บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์)

(เปลี่ยนทางจาก Boomerang (TV channel))

นี่เป็นเพียงบูมเมอแรงข้อมูลศูนย์กลาง สำหรับช่องบูมเมอแรงในประเทศไทยดูที่ บูมเมอแรง ไทย (สถานีโทรทัศน์) บูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูที่ บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บูมเมอแรง
Boomerang
ประเทศสหรัฐ
พื้นที่แพร่ภาพทั่วโลก (เปลี่ยนเป็นชื่อ การ์ตูนิโต้ เฉพาะบางภูมิภาค)
เครือข่ายการ์ตูนเน็ตเวิร์ค (2535–2542)
สำนักงานใหญ่
แบบรายการ
ภาษา
  • อังกฤษ
  • สเปน
ระบบภาพ480i (SDTV)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของระบบแพร่สัญญาณเทอร์เนอร์
ช่องรอง
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ1 เมษายน พ.ศ. 2543 (24 ปี)
ชื่อเดิมบูมเมอแรงจากการ์ตูนเน็ตเวิร์ค (2543–2558)
ลิงก์
เว็บไซต์www.boomerang.com

บูมเมอแรง (Boomerang) เป็นสถานีโทรทัศน์การ์ตูนของระบบแพร่สัญญาณเทอร์เนอร์ ในเครือของ ไทม์ วอร์เนอร์ เป็นช่องการ์ตูนที่แยกออกมากจากช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ฉายการ์ตูนคลาสิกที่เคยฉายทางการ์ตูนเน็ทเวิร์คนำกลับมาฉาย อาทิเช่น ลูนี่ย์ตูน ป๊อปอาย ฟริ้นสโตน แจ็คสัน สกูปี้-ดู บูมเมอแรงได้เริ่มต้นแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสถานีเครือข่ายภูมิภาคเผยแพร่ไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ประวัติบูมเมอแรง แก้

ในอดีต ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เคยฉายการ์ตูนคลาสิกในยุค 60 - 90 เหมือนที่ช่องบูมเมอแรงฉายในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนเน็ตเวิร์กได้นำการ์ตูนแอนิเมชั่นใหม่ ๆ เข้ามาฉาย จึงได้ตัดการ์ตูนคลาสสิกเก่า ๆ ออก แต่การ์ตูนคลาสิกยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้เพิ่มช่วง บูมเมอแรง เป็นช่วงพิเศษในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 ซึ่งฉายการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ แต่เนื่องจากการ์ตูนนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ไทม์ วอร์เนอร์ จึงเปิดช่องบูมเมอแรงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยนำช่วงพิเศษบูมเมอแรงในการ์ตูนเน็ตเวิร์กออกมาทำเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนช่องใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

การ์ตูนที่ฉายในบูมเมอแรง แก้

การ์ตูนที่ฉายมางบูมเมอแรงนั้น มีมากมายหลายเรื่องจากหลายค่ายผู้ผลิต รายชื่อการ์ตูนแยกตามค่ายผู้ผลิต ดังนี้

(...และอีกหลายเรื่อง)

(...และอีกหลายเรื่อง)

เครือข่าย บูมเมอแรง แก้

นอกจากช่องแม่ข่ายในสหรัฐอเมริกาแล้ว บูมเมอแรง ยังแพร่ภาพในประเทศต่างๆทั่วโลกในรูปแบบของตัวเอง เช่น

ประเทศ ภาษา เริ่ม
  สหรัฐ อังกฤษ
สเปน
1 เมษายน 2000
  สหราชอาณาจักร
  ไอร์แลนด์
อังกฤษ 27 พฤษภาคม 2000
ลาตินอเมริกา
  ชิลี
  อาร์เจนตินา
  โบลิเวีย
  โคลอมเบีย
  คอสตาริกา
  คิวบา
  เม็กซิโก
  เอกวาดอร์
  กัวเตมาลา
  ปานามา
  เปรู
  อุรุกวัย
  เวเนซุเอลา
  ปารากวัย
  บราซิล
สเปน
โปรตุเกส
2 กรกฎาคม 2001
  ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 23 เมษายน 2003
  อิตาลี อิตาลี 31 กรกฎาคม 2003
  ออสเตรเลีย อังกฤษ มีนาคม 2004
  สเปน สเปน 1 ธันวาคม 2004
  โปแลนด์
  ฮังการี
  โรมาเนีย
  เบลเยียม
  รัสเซีย
  แอฟริกาใต้
โปแลนด์
ฮังการี
โรมาเนีย
อังกฤษ
อังกฤษ
รัสเซีย
อังกฤษ
5 มิถุนายน 2005
  ฮ่องกง
  ศรีลังกา
  อินโดนีเซีย
  ไต้หวัน
อังกฤษ 1 กันยายน 2005
  เนเธอร์แลนด์ ดัตช์ 10 ตุลาคม 2005
  เยอรมนี
  ออสเตรีย
  สวิตเซอร์แลนด์
เยอรมัน 1 มิถุนายน 2006
  สวีเดน
  นอร์เวย์
  เดนมาร์ก
สวีเดน
นอร์เวย์
เดนมาร์ก
สิงหาคม 2008
  ไทย ไทย 14 สิงหาคม 2013
  จีน
  ญี่ปุ่น
จีน
ญี่ปุ่น
มีนาคม 2014

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้