รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791
รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791[1][a] หรือพระราชบัญญัติการปกครอง[b] เป็นรัฐธรรมนูญที่นำมาใช้โดยสภาเซย์มใหญ่ ("สภาเซย์มสี่ปี" ซึ่งประชุมใน ค.ศ. 1788–1792) สำหรับเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นรัฐทวิราชาธิปไตยอันประกอบด้วยราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย รัฐธรรมนูญถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางการเมืองของเครือจักรภพ ซึ่งก่อนหน้านี้มีช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนและค่อย ๆ นำเสนอการปฏิรูป โดยเริ่มด้วยการประชุมเซย์มใน ค.ศ. 1764 และการเลือกสตาญิสวัฟ เอากุสตุส ปอญาตอฟสกี ผู้จะกลายเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเครือจักรภพขึ้นสู่ราชบัลลังก์ รัฐธรรมนูญนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ ต่อจากรัฐธรรมนูญสหรัฐ
พระราชบัญญัติการปกครอง | |
---|---|
หน้าแรกของต้นฉบับรัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 จดทะเบียน (มุมขวาบน) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 | |
สร้าง | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1788 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 |
ให้สัตยาบัน | 3 พฤษภาคม 1791 |
ที่ตั้ง | หอจดหมายเหตุบันทึกประวัติศาสตร์กลาง, กรุงวอร์ซอ |
ผู้เขียน |
รัฐธรรมนูญพยายามที่จะใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอความเท่าเทียมกันทางการเมืองระหว่างชาวเมืองและขุนนาง และกำหนดให้ชาวนาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐบาล บรรเทาการละเมิดที่เลวร้ายที่สุดของทาสติดที่ดิน รัฐธรรมนูญห้ามสถาบันรัฐสภาที่เป็นอันตรายเช่นการยับยั้งเสรีภาพซึ่งทำให้เซย์มตกอยู่ในความเมตตาของสมาชิกของสภาผู้ใดก็ตามที่สามารถยับยั้งและยกเลิกกฎหมายทั้งหมดที่รับรองโดยเซย์มนั้น ประเทศเพื่อนบ้านของเครือจักรภพมีปฏิกิริยาเป็นปรปักษ์ต่อการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงทำลายพันธมิตรของปรัสเซียกับเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และทรงเข้าร่วมกับจักรวรรดิรัสเซียของเยกาเจรีนามหาราชินีและสมาพันธ์ทาร์โกวิกาของผู้ต่อต้านการปฏิรูปชาวโปแลนด์เพื่อเอาชนะเครือจักรภพในสงครามโปแลนด์-รัสเซียใน ค.ศ. 1792
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 มีผลบังคับใช้ไม่ถึง 19 เดือน[2][3] รัฐธรรมนูญถูกประกาศให้เป็นโมฆะโดยสภาเซย์มกรอดโนที่ประชุมใน ค.ศ. 1793[1][3] แม้ว่าอำนาจทางกฎหมายของเซย์มที่จะทำเช่นนั้นก็ยังมีข้อกังขา[3] การแบ่งดินแดนครั้งที่สองและสามของโปแลนด์ (ค.ศ. 1793, ค.ศ. 1795) ทำให้อำนาจอธิปไตยของโปแลนด์สิ้นสุดลงในที่สุดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดใน ค.ศ. 1918 ตลอด 123 ปีที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 ช่วยให้ชาวโปแลนด์มีแรงบันดาลใจในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของประเทศในที่สุด ในคำพูดของผู้ร่างหลักสองคน Ignacy Potocki และ Hugo Kołątaj รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1791 คือ "เจตจำนงและพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของมาตุภูมิที่กำลังจะสิ้นสุดลง"[c]
รัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ได้รวมสาธารณรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเข้ากับการแบ่งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างชัดเจน โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญแห่งชาติที่ลงลายลักษณ์อักษรสมัยใหม่ฉบับแรกของยุโรปและฉบับที่สองของโลกรองจากรัฐธรรมนูญสหรัฐที่มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1789[3][d]
หมายเหตุ
แก้- ↑ โปแลนด์: Konstytucja 3 maja; ลิทัวเนีย: Gegužės trečiosios konstitucija
- ↑ โปแลนด์: Ustawa Rządowa
- ↑ Piotr Machnikowski renders the Polish "Ojczyzna" as "Fatherland".[2] The "literal" English translation of "ojczyzna" is indeed "fatherland": both these words are calques of the Latin "patria," which itself derives from the Latin "pater" ("father"). The English translation of the Constitution of 3 May 1791, by Christopher Kasparek, reproduced in Wikisource (e.g. at the end of section II, "The Landed Nobility") renders "ojczyzna" as "country", which is the usual English-language equivalent of the expression. In this particular context, "Homeland" may be the most natural rendering.
- ↑ การอ้างสิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ "ฉบับแรก" และ "ฉบับที่สอง" ได้รับการโต้แย้ง รัฐธรรมนูญของสหรัฐและโปแลนด์-ลิทัวเนียนำหน้าด้วยเอกสารก่อนหน้านี้ซึ่งไม่ได้แยกอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการออกจากกันโดยสิ้นเชิงดังที่มงแต็สกีเยอกล่าวถึง เช่นตราสารรัฐบาล ค.ศ. 1653 และบทบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐ ค.ศ. 1777 ซึ่งทั้งสองอย่างนี้รู้จักกันดีแต่ขาดการแบ่งไตรภาคี รัฐธรรมนูญคอร์ซิกา ค.ศ. 1755 ที่มีอายุสั้นและไม่ค่อยมีคนรู้จักก็เช่นกัน[4] ซึ่งแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายตุลาการออกจากกันอย่างชัดเจน[5] ดูเพิ่มที่ประวัติสาสตร์รัฐธรรมนูญ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Norman Davies (15 May 1991). The Third of May 1791 (PDF). Minda de Gunzburg Center for European Studies, Harvard University.
- ↑ 2.0 2.1 Piotr Machnikowski (1 December 2010). Contract Law in Poland. Kluwer Law International. p. 20. ISBN 978-90-411-3396-0. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Jan Ligeza (2017). Preambuła Prawa [The Preamble of Law] (ภาษาโปแลนด์). Polish Scientific Publishers PWN. p. 12. ISBN 978-83-945455-0-5.
- ↑ Dorothy Carrington (July 1973). "The Corsican constitution of Pasquale Paoli (1755–1769)". The English Historical Review. 88 (348): 481–503. doi:10.1093/ehr/lxxxviii.cccxlviii.481. JSTOR 564654.
- ↑ H. G. Koenigsberger (1986). Politicians and Virtuosi: Essays on Early Modern History (Vol. 49). A&C Black. ISBN 978-0-90-762865-1. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.
แหล่งข้อมุลอื่น
แก้- Photos of original document
- Polishconstitution.org – about the 3 May 1791 Constitution, includes a partial English translation by Christopher Kasparek.
- Collection of digitized versions of the 3 May 1791 Constitution and various related documents in the Digital National Library Polona.
- Official web page about Constitution of 3 May เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in English)