คลอโรควิน

สารประกอบทางเคมี
(เปลี่ยนทางจาก Chloroquine)

คลอโรควิน (อังกฤษ: Chloroquine) เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรียในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากโรค[1] ไข้มาลาเรียบางชนิด, สายพันธุ์ดื้อยา และกรณีป่วยที่ซับซ้อนมักจะใช้ยาอื่นหรือต้องใช้ยาอื่นเพิ่มเติม[1] บางครั้งคลอโรควินจะใช้สำหรับโรคบิดติดเชื้ออะมีบา (Amebiasis) ที่เกิดขึ้นนอกลำไส้, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคลูปัส (Lupus erythematosus)[1] มีการศึกษาการยาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัย[1][2] คลอโรควินเป็นยารับประทาน[1] ยายังถูกใช้ในการทดลองเพื่อรักษาโรค COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563[3]

คลอโรควิน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ˈklɔːrəkwɪn/
ชื่อทางการค้าAralen, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comChloroquine Phosphate
ข้อมูลทะเบียนยา
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1–2 เดือน
ตัวบ่งชี้
  • (RS)-N'-(7-chloroquinolin-4-yl)-N,N-diethyl-pentane-1,4-diamine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
NIAID ChemDB
ECHA InfoCard100.000.175
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC18H26ClN3
มวลต่อโมล319.872 กรัม/โมล g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Clc1cc2nccc(c2cc1)NC(C)CCCN(CC)CC
  • InChI=1S/C18H26ClN3/c1-4-22(5-2)12-6-7-14(3)21-17-10-11-20-18-13-15(19)8-9-16(17)18/h8-11,13-14H,4-7,12H2,1-3H3,(H,20,21) checkY
  • Key:WHTVZRBIWZFKQO-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ, เบื่ออาหาร, ท้องร่วง และผื่นที่ผิวหนัง[1] ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงรวมถึง ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น, ความเสียหายของกล้ามเนื้อ, การชัก และระดับเซลล์เม็ดเลือดต่ำ[1][4] คลอโรควิน เป็นสมาชิกของกลุ่มยา 4-อะมิโนควิโนลิน (4-aminoquinoline)[1] โดยทำงานต่อต้านรูปแบบที่ไม่อาศัยเพศของปรสิตมาลาเรียในเซลล์เม็ดเลือดแดง[1] อย่างไรก็ตามกลไกของยาสำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคลูปัสยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน[1]

คลอโรควิน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2476-2477) โดยฮานส์ อันเดอร์ซัก (Hans Andersag)[5][6] ถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ที่จำเป็นในระบบสุขภาพ[7] สามารถใช้เป็นยาสามัญได้ในสหรัฐอเมริกา[1] ราคาขายส่งในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ประมาณ $0.04 ดอลลาร์สหรัฐ[8] และในสหรัฐอเมริกามีราคาประมาณ $5.30 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการรับประทานหนึ่งครั้ง[1]

การใช้ในทางการแพทย์ แก้

มาลาเรีย แก้

 
แผนภาพการกระจายของโรคมาลาเรีย:[9]
 การปรากฏเพิ่มขึ้นของมาลาเรียชนิดดื้อต่อยาคลอโรควินหรือต่อยาหลายขนาน
 การปรากฏของมาลาเรียชนิดดื้อต่อยาคลอโรควิน
 ไม่มีเชื้อ Plasmodium falciparum หรือการดื้อยาคลอโรควิน
 ไม่มีมาลาเรีย

คลอโรควิน มีการใช้มานานในการรักษาหรือป้องกันโรคมาลาเรียจากปรสิตในสกุลพลาสโมเดียมได้แก่ Plasmodium vivax, P. ovale, และ P. malariae ยกเว้นปรสิตมาลาเรีย Plasmodium falciparum เนื่องจากเชื้อเริ่มพัฒนาความต้านทานต่อยาในวงกว้าง[10][11]

คลอโรควิน มีการใช้อย่างกว้างขวางในการจัดการยาสำหรับมวลชน ซึ่งอาจมีส่วนร่วมทำให้เกิดขึ้นและเกิดการแพร่กระจายของการดื้อยา แนะนำให้ตรวจสอบว่าคลอโรควินยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาในภูมิภาคก่อนที่จะใช้[12] ในพื้นที่ที่มีการดื้อยา ยาต้านมาลาเรียชนิดอื่นเช่นเมโฟลควิน (Mefloquine) หรืออะโตวาโควน (Atovaquone) อาจถูกนำมาใช้แทน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ แนะนำให้รักษามาลาเรียด้วยคลอโรวินเพียงอย่างเดียวเนื่องจากมีประสิทธิภาพมากกว่าสูตรยาผสม[13]

โรคบิดติดเชื้ออะมีบา แก้

ในการรักษาฝีในตับจากการติดเชื้ออะมีบา อาจใช้คลอโรควินทดแทนหรือเพิ่มเติมจากยาอื่น ๆ ในกรณีที่คนไข้อาการไม่ดีขึ้นด้วยยาเมโทรไนดาโซล (Metronidazole) หรือไนโตรอิมิดาโซล (Nitroimidazole) อื่น ๆ ภายใน 5 วัน หรือแพ้ยาเมโทรไนดาโซล หรือไนโตรอิมิดาโซล[14]

โรครูมาติก แก้

เนื่องจากคลอโรควินมีฤทธิ์ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันอย่างอ่อน จึงถูกนำมาใช้ในโรคภูมิต้านทานผิดปกติบางอย่างเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) และโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส (Lupus erythematosus)[1]

ผลข้างเคียง แก้

ยามีผลข้างเคียงต่อ กล้ามเนื้อร่วมประสาท, การได้ยิน, สุขภาพจิต, ระบบทางเดินอาหาร, สมอง, ผิวหนัง, ตา, ช้ำ/ เลือดออกง่าย, หลอดเลือดหัวใจ (หายาก) และปฏิกิริยาในเลือด[15][16][17]

  • ชัก[15]
  • หูหนวกหรือหูอื้อ[16]
  • คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, ปวดท้องและเบื่ออาหาร[16]
  • ปวดศีรษะชั่วคราวและไม่รุนแรง[16]
  • การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ/ อารมณ์ (เช่น ความสับสน, การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ, ความคิด/ พฤติกรรมที่ผิดปกติ, ภาวะซึมเศร้า, ความรู้สึกว่าถูกเฝ้าดู, ประสาทหลอน)[16][17]
  • อาการคันผิวหนัง, ริมฝีปาก/ เล็บ/ ผิวหนังซีด, ผมร่วง และผื่นที่ผิวหนัง[17][18]
    • อาการคันที่เกิดจากคลอโรควินเป็นเรื่องธรรมดามากในหมู่ชาวแอฟริกันผิวสี (70%) แต่พบได้น้อยกว่าในเผ่าพันธุ์อื่น โดยจะเพิ่มขึ้นตามอายุและรุนแรงจนถึงขั้นหยุดการรักษาด้วยยา อาการโดยรวมจะแย่ลงในช่วงมีไข้จากมาลาเรีย โดยความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์กับปริมาณปรสิตมาลาเรียในเลือด หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่ามีพื้นฐานจากทางพันธุกรรม และเกี่ยวข้องกับการกระทำของคลอโรควินกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (Opioid receptor) จากระบบประสาทส่วนกลางหรือส่วนปลาย[19]
  • รสชาติโลหะที่ไม่พึงประสงค์
    • อาการนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยสูตรยาซึ่ง "กลบการรับรสและควบคุมการปลดปล่อยยา" เช่นการใช้อิมัลชันหลายตัว[20]
  • โรคจอตาเหตุจากคลอโรควิน
    • อาจผันกลับไม่ได้[15] สิ่งนี้เกิดขึ้นกับการใช้ยาในระยะยาวเป็นเวลาหลายปีหรือในปริมาณสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยคลอโรควินระยะยาวควรได้รับการตรวจคัดกรองในระยะเริ่มต้นและในทุก ๆ ห้าปีหลังจากการใช้ยา[21] ผู้ป่วยควรได้รับการคัดกรองสำหรับการมองเห็นที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเห็นภาพเบลอ, การโฟกัสยาก หรือมองเห็นวัตถุเพียงครึ่งหนึ่ง[15]
  • ความดันโลหิตต่ำและการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ[15][22]
    • เป็นที่ประจักษ์ว่าคลอโรควินทั้งก่อให้เกิดการรบกวนการนำไฟฟ้าหัวใจ (การปิดกั้นทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าหัวใจ (Bundle-branch block), การปิดกั้นหัวใจห้องบนและล่าง (Atrioventricular block)) หรือก่อให้เกิดพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy) - มักจะเกิดพร้อมกับภาวะหัวใจโต, กล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว และภาวะหัวใจล้มเหลว การเปลี่ยนแปลงอาจไม่สามารถย้อนกลับได้ มีรายงานผู้ป่วยเพียงสองรายเท่านั้นที่ต้องทำการปลูกถ่ายหัวใจ ซึ่งพิจารณาว่ามีความเสี่ยงต่ำมากสำหรับกรณีนี้ การตรวจชิ้นเนื้อหัวใจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นอาการบ่งโรคในอินคลูชั่นบอดี ในไซโทพลาซึมของเซลล์
  • ภาวะขาดเม็ดเลือดทุกชนิด (Pancytopenia), โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia), ภาวะเม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ต่ำเฉียบพลัน แบบชั่วคราว (Reversible agranulocytosis), เกล็ดเลือดต่ำ, ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ (Neutropenia)[23]

ในหญิงมีครรภ์ แก้

คลอโรควิน ไม่แสดงว่ามีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เมื่อใช้ในการป้องกันโรคมาลาเรีย[24] คลอโรควินจำนวนเล็กน้อยถูกขับออกมาในน้ำนมแม่ในการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามเนื่องจากยานี้สามารถจ่ายให้กับทารกได้อย่างปลอดภัย ผลกระทบจึงไม่เป็นอันตราย การศึกษากับหนูทดลองแสดงให้เห็นว่าคลอโรควินที่มีการติดเครื่องหมายด้วยกัมมันตภาพรังสี ผ่านไปยังรกอย่างรวดเร็วและสะสมในดวงตาของทารกในครรภ์ ซึ่งยังคงมีอยู่ห้าเดือนหลังจากที่ยาถูกกำจัดออกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย[23][25] ยังคงมีคำแนะนำให้ป้องกันหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ไม่ให้เดินทางไปยังภูมิภาคที่มีความเสี่ยงกับโรคมาลาเรีย[24]

ในผู้สูงอายุ แก้

ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาว่าคลอโรควินนั้น ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือไม่ อย่างไรก็ตามยาจะถูกกำจัดออกทางไต และควรมีการตรวจสอบความเป็นพิษอย่างรอบคอบในผู้ที่มีการทำงานของไตไม่ดี[23]

ปฏิกิริยาระหว่างยา แก้

  • ระดับของแอมพิซิลลิน - อาจลดลงได้ด้วยคลอโรควิน
  • ยาลดกรด - อาจลดการดูดซึมของคลอโรควิน
  • ไซเมทิดีน - อาจยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของคลอโรควิน ซึ่งจะเพิ่มระดับคลอโรควินในร่างกาย
  • ระดับของไซโคลสปอริน (Cyclosporine) - อาจเพิ่มขึ้นจากคลอโรควิน
  • คาโอลิน (ดินขาว) - อาจลดการดูดซึมของคลอโรควิน
  • เมโฟลควิน (Mefloquine) - อาจเพิ่มความเสี่ยงของการชัก[23]

การได้รับยาเกินขนาด แก้

การใช้ยาคลอโรควินเกินขนาดเป็นอันตรายมาก ยาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากลำไส้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2504 พบว่าเด็กสามคนที่ใช้ยาเกินขนาดเสียชีวิตภายใน 2 1/2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา ในขณะที่ปริมาณของการใช้ยาเกินขนาดไม่ได้รับการอ้างถึง สำหรับคลอโรควินเป็นที่ทราบกันว่ามีดัชนีการรักษา (Therapeutic index) แคบ[26] อาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่ ปวดศีรษะ, ง่วงนอน, รบกวนการมองเห็น, คลื่นไส้และอาเจียน, ภาวะไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว (Cardiovascular collapse), ชัก, และระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน[23]

อะนาล็อก (ความเปรียบเหมือน) ของคลอโรควิน และ ไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) คือ มีค่าครึ่งชีวิตในเลือดยาว (32-56 วัน) และสามารถมีการกระจายปริมาณที่มาก (580–815 ล./กก.)[27] ช่วงการรักษา, ความเป็นพิษ และความเป็นอันตราย มักจะพิจารณาเป็น 0.03 ถึง 15 มก./ล., 3.0 ถึง 26 มก./ล. และ 20 ถึง 104 มก./ล. ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมีรายงานกรณีของผู้ป่วยที่ไม่เป็นพิษโดยมีขนาดมากถึง 39 มก./ล. การแนะนำช่วงที่สามารถทนได้ต่อสารนี้ในแต่ละกรณี อาจมีความแตกต่างมากกว่าที่ได้รับการยอมรับกันมาก่อน[27]

วิทยาเภสัช แก้

  • การดูดซึม: รวดเร็วและเกือบสมบูรณ์
  • การกระจาย: กระจายอย่างกว้างขวางในเนื้อเยื่อของร่างกาย
  • การจับโปรตีน: 55%
  • เมแทบอลิซึม: บางส่วนที่ตับในรูปสารเมแทบอไลต์หลัก ดีเซทิลคลอโรควิน (Desethylchloroquine)
  • การขับถ่าย: ทางปัสสาวะ (⩾50% เป็นยาที่ไม่เปลี่ยนแปลง); ความเป็นกรดของปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการกำจัดยา

คลอโรควิน มีการกระจายในระดับที่สูงมากเนื่องจากมันแพร่กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อไขมันของร่างกาย คลอโรควิน และสารที่เกี่ยวข้องกับควินิน มีความสัมพันธ์กับกรณีของความเป็นพิษของจอประสาทตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อให้ในปริมาณที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน การสะสมของยาในปริมาณหนึ่งอาจส่งผลนำไปสู่การมองเห็นภาพซ้อนและจนถึงตาบอด ด้วยขนาดยาที่ต้องได้รับในระยะยาวมีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์เป็นประจำ

คลอโรควิน ยังเป็นสารตัวกระทำไลโซโซโมโทรปิก (Lysosomotropic agent) ซึ่งหมายความว่ามันจะสะสมอยู่ในไลโซโซมของเซลล์ในร่างกาย ค่า pKa สำหรับไนโตรเจนในสารควิโนลีน (Quinoline) ของคลอโรควินคือ 8.5 ซึ่งหมายความว่ามีการดึงโปรตอนออกประมาณ 10% ที่ค่า pH ของร่างกาย ซึ่งคำนวณโดยสมการเฮนเดอร์สัน-แฮสเซลบาลช์ สิ่งนี้จะลดลงประมาณ 0.2% ที่ค่าไลโซโซมัลพีเอช (Lysosomal pH) 4.6 เนื่องจากรูปแบบที่มีการดึงโปรตอนออก สามารถซีมผ่านเมมเบรนได้มากกว่ารูปแบบที่มีโปรตอน เป็นผลใน "การดักจับ" เชิงปริมาณของสารประกอบของไลโซโซม (ผลการรักษาเชิงปริมาณของปรากฏการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับค่า pKa ของไนโตรเจนทั้งหมดในโมเลกุล อย่างไรก็ตามก็เพียงพอสำหรับแสดงหลักการของการรักษานี้)

ลักษณะไลโซโซโมโทรปิกของคลอโรควิน เชื่อว่าเป็นสาเหตุของฤทธิ์ในการต่อต้านมาลาเรีย; ยามุ่งเน้นไปที่ แวคิวโอลอาหารที่เป็นกรดของปรสิตและรบกวนกระบวนการที่สำคัญ คุณสมบัติของไลโซโซโมโทรปิกดังกล่าว ยังเป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้ทดลองในหลอดทดลองเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับไขมันภายในเซลล์[28][29], กลไกการกินตัวเองของเซลล์ (Autophagy) และอะพอพโทซิส[30]

กลไกการออกฤทธิ์ แก้

 
อนุพันธ์ของควิโนลีน ที่ใช้ทางการแพทย์

มาลาเรีย แก้

ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ปรสิตมาลาเรียซึ่งอยู่ในช่วงวงจรชีวิตแบบไม่มีเพศ จะต้องทำให้เฮโมโกลบินเสื่อมสภาพเพื่อให้ได้กรดอะมิโนที่จำเป็น ซึ่งปรสิตต้องการในการนำไปสร้างโปรตีนของตัวเองและสำหรับการเผาผลาญพลังงาน การย่อยจะดำเนินการในแวคิวโอลของเซลล์ปรสิต

เฮโมโกลบินประกอบด้วยหน่วยโปรตีน (ซึ่งถูกย่อยโดยปรสิต) และหน่วยฮีม (Heme; ซึ่งไม่ได้ใช้โดยปรสิต) ในระหว่างกระบวนการนี้ปรสิตจะปลดปล่อยโมเลกุลฮีมที่เป็นพิษและละลายน้ำได้ หรือกึ่งหนึ่งของฮีม (Heme moiety) ประกอบด้วยวงแหวนพอร์ไพริน เรียกว่าไอเอิร์น(ทู) -โพรโตพอร์ไพริน นายน์ (Fe (II) -protoporphyrin IX (FP)) เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยโมเลกุลนี้ปรสิตสังเคราะห์ผลึกชีวภาพของฮีม (Biocrystallizes heme) เพื่อสร้างฮีโมโซอิน (Hemozoin) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ไม่มีพิษ ฮีโมโซอินถูกเก็บสะสมในแวคิวโอลย่อยอาหารของปรสิตในรูปผลึกที่ไม่ละลายน้ำ

 
รูปแบบฮีโมโซอิน (Hemozoin) ของ P. falciparum : ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดเป็นตัวยับยั้งอย่างแรงของการเติบโตของผลึกฮีโมโซอิน

คลอโรควินเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงโดยการแพร่กระจายอย่างง่าย ยับยั้งเซลล์ปรสิตและแวคิวโอลย่อยอาหาร คลอโรควินก็จะส่งถ่ายโปรตอน (ไปยัง CQ2+) เนื่องจากแวคิวโอลย่อยอาหารนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีสภาวะเป็นกรด (pH 4.7); คลอโรควินไม่สามารถผ่านไปโดยการแพร่กระจาย คลอโรควินปกคลุมโมเลกุลฮีโมโซอินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกผลึกทางชีวภาพเพิ่มเติมของฮีม จึงนำไปสู่การสะสมของฮีม คลอโรควินเชื่อมต่อกับฮีม (หรือ FP) เพื่อสร้างเอฟพี-คลอโรควิน คอมเพล็กซ์ (FP-chloroquine complex); คอมเพล็กซ์นี้มีพิษสูงต่อเซลล์และรบกวนการทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ การกระทำของพิษ FP-chloroquine และ FP ส่งผลให้เซลล์สลายและท้ายที่สุดปรสิตเซลล์กลืนกินตัวเอง (Autodigestion) โดยสาระสำคัญแล้วเซลล์ปรสิตจะจมอยู่ในผลผลิตเมตาบอลิซึมของตัวเอง[31] ทำให้ปรสิตที่ไม่ก่อให้เกิดฮีโมโซอินจึงมีความต้านทานต่อคลอโรควิน[32]

การดื้อยาในโรคมาลาเรีย แก้

ตั้งแต่รายงานฉบับแรกของการดื้อยาคลอโรควินของเชื้อ P. falciparum ในคริสต์ทศวรรษ 1950 สายพันธุ์ดื้อยาได้ปรากฏขึ้นทั่วแอฟริกาตะวันออก และตะวันตก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ ประสิทธิภาพของคลอโรควินกับเชื้อ P. falciparum ได้ลดลงเมื่อสายพันธุ์ของปรสิตที่ดื้อต่อยาพัฒนาขึ้น โดยได้ต่อต้านยาอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกลไกที่ระบายคลอโรควินออกจาก แวคิวโอลย่อยอาหาร เซลล์ที่ทนต่อคลอโรควินสามารถขจัดยาออกในอัตรา 40 เท่าของเซลล์ที่ไวต่อคลอโรควิน การกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องนั้นตรวจสอบย้อนกลับไปที่โปรตีนทั่วเซลล์เมมเบรนของแวคิวโอลย่อยอาหาร รวมถึงชุดการกลายพันธุ์ที่สำคัญในยีน P. falciparum chloroquine resistance transporter (PfCRT) ที่เป็นโปรตีนกลายพันธุ์ แต่ไม่ใช่ชนิดที่เหนือกว่าของประเภทยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง การขนส่งคลอโรควินแสดงออกในเซลล์ไข่ของกบเล็บแอฟริกา (Xenopus oocytes) และได้รับการประมาณว่าคลอโรควิน รั่วไหลออกจากด้านที่กระทำการของแวคิวโอลย่อยอาหารของเซลล์ไข่[33] ปรสิตที่ดื้อยามักจะมีการกลายพันธุ์ของยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง ABC transporter P. falciparum multidrug (PfMDR1) แม้ว่าการกลายพันธุ์เหล่านี้มีจะความสำคัญรองเมื่อเทียบกับยีน PfCRT สำหรับเวราพามิล (Verapamil) ซึ่งเป็น Ca2+ channel blocker ได้รับการค้นพบว่ามีความสามารถคืนค่าในการรักษาความเข้มข้นของคลอโรควินและความไวต่อยานี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการพบว่าการผันแปรในโปรตีนของยีนควบคุมโปรตีนขนส่งคลอโรควินของปรสิต (chloroquine-transporter CG2) นั้นเกี่ยวข้องกับการดื้อยาคลอโรควิน แต่กลไกการดื้อยาอื่น ๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน[34] การวิจัยเกี่ยวกับกลไกของคลอโรควินและวิธีที่ปรสิตที่ได้รับคลอโรควินดื้อต่อยา ยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากกลไกการดื้อยาอื่น ๆ นั้นมีความเป็นไปได้

สารอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงต่อต้านการดื้อยาคลอโรควินในมาลาเรียคือ คลอเฟนะมีน (Chlorpheniramine), เกฟิตินิบ (Gefitinib), ไอแมตินิบ (Imatinib), ทาริควิดาร์ (Tariquidar) และ โซซูควิดาร์ (Zosuquidar)[35]

การต้านไวรัส แก้

คลอโรควิน มีฤทธิ์ต้านไวรัส[36] โดยเพิ่มค่า pH ในเส้นทางขนส่ง Late endosomes to lysosomes ทำให้กลไกการปล่อยไวรัสจากเอนโดโซม หรือไลโซโซม ผิดปกติ - การปล่อยของไวรัสต้องมีค่า pH ต่ำ ดังนั้นไวรัสจึงไม่สามารถปล่อยสารพันธุกรรมลงในเซลล์และทำกระบวนการทำซ้ำได้[37][38]

ดูเหมือนว่าคลอโรควิน จะทำหน้าที่เป็นตัวชักพาอิออนสังกะสี (Zinc ionophore) ซึ่งจะช่วยให้ธาตุสังกะสีภายนอกเซลล์ เข้าสู่เซลล์และยับยั้งเอนไซม์ RNA-dependent RNA polymerase ของไวรัส[39][40] กลไกการออกฤทธิ์นี้ได้รับการรายงานบางส่วนในสิทธิบัตรที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับการใช้การรักษาแบบผสมผสานของยาปฏิชีวนะไตรเมโทพริม (Trimethoprim) และสังกะสีในอัตราส่วนที่กำหนด ซึ่งมีรายงานว่ามีการต่อต้านการติดเชื้อของอาร์เอ็นเอไวรัสทางเดินหายใจ[41]

อื่น ๆ แก้

คลอโรควิน ยับยั้งการดูดซึมวิตามินบี 1 (ไทอามีน)[42] ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะบนยีนควบคุมโปรตีนขนส่ง SLC19A3

ต่อต้านโรคไขข้อรูมาตอยด์ ทำงานโดยการยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์, เอนไซม์ phospholipase A2, การส่งสัญญาณจากแอนติเจนในเซลล์เดนดริติก, การปลดปล่อยเอนไซม์จากไลโซโซม, การปลดปล่อยอนุมูลออกซิเจนอิสระ (reactive oxygen species) จากเซลล์มาโครฟาจ และผลผลิตของไซโตไคน์ชนิด Interleukin-1 (IL-1)

ประวัติการค้นพบ แก้

ในประเทศเปรู ชาวพื้นเมืองได้สกัดเปลือกของต้นซิงโคนา (Cinchona officinalis)[43] และใช้สารสกัด เพื่อต่อสู้กับอาการหนาวสั่นและเป็นไข้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด ต่อมาในปี ค.ศ.1633 (พ.ศ. 2175-2176) ยาสมุนไพรนี้ได้รับการแนะนำในยุโรป ซึ่งมีการใช้ในสรรพคุณเดียวกันอย่างแพร่หลายและเริ่มนำมาใช้ในการต่อต้านมาลาเรีย[44] สารควิโนลีน ในยาต้านมาลาเรียควินิน ถูกแยกออกจากสารสกัดในปี ค.ศ.1820 (พ.ศ. 2362-2363) และคลอโรควินเป็นอะนาล็อกของควิโนลีน

คลอโรควิน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2476-2477) โดยฮานส์ อันเดอร์ซัก (Hans Andersag) และเพื่อนร่วมงานในห้องทดลองของไบเออร์ในบริษัทอุตสาหกรรมอิกิ ฟาร์บึน (I.G. Farbenindustrie) ในเมืองเอเบอร์เฟล์ด (Elberfeld) ซึ่งตั้งชื่อว่า "Resochin"[45] ซึ่งถูกเพิกเฉยเป็นเวลากว่าสิบปีเพราะได้รับพิจารณาว่าเป็นพิษต่อมนุษย์มากเกินไป แทนที่จะใช้คลอโรควิน อะนาล็อกของคลอโรควินคือ 3-methyl-chloroquine (Sontochin) ถูกใช้โดยกองทัพน้อยแอฟริกาของเยอรมัน (DAK) หลังจากกองกำลังพันธมิตรมาถึงเมืองตูนิส Sontochin ได้ถูกครอบครองโดยกองทัพสหรัฐ และได้ส่งกลับไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อทำการวิเคราะห์ นำไปสู่การค้นพบคลอโรควินอีกครั้ง [43] [44] การทดลองทางคลินิกที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน สำหรับการพัฒนายาต้านมาลาเรียแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คลอโรควินมีคุณค่าการรักษาที่สำคัญในฐานะยาต้านมาลาเรีย โดยได้ถูกนำเข้าสู่การปฏิบัติทางคลินิกในปี พ.ศ. 2490 สำหรับการรักษาโรคมาลาเรีย[46]

การผลิตและการค้า แก้

 
แผงยาเม็ดเรโซชิน (Resochin®)

สูตรยา แก้

คลอโรควิน ผลิตเป็นยาเม็ดในรูปแบบเกลือฟอสเฟต, เกลือซัลเฟต และเกลือไฮโดรคลอไรด์ โดยคลอโรควินมักจะถูกจ่ายในรูปแบบเกลือฟอสเฟต[47]

ชื่อทางการค้า แก้

ชื่อทางการค้ารวมถึง Chloroquine FNA, Resochin, Dawaquin และ Lariago[48]

การใช้ในสัตว์ แก้

คลอโรควิน ในรูปแบบทางเคมีต่าง ๆ ใช้ในการรักษาและควบคุมการเจริญเติบโตของดอกไม้ทะเลและสาหร่าย และการติดเชื้อโปรโตซัวจำนวนมากในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[49] เช่น การติดเชื้อปรสิต Amyloodinium ocellatum ในปลา[50]

การวิจัย แก้

โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) แก้

ในช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ในช่วงการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563 นักวิจัยทางการแพทย์ชาวจีนระบุว่า การวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับยาคลอโรควินดูเหมือนว่าจะมี "ผลการยับยั้งที่ค่อนข้างดี" ในโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2[51] และได้ส่งคำขอให้เริ่มใช้การทดสอบทางคลินิก[52] อย่างไรก็ตามควรเกิดขึ้นในการตั้งค่าการทดลองที่ได้รับอนุมัติ หรือภายใต้รายละเอียดที่ระบุไว้โดยแผนปฏิบัติ "การใช้การแทรกแซงการตรวจสอบที่ไม่ลงทะเบียนในงานฉุกเฉินที่มีการติดตาม Monitored Emergency Use of Unregistered and Investigational Interventions (MEURI)" ขององค์การอนามัยโลก[53]

คลอโรควิน ได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของจีน, เกาหลีใต้ และอิตาลี สำหรับการทดลองรักษาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019[54][55] หน่วยงานเหล่านี้ระบุข้อห้ามสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน[56] ผลเบื้องต้นจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า คลอโรควินมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19), "พบการปรับปรุงที่ดีขึ้นของภาพถ่ายรังสีปอด, การเสริมสร้างการลดจำนวนไวรัส และทำให้ระยะเวลาป่วยสั้นลง"[57]

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC)[58] รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์คลอโรควินเพื่อควบคุมปรสิตของปลาในทางที่ผิด[59]

โรคไวรัสซาร์ส แก้

คลอโรควิน ได้รับการเสนอเพื่อใช้ในการรักษาโรคซาร์สด้วย ในการทดสอบในหลอดทดลองสามารถยับยั้งไวรัส SARS-CoV[60][61] ในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิจัยที่สถาบันวิจัยการแพทย์ริกา (Rega Institute for Medical Research) ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับคลอโรควิน โดยระบุว่า คลอโรควินทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งที่มีประสิทธิภาพของการจำลองตัวของโคโรนาไวรัสกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) ในหลอดทดลอง[62]

โรคชิคุนกุนยา แก้

คลอโรควิน ได้รับการพิจารณาในปี พ.ศ. 2546 ในแบบจำลองทางคลินิกเบื้องต้นว่าเป็นตัวกระทำที่มีศักยภาพ ในการต่อต้านการติดเชื้อไวรัสโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)[63]

อื่น ๆ แก้

คุณสมบัติการเพิ่มความไวของเซลล์เนื้องอกต่อรังสี (radiosensitizing) และต่อเคมีบำบัด (chemosensitizing) ของคลอโรควิน เริ่มถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกลยุทธ์ต่อต้านมะเร็งในมนุษย์[64][65] ในวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คลอโรควินใช้สำหรับการทดลองในหลอดทดลอง เพื่อยับยั้งการย่อยสลายโดยไลโซโซม (Lysosomal degradation) ของผลิตภัณฑ์โปรตีน

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 "Aralen Phosphate". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
  2. "Chloroquine Use During Pregnancy". Drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2019. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019. There are no controlled data in human pregnancies.
  3. Cortegiani A, Ingoglia G, Ippolito M, Giarratano A, Einav S (March 2020). "A systematic review on the efficacy and safety of chloroquine for the treatment of COVID-19". Journal of Critical Care. doi:10.1016/j.jcrc.2020.03.005.
  4. Mittra, Robert A.; Mieler, William F. (2013). "Chapter 89 – Drug Toxicity of the Posterior Segment". Retina (Fifth Edition). W.B. Saunders. pp. 1532–1554. ISBN 978-1-4557-0737-9. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
  5. Manson P, Cooke G, Zumla A, บ.ก. (2009). Manson's tropical diseases (22nd ed.). [Edinburgh]: Saunders. p. 1240. ISBN 978-1-4160-4470-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  6. Bhattacharjee M (2016). Chemistry of Antibiotics and Related Drugs. Springer. p. 184. ISBN 978-3-319-40746-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  7. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06.
  8. "Chloroquine (Base)". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 December 2015.
  9. "Frequently Asked Questions (FAQs): If I get malaria, will I have it for the rest of my life?". US Centers for Disease Control and Prevention. February 8, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  10. Plowe CV (2005). "Antimalarial drug resistance in Africa: strategies for monitoring and deterrence". Malaria: Drugs, Disease and Post-genomic Biology. Current Topics in Microbiology and Immunology. Vol. 295. pp. 55–79. doi:10.1007/3-540-29088-5_3. ISBN 3-540-25363-7. PMID 16265887.
  11. Uhlemann AC, Krishna S (2005). "Antimalarial multi-drug resistance in Asia: mechanisms and assessment". Malaria: Drugs, Disease and Post-genomic Biology. Current Topics in Microbiology and Immunology. Vol. 295. pp. 39–53. doi:10.1007/3-540-29088-5_2. ISBN 3-540-25363-7. PMID 16265886.
  12. "Chloroquine phosphate tablet – chloroquine phosphate tablet, coated". dailymed.nlm.nih.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-04.
  13. U.S. Department of Health and Human Services, CDC (2001). Health information for international travel 2001–2002. McLean, VA: International Medical Publishing. ISBN 1-58808-000-5.
  14. Daniel Matei Brailita, MD (15 October 2019). "Amebic Liver/Hepatic Abscesses Treatment & Management" – โดยทาง eMedicine.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "DailyMed – CHLOROQUINE- chloroquine phosphate tablet CHLOROQUINE- chloroquine phosphate tablet, coated". dailymed.nlm.nih.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-03.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 "Drugs & Medications". www.webmd.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Chloroquine Side Effects: Common, Severe, Long Term". Drugs.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  18. "Chloroquine: MedlinePlus Drug Information". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  19. Ajayi AA (September 2000). "Mechanisms of chloroquine-induced pruritus". Clinical Pharmacology and Therapeutics. 68 (3): 336. PMID 11014416.
  20. Vaziri A, Warburton B (1994). "Slow release of chloroquine phosphate from multiple taste-masked W/O/W multiple emulsions". Journal of Microencapsulation. 11 (6): 641–8. doi:10.3109/02652049409051114. PMID 7884629.
  21. Michaelides M, Stover NB, Francis PJ, Weleber RG (January 2011). "Retinal toxicity associated with hydroxychloroquine and chloroquine: risk factors, screening, and progression despite cessation of therapy". Archives of Ophthalmology. 129 (1): 30–9. doi:10.1001/archophthalmol.2010.321. PMID 21220626.
  22. Tönnesmann E, Kandolf R, Lewalter T (June 2013). "Chloroquine cardiomyopathy – a review of the literature". Immunopharmacology and Immunotoxicology. 35 (3): 434–42. doi:10.3109/08923973.2013.780078. PMID 23635029.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 "Aralen Chloroquine Phosphate, USP" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-05.
  24. 24.0 24.1 "Malaria – Chapter 3 – 2016 Yellow Book". wwwnc.cdc.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  25. Ullberg S, Lindquist NG, Sjòstrand SE (September 1970). "Accumulation of chorio-retinotoxic drugs in the foetal eye". Nature. 227 (5264): 1257–8. Bibcode:1970Natur.227.1257U. doi:10.1038/2271257a0. PMID 5452818.
  26. Cann HM, Verhulst HL (January 1961). "Fatal acute chloroquine poisoning in children". Pediatrics. 27: 95–102. PMID 13690445.
  27. 27.0 27.1 Molina DK (March 2012). "Postmortem hydroxychloroquine concentrations in nontoxic cases". The American Journal of Forensic Medicine and Pathology. 33 (1): 41–2. doi:10.1097/PAF.0b013e3182186f99. PMID 21464694.
  28. Chen PM, Gombart ZJ, Chen JW (March 2011). "Chloroquine treatment of ARPE-19 cells leads to lysosome dilation and intracellular lipid accumulation: possible implications of lysosomal dysfunction in macular degeneration". Cell & Bioscience. 1 (1): 10. doi:10.1186/2045-3701-1-10. PMC 3125200. PMID 21711726.
  29. Kurup P, Zhang Y, Xu J, Venkitaramani DV, Haroutunian V, Greengard P, และคณะ (April 2010). "Abeta-mediated NMDA receptor endocytosis in Alzheimer's disease involves ubiquitination of the tyrosine phosphatase STEP61". The Journal of Neuroscience. 30 (17): 5948–57. doi:10.1523/JNEUROSCI.0157-10.2010. PMC 2868326. PMID 20427654.
  30. Kim EL, Wüstenberg R, Rübsam A, Schmitz-Salue C, Warnecke G, Bücker EM, และคณะ (April 2010). "Chloroquine activates the p53 pathway and induces apoptosis in human glioma cells". Neuro-Oncology. 12 (4): 389–400. doi:10.1093/neuonc/nop046. PMC 2940600. PMID 20308316.
  31. Hempelmann E (March 2007). "Hemozoin biocrystallization in Plasmodium falciparum and the antimalarial activity of crystallization inhibitors". Parasitology Research. 100 (4): 671–676. doi:10.1007/s00436-006-0313-x. PMID 17111179.
  32. Lin JW, Spaccapelo R, Schwarzer E, Sajid M, Annoura T, Deroost K, และคณะ (June 2015). "Replication of Plasmodium in reticulocytes can occur without hemozoin formation, resulting in chloroquine resistance" (PDF). The Journal of Experimental Medicine. 212 (6): 893–903. doi:10.1084/jem.20141731. PMC 4451122. PMID 25941254. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2018.
  33. Martin RE, Marchetti RV, Cowan AI, Howitt SM, Bröer S, Kirk K (September 2009). "Chloroquine transport via the malaria parasite's chloroquine resistance transporter". Science. 325 (5948): 1680–1682. Bibcode:2009Sci...325.1680M. doi:10.1126/science.1175667. PMID 19779197.
  34. KD Tripathi (2004). Essentials of medical pharmacology (fifth , reprint ed.). Jaypee Brothers Medical Publishers. pp. 739–740. ISBN 978-8180611872.
  35. Alcantara LM, Kim J, Moraes CB, Franco CH, Franzoi KD, Lee S, และคณะ (June 2013). "Chemosensitization potential of P-glycoprotein inhibitors in malaria parasites". Experimental Parasitology. 134 (2): 235–43. doi:10.1016/j.exppara.2013.03.022. PMID 23541983.
  36. Savarino A, Boelaert JR, Cassone A, Majori G, Cauda R (November 2003). "Effects of chloroquine on viral infections: an old drug against today's diseases?". The Lancet. Infectious Diseases. 3 (11): 722–7. doi:10.1016/s1473-3099(03)00806-5. PMID 14592603.
  37. Al-Bari MA (February 2017). "Targeting endosomal acidification by chloroquine analogs as a promising strategy for the treatment of emerging viral diseases". Pharmacology Research & Perspectives. 5 (1): e00293. doi:10.1002/prp2.293. PMC 5461643. PMID 28596841.
  38. Fredericksen BL, Wei BL, Yao J, Luo T, Garcia JV (November 2002). "Inhibition of endosomal/lysosomal degradation increases the infectivity of human immunodeficiency virus". Journal of Virology. 76 (22): 11440–6. doi:10.1128/JVI.76.22.11440-11446.2002. PMC 136743. PMID 12388705.
  39. Xue J, Moyer A, Peng B, Wu J, Hannafon BN, Ding WQ (1 October 2014). "Chloroquine is a zinc ionophore". PloS One. 9 (10): e109180. doi:10.1371/journal.pone.0109180. PMC 4182877. PMID 25271834.
  40. te Velthuis AJ, van den Worm SH, Sims AC, Baric RS, Snijder EJ, van Hemert MJ (November 2010). "Zn(2+) inhibits coronavirus and arterivirus RNA polymerase activity in vitro and zinc ionophores block the replication of these viruses in cell culture". PLoS Pathogens. 6 (11): e1001176. doi:10.1371/journal.ppat.1001176. PMC 2973827. PMID 21079686.
  41. El Habbal, Magdi H. (16 July 2014). "Terapia de combinación de Zn/trimetoprim" [Zinc/Trimethoprim combination therapy] (PDF) (ภาษาสเปน). European Patent Office Bulletin 29/2014.
  42. Huang Z, Srinivasan S, Zhang J, Chen K, Li Y, Li W, และคณะ (2012). "Discovering thiamine transporters as targets of chloroquine using a novel functional genomics strategy". PLOS Genetics. 8 (11): e1003083. doi:10.1371/journal.pgen.1003083. PMC 3510038. PMID 23209439.
  43. Fern, Ken (2010–2020). "Cinchona officinalis – L." Plans for a Future. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.{{cite web}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  44. V. Kouznetsov, Vladímir (2008). "Antimalarials: construction of molecular hybrids based on chloroquine" (PDF). Universitas Scientiarum: 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 February 2020. สืบค้นเมื่อ 22 February 2020 – โดยทาง scielo.
  45. Krafts K, Hempelmann E, Skórska-Stania A (July 2012). "From methylene blue to chloroquine: a brief review of the development of an antimalarial therapy". Parasitology Research. 111 (1): 1–6. doi:10.1007/s00436-012-2886-x. PMID 22411634.
  46. "The History of Malaria, an Ancient Disease". Centers for Disease Control. 29 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2010.
  47. "Chloroquine". nih.gov. National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ March 24, 2020.
  48. "Ipca Laboratories: Formulations – Branded". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  49. Hemdal, Jay. "Aquarium Fish: Chloroquine: A "New" Drug for Treating Fish Diseases". Advanced Aquarist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2013. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
  50. Francis-Floyd, Ruth; Floyd, Maxine R. "Amyloodinium ocellatum, an Important Parasite of Cultured Marine Fish" (PDF). agrilife.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  51. Wang, M.; Cao, R.; และคณะ (February 2020). "Remdesivir and chloroquine effectively inhibit the recently emerged novel coronavirus (2019-nCoV) in vitro". Cell Research. 30 (3): 1–3. doi:10.1038/s41422-020-0282-0. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
  52. "Could an old malaria drug help fight the new coronavirus?". asbmb.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-06.
  53. Cortegiani, A; Ingoglia, G; Ippolito, M; Giarratano, A; Einav, S (10 March 2020). "A systematic review on the efficacy and safety of chloroquine for the treatment of COVID-19". Journal of critical care. doi:10.1016/j.jcrc.2020.03.005.
  54. "Physicians work out treatment guidelines for coronavirus". m.koreabiomed.com. 2020-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  55. "Azioni intraprese per favorire la ricerca e l'accesso ai nuovi farmaci per il trattamento del COVID-19". aifa.gov.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
  56. "Plaquenil (hydroxychloroquine sulfate) dose, indications, adverse effects, interactions... from PDR.net". www.pdr.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-03-19.
  57. Gao J, Tian Z, Yang X (February 2020). "Breakthrough: Chloroquine phosphate has shown apparent efficacy in treatment of COVID-19 associated pneumonia in clinical studies". Bioscience Trends. 14: 72–73. doi:10.5582/bst.2020.01047. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020.
  58. "A man died after ingesting a substance he thought would protect him from coronavirus". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
  59. "Banner Health experts warn against self-medicating to prevent or treat COVID-19". Banner Health (Press release). 23 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
  60. Keyaerts E, Vijgen L, Maes P, Neyts J, Van Ranst M (October 2004). "In vitro inhibition of severe acute respiratory syndrome coronavirus by chloroquine". Biochemical and Biophysical Research Communications. 323 (1): 264–268. doi:10.1016/j.bbrc.2004.08.085. PMID 15351731.
  61. Devaux CA; Rolain JM; Colson P; Raoult D. (March 2020). "New insights on the antiviral effects of chloroquine against coronavirus: what to expect for COVID-19?". Int J Antimicrob Agents: 105938. doi:10.1016/j.ijantimicag.2020.105938.
  62. Keyaerts E, Vijgen L, Maes P, Neyts J, Van Ranst M (October 2004). "In vitro inhibition of severe acute respiratory syndrome coronavirus by chloroquine". Biochemical and Biophysical Research Communications. 323 (1): 264–8. doi:10.1016/j.bbrc.2004.08.085. PMID 15351731.
  63. Savarino A, Boelaert JR, Cassone A, Majori G, Cauda R (November 2003). "Effects of chloroquine on viral infections: an old drug against today's diseases?". The Lancet. Infectious Diseases. 3 (11): 722–727. doi:10.1016/S1473-3099(03)00806-5. PMID 14592603.
  64. Savarino A, Lucia MB, Giordano F, Cauda R (October 2006). "Risks and benefits of chloroquine use in anticancer strategies". The Lancet. Oncology. 7 (10): 792–3. doi:10.1016/S1470-2045(06)70875-0. PMID 17012039.
  65. Sotelo J, Briceño E, López-González MA (March 2006). "Adding chloroquine to conventional treatment for glioblastoma multiforme: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial". Annals of Internal Medicine. 144 (5): 337–343. doi:10.7326/0003-4819-144-5-200603070-00008. PMID 16520474.
    "Summaries for patients. Adding chloroquine to conventional chemotherapy and radiotherapy for glioblastoma multiforme". Annals of Internal Medicine. 144 (5): I31. March 2006. doi:10.7326/0003-4819-144-5-200603070-00004. PMID 16520470.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้