เหตุการณ์การทำลายมัสยิดบาบรี

(เปลี่ยนทางจาก Demolition of the Babri Masjid)

เหตุการณ์การทำลายมัสยิดบาบรี (อังกฤษ: demolition of the Babri Masjid) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1992 โดยม็อบนักกิจกรรมจากวิศวฮินดูบริษัทและสังฆบริวารอันเป็นเหตุการณ์สำคัญของข้อพิพาทอโยธยา โดยมีเป้าหมายคือการทำลายมัสยิดบาบรีในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ภายหลังการเดินขบวนเชิงการเมืองที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานชาตินิยมฮินดูกลายมาเป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง

การทำลายมัสยิดบาบรี
ภาพโปสเตอร์แสดงเหตุการณ์การทำลายมัสยิดบาบรี
อโยธยาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อโยธยา
อโยธยา
อโยธยา (ประเทศอินเดีย)
สถานที่อโยธยา, ประเทศอินเดีย
วันที่6 ธันวาคม 1992
เป้าหมายมัสยิดบาบรี
ประเภทจลาจล
ตาย2,000 (รวมถึงจากจลาจลในภายหลัง)[1]
ผู้ก่อเหตุกรเสวกของวิศวฮินดูบริษัทและพรรคภารตียชนตา

ตามขนบของศาสนาฮินดู อโยธยาเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าสำคัญในศาสนาฮินดู นายพลมีร์บากีได้สร้างมัสยิดบาบรีขึ้นในศตวรรษที่ 16 ตามพระราชกระแสของจักรพรรดิบาบูร์แห่งจักรวรรดิโมกุล บนจุดที่ชาวฮินดูบางส่วนระบุว่าเป็น รามชนมภูมิ (สถานที่ประสูติของพระราม) กรมสำรวจโบราณคดีอินเดียระบุว่ามัสยิดนั้นตั้งอยู่บนที่ดินที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เป็นของอิสลามมาก่อน[2][3] ในทศวรรษ 1980s องค์กรวิศวฮินดูบริษัท (VHP) ได้เริ่มแคมเปญสนับสนุนการก่อสร้างมนเทียร (โบสถ์พราหมณ์) ขึ้นบนพื้นที่ดังกล่าว โดยมีพรรคภารตียชนตา (BJP) สนับสนุน[4][5] ได้มีกิจกรรมและการเดินขบวนต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบรับกับกิจกรรมนี้ รวมถึงกิจกรรม รามรถยาตรา ซึ่งนำโดย L. K. Advani การเรียกร้องนี้ได้รับการหนุนโดยคำสั่งศาลประจำอำเภอ ที่ซึ่งในปี 1986 ได้ระบุให้เปิดสถานที่นี้สำหรับการบูชาสำหรับชาวฮินดู[4][6] คำสั่งศาลนี้ได้รับการรับรองโดยนายกรัฐมนตรีอินเดียในขณะนั้น ราชีพ คานธี นักการเมืองของพรรคคองเกรส ผู้ซึ่งกำลังเสาะหาการสนับสนุนจากชาวฮินดูหลังเขาพ่ายแพ้ในคดีความชาห์ บะโน[7][4] อย่างไรก็ตามพรรคคองเกรสได้แพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1989 ในขณะที่พรรค BJP มีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น 88 ในการเลือกตั้งครั้งนั้น[4][8]

ในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ได้มีการเดินขบวนที่จัดโดย VHP และพรรค BJP ที่พื้นที่ดังกล่าว โดยมีอาสาสมัครจำนวน 150,000 คนในชื่อ กรเสวก เข้าร่วม การเดินขบวนนี่นในที่สุดได้กลายเป็นเหตุรุนแรงและกลุ่มคนซึ่งมากกว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยได้เข้าทำลายมัสยิด จากการตรวจสอบพบว่ามี 68 คนเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในความรุนแรงนี้ ในจำนวนนี้มีผู้นำหลายคนจากทั้งพรรค BJP และ VHP การทุบทำลายนี้ได้นำไปสู่การจลาจลในชุมชนต่าง ๆ ระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมอันนำไปสู่ผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คน ทั้งในประเทศอินเดียและในปากีสถานกับบังกลาเทศ

อ้างอิง แก้

  1. "Timeline: Ayodhya holy site crisis". BBC News. 17 October 2003.
  2. "Babri Masjid not built on vacant land, artefacts reveal non-Islamic structure: Supreme Court". www.businesstoday.in. สืบค้นเมื่อ 2019-11-10.
  3. DelhiNovember 10, Rahul Shrivastava New; November 10, 2019UPDATED; Ist, 2019 09:52. "Supreme Court judgment on Ayodhya ends several speculation: ASI team chief". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-10.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Udayakumar, S.P. (August 1997). "Historicizing Myth and Mythologizing History: The 'Ram Temple' Drama". Social Scientist. 25 (7): 11–26. doi:10.2307/3517601. JSTOR 3517601.
  5. "Babri mosque case: BJP MP declared absconder". The Times of India. 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-18.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ayodhya Timeline BBC
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Avari2013
  8. Guha, Ramachandra (2007). India After Gandhi. MacMillan. pp. 633–659.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้