountain Research Station, Fire Sciences Laboratory.
  2. "หัวมันหัวกลอย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 112 - 119

แหล่งข้อมูลอื่น แก้