อาร์โน อัลลัน เพนเซียส

(เปลี่ยนทางจาก Arno Allan Penzias)

อาร์โน อัลลัน เพนเซียส (อังกฤษ: Arno Allan Penzias; 26 เมษายน ค.ศ. 1933 - 22 มกราคม ค.ศ. 2024) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

อาร์โน อัลลัน เพนเซียส
เกิด26 เมษายน ค.ศ. 1933(1933-04-26)
มิวนิก,  เยอรมนี
เสียชีวิต22 มกราคม ค.ศ. 2024(2024-01-22) (90 ปี)
ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย,  สหรัฐ
สัญชาติ สหรัฐ
ศิษย์เก่าCCNY
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มีชื่อเสียงจากการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1978)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานBell Labs

เพนเซียสเกิดที่เมืองมิวนิก ประเทศสาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมนี) เมื่ออายุ 6 ขวบได้อยู่ในกลุ่มเด็ก ๆ ชาวยิวที่อพยพไปยังประเทศอังกฤษในปฏิบัติการช่วยเหลือ Kindertransport หกเดือนต่อมาผู้ปกครองของเขาได้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังสหรัฐอเมริกา จากนั้นครอบครัวจึงได้ตั้งรกรากที่เมืองนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1940 เพนเซียสได้เป็นพลเมืองสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1946 เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยเมืองนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1954 จากนั้นศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้รับปริญญาโทในปี 1958 และปริญญาเอกในปี 1962

เพนเซียสเริ่มงานที่ Bell Labs ที่นิวเจอร์ซีย์ โดยทำงานเกี่ยวกับเครื่องรับคลื่นไมโครเวฟอย่างละเอียดสำหรับใช้ในการเฝ้าสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ ในปี ค.ศ. 1964 ขณะกำลังสร้างระบบเครื่องรับที่ละเอียดอ่อนที่สุด เขากับ โรเบิร์ต วูดโรว์ วิลสัน เพื่อนร่วมงาน ได้พบกับคลื่นวิทยุรบกวนที่พวกเขาไม่สามารถอธิบายได้ มันมีพลังงานต่ำเกินกว่าจะเป็นการแผ่รังสีที่มาจากทางช้างเผือก ทั้งยังมีลักษณะที่เหมือนกันในทุกทิศทาง พวกเขาจึงสันนิษฐานว่าเครื่องมือวัดของตนอาจถูกรบกวนจากแหล่งกำเนิดอื่นบนโลก ทั้งสองทำการทดลองใหม่อีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่อาจยอมรับผลที่ว่าคลื่นวิทยุรบกวนนั้นมาจากเมืองนิวยอร์ก หลังจากทดลองตัดความเป็นไปได้ของแหล่งกำเนิดคลื่นรบกวนทั้งหมดแล้ว ทั้งสองจึงได้ประกาศการค้นพบของตน ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการอธิบายโดย โรเบิร์ต ดิค[1] ว่านั่นคือรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ซึ่งเป็นเศษซากคลื่นวิทยุที่หลงเหลือมาจากบิกแบง การค้นพบนี้ช่วยยืนยันทฤษฎีบิกแบงให้แก่นักดาราศาสตร์ และช่วยแก้ปัญหาข้อสงสัยหลายประการที่เคยมีก่อนหน้านั้น

เพนเซียสกับวิลสันได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1978 ร่วมกับ Pyotr Leonidovich Kapitsa (งานของ Kapitsa ไม่เกี่ยวข้องกับงานของเพนเซียสและวิลสัน) ทั้งสองยังได้รับเหรียญรางวัล Henry Draper ในปีก่อนหน้านั้น

อ้างอิง แก้

  1. Lehrer, Jonah (21 December 2009). "The Neuroscience of Screwing up". Wired (magazine). สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้