มันมือเสือ

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Dioscorea esculenta)
มันมือเสือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Dioscoreales
วงศ์: Dioscoreaceae
สกุล: Dioscorea
สปีชีส์: D.  esculenta
ชื่อทวินาม
Dioscorea esculenta
L.

มันมือเสือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea esculenta) เป็นพืชในวงศ์กลอย และเป็นพืชที่มีหัวเล็กที่สุดในสกุลเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงมันฝรั่ง เป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ มีขนและหนามปกคลุม รากของพันธุ์ป่าจะแข็งเป็นหนาม พันธุ์ปลูกมักไม่มีหนาม เปลือกหัวสีน้ำตาลหรือแกมเทา เนื้อสีขาว เลื้อยพันไปทางซ้าย มีหนามมากที่โคน ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้เป็นช่อเดี่ยว ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจะหรือช่อเชิงลด โค้งลงด้านล่างผลเป็นแคบซูลโค้งงอ มันมือเสือแบ่งเป็น 2 พันธุ์คือ variety spinosa มีหนามในส่วนราก variety fasiculata มีหนามในส่วนรากน้อย

ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทยและอินโดจีน กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า ไปจนถึงนิวกินี ในเวียดนามเรียกว่าkhoai từ หรือ củ từ ซึ่งนำแป้งจากมันชนิดนี้ไปทำขนมได้ มีหัวขนาดเล็กกว่ามันเสา เนื้อหัวเหนียว นำไปทำแกงเลียง ใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่หรือแกงมัสมั่นได้[1]หัวนำมาต้มหรือเผารับประทาน สกัดแป้งจากหัว หัวขูดเป็นฝอยใช้พอก ลดอาการบวม มีรสหวานเพราะมีน้ำตาลมาก ในอาหารจีน นำมันมือเสือไปทำเป็นอาหารหวาน เช่น มันมือเสือในน้ำเชื่อม ส่วนในอาหารญี่ปุ่นใช้ทำพิซซ่าญี่ปุ่น ใส่ในข้าวห่อสาหร่าย และสลัดมันมือเสือ ชาวมอญนิยมนำมาทำแกงเลียง หรือนำไปต้มกินเป็นอาหารว่าง[2]

อ้างอิง แก้

  1. "หัวมันหัวกลอย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
  2. องค์ บรรจุน. ข้างสำรับมอญ. กรุงเทพฯ: มติชน. 2557
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 124 - 125