มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์
มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ (อังกฤษ: B-cell chronic lymphocytic leukemia, B-CLL) หรือรู้จักในชื่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (อังกฤษ: chronic lymphoid leukemia, CLL) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทที่พบมากที่สุด CLL มีผลกระทบต่อลิมโฟไซต์บีเซลล์ บีเซลล์ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก เติบโตในต่อมน้ำเหลือง และโดยปกติจะสู้รับการติดเชื้อโดยสร้างแอนติบอดี เมื่อเป็นโรค ดีเอ็นเอของบีเซลล์จะได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้ นอกเหนือจากนั้น บีเซลล์จะเติบโตนอกเหนือการควบคุมและจะสะสมอยู่ในไขกระดูกและเลือด ซึ่งจะไปเบียดเสียดเซลล์เลือดสุภาพดี CLL เป็นระยะหนึ่งของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก (SLL) ซึงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ปรเะภทหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลือง[1] CLL และ SLL ถูกมองว่าเป็นโรคเบื้องหลังอย่างเดียวกัน เพียงแต่ปรากฏแตกต่างกัน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก | |
---|---|
เซลล์ CLL | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | C91.1 |
ICD-9 | 204.1 |
ICD-O: | M9823/3 (CLL) 9670/3 (SCL) |
DiseasesDB | 2641 |
MedlinePlus | 000532 |
eMedicine | med/370 |
NCI | มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ |
MeSH | D015451 |
CLL เป็นโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ แต่ในกรณีหายาก ก็เกิดในวัยรุ่นและเด็กสืบสายโลหิตได้เช่นกัน ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งเพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค CLL มีอายุเกิน 50 ปี และส่วนใหญ่เป็นชาย
คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโดยไม่มีอาการแสดง โดยผลการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูง แต่ เมื่อโรคพัฒนาขึ้น CLL จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลือง ไตและตับบวม และทำให้เกิดโลหิตจางและการติดเชื้อตามมา CLL ช่วงแรกจะไม่ถูกรักษา และ CLL ระยะท้ายจะถูกรักษาด้วยเคมีบำบัดและแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody)
การวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้จำแนก CLL ออกเป็นสองประเภทหลัก โดยมีการอยู่รอดแตกต่างกัน CLL ที่ให้ผลเป็นบวกสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ย 5 ปี ส่วนชนิดที่ให้ผลเป็นลบสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ยมากกว่า 25 ปี ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้เข้ารับการรักษาเลยตลอดชีวิต[2]
สัญญาณและอาการแสดง
แก้คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโรคโดยปราศจากอาการแสดงอันเป็นผลจากการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวที่สูง ที่พบได้น้อยกว่า CLL อาจสังเกตได้จากต่อมน้ำเหลืองที่ขยายใหญ่ขึ้นโดยไม่ต้องนับปริมาณเม็ดเลือดขาวหรือหลักฐานของโรคในเลือดเลย ซึ่งถูกเรียกว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก ในบางคน โรคอาจถูกตรวจพบได้หลังเซลล์เนื้องอกเข้าไปในไขกระดูกแล้ว ซึ่งทำให้เกิดโรคเลือดจาง ตามมาด้วยความเหนื่อยหรืออ่อนแอ
การรักษา
แก้การรักษา CLL มุ่งไปยังการควบคุมโรคและอาการแสดงมากกว่าจะรักษาโดยตรง CLL รักษาได้โดยการทำเคมีบำบัด รังสีบำบัด ชีวบำบัดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก อาการแสดงบางครั้งถูกรักษาโดยการผ่าตัดหรือรังสีบำบัด
การรักษา CLL ระยะแรกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำและความก้าวหน้าของโรค และขึ้นอยู่กับความพึงใจและประสบการของผู้ประกอบกิจสาธารณสุขด้วย มีเจ้าหน้าที่กว่าสิบคนถูกใช้ในการรักษา CLL[3]
ทิศทางการวิจัย
แก้กิจกรรมวิจัยศึกษาการรักษาหลายวิธีแยกกันหรือร่วมกัน กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ[3] งานวิจัยปัจจุบันกำลังเปรียบเทียบรูปแบบการปลูกถ่ายไขกระดูกหลาย ๆ แบบ เพื่อดูว่าแบบใดที่ผู้ป่วยเข้ารับมากที่สุดและแบบใดดีที่สุดในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน[4]
นักวิจัยที่สถาบันมะเร็งอแบรมสัน (Abramson Cancer Center) แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รายงานความสำเร็จขั้นต้นในการใช้ยีนบำบัด โดยการดัดแปลงทีเซลล์ด้วยกลไกทางพันธุกรรม ในการรักษา CLL[5] การค้นพบดังกล่าว ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554[6][7] อาศัยข้อมูลจากผู้ป่วยสามคนผู้ฉีดเซลล์ทีดัดแปลงเข้าไปในเลือด เซลล์ทีได้ถูกดัดแปลงเพื่อให้ยีนที่ให้เซลล์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในร่างกายและทำลายเซลล์บี รวมทั้งเซลล์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยสองคนเข้าสู่ระยะทุเลา (remission) ขณะที่การมีอยู่ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวคนที่สามลดลงถึงร้อยละ 70[8][9] ผู้ป่วยคนหนึ่งที่ถูกวินิจฉัยเป็น CLL มากว่า 13 ปี และการรักษาเขาล้มเหลวก่อนที่จะเข้าร่วมในการวิจัยคลินิกได้ หนึ่งสัปดาห์หลังฉีดเซลล์ทีเข้าไป เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเลือดของเขาก็หายไป[10] เซลล์ทียังคงถูกพบในกระแสเลือดของผู้ป่วยหกเดือนหลังกระบวนการนั้น หมายความว่าพวกมันจะยังสู้กับโรคได้หากมะเร็งเม็ดเลือดขาวกลับมาอีก[8] นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ "ใช้ยีนบำบัดทำลายเนื้องอกมะเร็งได้สำเร็จในผู้ป่วยที่เป็นโรคมาก"[11] บทบรรณาธิการหนึ่งในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ยังได้กระตุ้นเตือน เพราะมีเพียงการวิจัยเพิ่มเติมที่จะชี้ชัดว่าการค้นพบดังแล้ว "เป็นความก้าวหน้าสู่การบำบัดที่ใช้ได้ในเชิงคลินิกและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง"[12][13]
อ้างอิง
แก้- ↑ Harris NL; Jaffe ES; Diebold J; และคณะ (1999). "World Health Organization classification of neoplastic diseases of the hematopoietic and lymphoid tissues: report of the Clinical Advisory Committee meeting-Airlie House, Virginia, November 1997". J. Clin. Oncol. 17 (12): 3835–49. PMID 10577857.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Chiorazzi N, Rai KR, Ferrarini M (2005). "Chronic lymphocytic leukemia". N. Engl. J. Med. 352 (8): 804–15. doi:10.1056/NEJMra041720. PMID 15728813.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 National Cancer Institute. "Chronic Lymphocytic Leukemia (PDQ) Treatment: Stage I, II, III, and IV Chronic Lymphocytic Leukemia". สืบค้นเมื่อ 2007-09-04.
- ↑ Gribben JG (January 2008). "Stem cell transplantation in chronic lymphocytic leukemia". Biol. Blood Marrow Transplant. 15 (1 Suppl): 53–8. doi:10.1016/j.bbmt.2008.10.022. PMC 2668540. PMID 19147079.
- ↑ Auer, Holly (August 10, 2011). "Genetically Modified "Serial Killer" T Cells Obliterate Tumors in Patients with Chronic Lymphocytic Leukemia, Penn Researchers Report". University of Pennsylvania School of Medicine. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ Porter DL; และคณะ (2011). "Chimeric Antigen Receptor–Modified T Cells in Chronic Lymphoid Leukemia". N. Engl. J. Med.: 110810110014063. doi:10.1056/NEJMoa1103849.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Kalos M; และคณะ (2011). "T Cells with Chimeric Antigen Receptors Have Potent Antitumor Effects and Can Establish Memory in Patients with Advanced Leukemia". Sci. Transl. Med. 3 (95): 95ra73. doi:10.1126/scitranslmed.3002842.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ 8.0 8.1 Palca, Joe (August 11, 2011). "Gene Therapy Advance Trains Immune System To Fight Leukemia". NPR. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ Bazell, Robert (August 10, 2011). "New leukemia treatment exceeds 'wildest expectations'". MSNBC. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ DeNoon, Daniel J. (August 10, 2011). "Gene Therapy Cures Adult Leukemia". WebMD. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ Beasly, Deena (August 10, 2011). "Gene therapy shown to destroy leukemia tumors". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ "Treatment for Leukemia Is Showing Early Promise". The New York Times. Associated Press. August 11, 2011. p. A15. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
- ↑ Urba WJ; และคณะ (2011). "Redirecting T Cells". N. Engl. J. Med.: 110810110014063. doi:10.1056/NEJMe1106965.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help)