กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

(เปลี่ยนทางจาก Ardipithecus)

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (อังกฤษ: timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ภาพแสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์

บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิทยา

อนุกรมวิธานของมนุษย์ แก้

ดูรายละเอียดอื่นที่ การจำแนกชั้นของไพรเมต-วงศ์ลิงใหญ่

การสืบทอดสายพันธุ์โดยแคลดิสติกส์ (คือโดยการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกัน) ของมนุษย์สปีชีส์ H. sapiens (คือมนุษย์ปัจจุบัน) มีดังต่อไปนี้

ชั้น ชื่อ ชื่อทั่วไป ล้านปีก่อน
เขต Eukaryota เซลล์มีนิวเคลียส 2,100
อาณาจักร Animalia สัตว์ 590
ไฟลัม Chordata สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใกล้ชิดกัน 530
ไฟลัมย่อย Vertebrata สัตว์มีกระดูกสันหลัง 505
Superclass Tetrapoda สัตว์สี่ขา 395
ไม่มีการจัด Amniota สัตว์มีถุงน้ำคร่ำคือสัตว์สี่ขาที่เป็นสัตว์บกเต็มตัว 340
ชั้น Mammalia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 220
ชั้นย่อย Theriiformes สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่คลอดลูกเป็นตัว (ไม่ใช่ไข่)
Infraclass Eutheria สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีรก (ไม่ใช่สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง) 125
Magnorder Boreoeutheria Supraprimate (สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย, กระแต, บ่าง, และวานร), ค้างคาว, วาฬ, สัตว์มีกีบโดยมาก, และสัตว์กินเนื้อโดยมาก
Superorder Euarchontoglires Supraprimate (วานร, สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย, กระแต, และบ่าง) 100
Grandorder Euarchonta วานร, บ่าง และกระแต
Mirorder Primatomorpha วานร และบ่าง 79.6
อันดับ Primates วานร 75
อันดับย่อย Haplorrhini วานรจมูกแห้ง (หรือจมูกไม่ซับซ้อน ถ้าแปลคำตรง ๆ) (เอป, ลิง, และทาร์เซียร์) 63
Infraorder Simiiformes วานร "ระดับสูง" (คำทั่วไปภาษาอังกฤษว่า Simian) (เอป, ลิงโลกเก่า, และลิงโลกใหม่) 58
Parvorder Catarrhini วานรมีจมูกคว่ำ (เอป และลิงโลกเก่า) 44
Superfamily Hominoidea เอป 28
วงศ์ Hominidae ลิงใหญ่ (มนุษย์, ชิมแปนซี, โบโนโบ, กอริลลา, และอุรังอุตัง) เรียกเป็นคำทั่วไปภาษาอังกฤษว่า hominid 17
ไม่มีการจัด มนุษย์ และลิงใหญ่แอฟริกันคือ ชิมแปนซี, โบโนโบ, และกอริลลา 14
วงศ์ย่อย Homininae มนุษย์, ชิมแปนซี, และโบโนโบ เรียกเป็นคำทั่วไปภาษาอังกฤษว่า hominine 6-10
เผ่า Hominini มนุษย์สกุล Homo และ Australopithecus เรียกเป็นคำทั่วไปภาษาอังกฤษว่า hominin 5.8
เผ่าย่อย Hominina มีแต่สกุล Homo เท่านั้น เป็นสกุลเดียวที่เรียกว่า มนุษย์ 2.5
สกุล Homo มนุษย์ 2.5
สปีชีส์ Homo sapiens มนุษย์โบราณ (Archaic Homo sapiens) และมนุษย์ปัจจุบัน 0.6
สปีชีส์ย่อย Homo sapiens sapiens มนุษย์ปัจจุบัน 0.2

กาลานุกรม แก้

ตัวย่อ Ma หมายถึง "ล้านปีก่อน" (Millions of Years Ago)

สิ่งมีชีวิตแรกสุด แก้

เวลา
(ล้านปีก่อน)
เหตุการณ์
4,000 Ma สิ่งมีชีวิตแรกสุดปรากฏขึ้น
3,900 Ma เซลล์คล้ายกับโปรคาริโอตปรากฏขึ้น การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น ออกซิเจนจำนวนมากก็ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย
2,500 Ma สิ่งมีชีวิตเริ่มสามารถใช้ออกซิเจน และโดย 2,400 ล้านปีก่อน เหตุการณ์ที่เรียกว่า มหันตภัยออกซิเจน (อังกฤษ: Oxygen catastrophe, Great Oxygenation Event) คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจนที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีก๊าซนี้อย่างแพร่หลาย ถูกทำลายโดยสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจน
2,100 Ma เซลล์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นคือพวกยูแคริโอตปรากฏ
1,200 Ma เกิดวิวัฒนาการของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทำให้กระบวนการวิวัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น[A]
900 Ma
 
Choanoflagellate

Choanoflagellate อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับบรรพบุรุษของอาณาจักรสัตว์ทั้งหมด และอาจเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของฟองน้ำ[2][B]

ส่วนสิ่งมีชีวิตสกุล Proterospongia ซึ่งก็เป็นสัตว์ชั้น Choanoflagellata นั่นแหละ เป็นตัวอย่างที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ดีที่สุดว่า บรรพบุรุษของสัตว์ทั้งหมดมีหน้าตาเป็นอย่างไร สิ่งมีชีวิตประเภทนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และปรากฏลักษณะพิเศษเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในระดับหนึ่ง

600 Ma เชื่อกันว่า สัตว์หลายเซลล์รุ่นแรกสุดเป็นสัตว์คล้ายฟองน้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ซับซ้อนน้อยที่สุด ที่มีเนื้อเยื่อที่จำแนกแตกต่างกันบ้างในระดับหนึ่ง ส่วนฟองน้ำ (ไฟลัม Porifera) เป็นสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
580 Ma สัตว์ที่เคลื่อนไหวได้ที่เก่าแก่ที่สุดอาจจะเป็นพวกไนดาเรีย เป็นสัตว์ที่เกือบทั้งหมดมีระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพราะว่าเป็นกลุ่มสัตว์ที่ซับซ้อนน้อยที่สุดที่มีระบบเหล่านี้ บรรพบุรุษของพวกไนดาเรียเป็นไปได้มากว่าเป็นสัตว์รุ่นแรกที่ใช้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยกัน นอกจากนั้นแล้ว ไนดาเรียยังเป็นสัตว์รุ่นแรกสุดที่มีกำหนดรูปร่างของกายที่แน่นอน คือมีลักษณะเป็นสมมาตรตามรัศมี (radial symmetry) และเป็นช่วงเวลานี้ด้วยที่ตาเกิดการวิวัฒนาการขึ้น
550 Ma
 
หนอนตัวแบน

หนอนตัวแบนเป็นสัตว์แรกสุดที่มีสมอง และเป็นสัตว์ซับซ้อนน้อยที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ที่มีลักษณะเป็นสมมาตรด้านข้าง (bilateral symmetry) และเป็นสัตว์ซับซ้อนน้อยที่สุดที่มีอวัยวะที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น

540 Ma สัตว์ชั้น Enteropneusta พิจารณากันว่า มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในบรรดาสัตว์คล้ายหนอน คือมีระบบไหลเวียนพร้อมกับหัวใจที่ทำหน้าที่เป็นไตด้วย มีโครงสร้างเหมือนกับเหงือกปลาที่ใช้สำหรับหายใจ เป็นโครงสร้างคล้ายกับของปลารุ่นต้น ๆ ดังนั้น บางครั้งจึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นสัตว์ระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง[ต้องการอ้างอิง]

สัตว์มีแกนสันหลัง แก้

เวลา เหตุการณ์
530 Ma
 
Pikaia

สัตว์สกุล Pikaia เป็นตัวอย่างบรรพบุรุษของสัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง[C] ส่วนบรรพบุรุษมีแกนสันหลังของ Pikaia อาจรวมสปีชีส์ Myllokunmingia fengjiaoa[5]Haikouella lanceolata[6] และ Haikouichthys ercaicunensis[7]

ส่วนสัตว์อันดับ Amphioxiformes (อังกฤษ: lancelet) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ยังคงลักษณะของสัตว์มีแกนสันหลังยุคต้น ๆ บางอย่าง จึงมีลักษณะคล้ายกับ Pikaia

 
สัตว์ชั้น Conodonta

สัตว์ชั้น Conodonta (อังกฤษ: Conodont) เป็นสัตว์มีแกนสันหลังต้น ๆ ที่เด่น (หลังจาก 495 ล้านปีก่อน) เป็นสัตว์รูปร่างคล้ายปลาไหลมีลักษณะเฉพาะคือ มีตาใหญ่ มีครีบแผ่ออกโดยรอบ (คล้ายปลากระเบน) มีกล้ามเนื้อรูปจั่ว (หรืออักษรโรมัน V) และแกนสันหลัง (notochord) สัตว์นี้บางครั้งเรียกว่า conodont บางครั้งเรียกว่า conodontophore

505 Ma
 
ปลาไม่มีขากรรไกร (Superclass "Agnatha")

สัตว์มีกระดูกสันหลังรุ่นแรกที่ปรากฏคือ ostracoderm เป็นปลาไร้ขากรรไกรที่เป็นญาติกับปลาแลมป์เพรย์ทะเลและแฮคฟิชในปัจจุบัน ส่วนปลาสกุล Haikouichthys และ Myllokunmingia ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นตัวอย่างของปลาไร้ขากรรไกรเช่นนี้ ปลาเหล่านี้ไร้ขากรรไกร มีกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อน ไม่มีครีบอกและครีบเชิงกรานเหมือนกับปลาที่มีวิวัฒนาการสูงกว่านี้ เป็นบรรพบุรุษของปลากระดูกแข็ง[D]

480 Ma
 
ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะเป็นปลาก่อนประวัติศาสตร์ เป็นปลารุ่นแรก ๆ ที่มีขากรรไกร (Infraphyrum "Gnathostomata") ที่วิวัฒนาการมาจากส่วนโค้งของเหงือก (gill arch)[9] มีหัวและอกปกปิดด้วยเกราะแบ่งเป็นส่วน ๆ เชื่อมอยู่ตามข้อ (articulated armoured plate) ส่วนตัวก็จะมีเกล็ดหรือไม่มี แต่ว่า หลักฐานซากดึกดำบรรพ์แสดงว่า ไม่มีสัตว์ที่สืบทอดสายพันธุ์หลังจากที่สุดของยุคดีโวเนียน และมีความใกล้ชิดกับปลามีกระดูกปัจจุบันน้อยกว่าปลาฉลาม[ต้องการอ้างอิง]

410 Ma
 
ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกจับในปี 2517

ปลาซีลาแคนท์ปรากฏขึ้น[E][10] สัตว์อันดับนี้ตอนแรกเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปหมดแล้วจนกระทั่งพบตัวอย่างเมื่อปี ค.ศ. 1938 ซึ่งสามารถใช้เป็นสิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำบรรพ์

สัตว์สี่ขา แก้

เวลา เหตุการณ์
390 Ma
 
ปลาดึกดำบรรพ์ที่มีครีบเป็นพู่สกุล Panderichthys

ปลาน้ำจืดมีครีบเป็นพู่ (ชั้นใหญ่ Sarcopterygii) ได้เกิดวิวัฒนาการมามีขา เป็นต้นตระกูลของสัตว์สี่ขา (ชั้นใหญ่ Tetrapoda) โดยสัตว์สี่ขาแรกมีการวิวัฒนาการในน้ำจืดที่ตื้น ๆ และที่ลุ่มน้ำขัง คือเกิดวิวัฒนาการมาจากปลาที่มีครีบเป็นพู่ มีสมองสองกลีบในกะโหลกแบน ๆ มีปากกว้าง มีจมูกและปากยื่นออกมาแบบสั้น ๆ มีตาส่งไปทางด้านบนที่แสดงถึงความเป็นปลาก้นสระ และได้เกิดการปรับตัวของครีบโดยมีเนื้อที่ฐานและมีกระดูก ส่วนปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งคงสภาพดึกดำบรรพ์มีความใกล้ชิดกับปลาที่มีครีบเป็นพู่ แต่ไม่มีการปรับตัวในที่น้ำตื้นอย่างนี้ ปลาเหล่านี้ใช้ครีบเป็นพายในที่อยู่น้ำตื้นที่สมบูรณ์ไปด้วยพืชและตะกอนอินทรีย์ (detritus) ส่วนลักษณะทั่วไปของสัตว์สี่ขาคือแขนขาหน้าที่งอไปด้านหลังที่ศอก และขาหลังที่งอไปทางข้างหน้าที่เข่า มีกำเนิดเริ่มมาจากสัตว์สี่เท้าที่อยู่ในน้ำตื้นพวกนี้[F]

ส่วนปลาสกุล Panderichthys ยาวประมาณ 90-130 ซม มาจากยุคดีโวเนียนช่วงปลาย (ประมาณ 380 ล้านปีก่อน) มีหัวใหญ่คล้ายสัตว์สี่เท้า เป็นปลาที่มีลักษณะในระหว่างปลาที่มีครีบเป็นพู่และสัตว์สี่เท้ายุคต้น ๆ

มีทางยาวที่ทำโดยเท้าของสัตว์สี่เท้าคล้ายสกุล Ichthyostega เมื่อ 390 ล้านปีก่อน ในชั้นตะกอนในที่อยู่ของสัตว์น้ำเป็นที่น้ำขึ้นลงในประเทศโปแลนด์ ซึ่งบอกเป็นนัยว่า วิวัฒนาการของสัตว์สี่เท้าความจริงเก่าแก่กว่าซากดึกดำบรรพ์ของปลา Panderichthys จนถึงปลา Ichthyostega

ส่วนปลาปอดที่ยังอยู่นั้น ดำรงลักษณะบางอย่างของสัตว์สี่เท้าในยุคต้น ๆ ตัวอย่างที่เห็น ๆ ได้ก็คือปลาปอดออสเตรเลีย

375 Ma
 
ปลาสกุล Tiktaalik

Tiktaalik เป็นสกุลปลาที่มีครีบเป็นพู่ (ชั้นใหญ่ Sarcopterygii) จากยุคดีโวเนียนปลายที่มีลักษณะของสัตว์สี่เท้าหลายอย่าง เป็นตัวเชื่อมระหว่างปลาสกุล Panderichthys และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสกุล Acanthostega

365 Ma
 
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสกุล Acanthostega
 
สัตว์สี่เท้าสกุล Ichthyostega

Acanthostega เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นสัตว์พวกแรก ๆ ที่มีแขนขาที่เห็นได้ชัด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกแรก ๆ ที่อาจจะสามารถขึ้นมาบนบก แต่ว่ามันไม่มีข้อมือ ดังนั้นจึงมีการปรับตัวที่ไม่ดีในการใช้ชีวิตบนบน เพราะว่า แขนขาไม่สามารถรับน้ำหนักของสัตว์ได้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีทั้งปอดและเหงือก ซึ่งแสดงว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างปลาที่มีครีบเป็นพู่และสัตว์บกมีกระดูกสันหลัง

ส่วน Ichthyostega เป็นสัตว์สี่เท้ายุคต้น ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์พวกแรก ๆ ที่มีกระดูกขา กระดูกแขน และกระดูกนิ้ว จึงพิจารณาว่าเป็นสัตว์ลูกผสม (hybrid) ระหว่างปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก แม้ว่าจะมีขา แต่น่าจะไม่ได้ใช้ขาสำหรับเดิน แต่ว่าอาจจะออกจากน้ำมาเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ และน่าจะใช้ขาในการแหวกว่ายไปในโคลน[G]

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (ชั้น Amphibia) เป็นสัตว์สี่เท้าพวกแรก ๆ ที่มีปอด ซึ่งอาจจะมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สี่เท้าสกุล Hynerpeton เมื่อ 360 ล้านปีก่อน

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกปัจจุบันยังคงสภาพหลายอย่างของสัตว์สี่เท้าในยุคต้น ๆ

300 Ma
 
สัตว์เลื้อยคลานสกุล Hylonomus

หลังจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานก็ถือกำเนิดขึ้น มีสกุล Hylonomus ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จัก เป็นสัตว์ยาวประมาณ 20 ซม รวมทั้งหาง และน่าจะคล้ายคลึงกับพวกสัตว์อันดับกิ้งก่าปัจจุบัน มีฟันคมเล็ก ๆ และน่าจะกินพวกกิ้งกือและแมลง เป็นบรรพบุรุษของพวกแอมนิโอตและสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (คือแอมนิโอตใน clade "Synapsida") เคอราทิน (โปรตีนมีโครงสร้างเป็นใย) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสัตว์พวกนี้ซึ่งกลายเป็นอุ้งเล็บในกิ้งก่าและนกในปัจจุบัน และกลายเป็นขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[12]

การเกิดวิวัฒนาการขึ้นของไข่เป็นลักษณะเฉพาะของพวกแอมนิโอต ซึ่งก็คือสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถผมพันธุ์บนบกแล้ววางไข่บนบกด้วย คือไม่จำเป็นที่จะกลับลงไปในน้ำเพื่อผสมพันธุ์ เป็นการปรับตัวที่ทำให้สามารถขยายพันธุ์ไปบนบกเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นสัตว์ที่มีระบบประสาทที่ก้าวหน้าเมื่อเทียบกับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีเส้นประสาทจากกะโหลกศีรษะถึง 12 คู่

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แก้

เวลา เหตุการณ์
256 Ma หลังจากการเกิดขึ้นของสัตว์เลื้อยคลานเพียงเล็กน้อย ก็เกิดการแยกสายพันธุ์ออกเป็นสองสาย

สาขาหนึ่งเป็นพวกแอมนิโอตใน clade "Diapsida" ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสัตว์เลื้อยคลานและนกปัจจุบัน อีกสาขาหนึ่งเป็นแอมนิโอตใน clade "Synapsida" ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมปัจจุบัน

ทั้งสองสาขามีช่องกะโหลกคู่คือช่องกระดูกขมับ (temporal fenestra) หลังลูกตา ซึ่งเป็นที่สำหรับกล้ามเนื้อขากรรไกร Synapsida มีช่อง ๆ หนึ่งแต่ละข้าง แต่ว่า Diapsida มีสองช่องแต่ละข้าง

สัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแรกสุดก็คือพวก pelycosaur เป็นสัตว์พวกแรกสุดที่มีช่องกระดูกขมับ แม้ว่า จะไม่ใช่สัตว์อันดับ Therapsida จริง ๆ แต่ก็เป็นบรรพบุรุษของ Therapsida ซึ่งก็เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์อันดับ Therapsida มีช่องกระดูกขมับที่ใหญ่กว่าและคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า pelycosaur มีฟันที่มีความแตกต่างกันไปตามลำดับมากกว่า และบางพวกภายหลังจะมีวัฒนาการเกิดเพดานปากที่สอง (secondary palate) ซึ่งช่วยให้สามารถกินอาหารและหายใจได้ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นนิมิตที่บ่งถึงชีวิตที่กระฉับกระเฉงกว่า ที่อาจจะบ่งถึงความเป็นสัตว์เลือดอุ่น[H]

220 Ma
 
สัตว์สกุล Cynognathus เป็นสัตว์ใน clade "Cynodontia" ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

กลุ่มหนึ่งของพวก Therapsida ใน clade "Cynodontia" ก็เกิดวิวัฒนาการมีลักษณะเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพิ่มขึ้น มีขากรรไกรที่คล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบัน มีความน่าจะเป็นสูงว่า สัตว์กลุ่มนี้มีสปีชีส์ที่เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบันทั้งหมด [I]

220 Ma
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุล Repenomamus

หลังจากนั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เกิดวิวัฒนาการมาจาก Cynodontia ใน Infraorder "Eucynodontia" สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้น ๆ เป็นสัตว์คล้ายหนูผีที่กินแมลง แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานให้เห็นได้ในซากดึกดำบรรพ์ แต่ก็เป็นไปได้สูงว่า สัตว์พวกนี้มีอุณหภูมิร่างกายที่สม่ำเสมอ และมีต่อมน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก และเขตคอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) ของสมองก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นลักษณะเฉพาะ

พวกโมโนทรีมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ ซึ่งปรากฏในสัตว์ปัจจุบันพวกตุ่นปากเป็ดและอิคิดนา การหาลำดับดีเอ็นเอของจีโนมตุ่นปากเป็ดพบว่า ยีนเกี่ยวกับเพศของมันใกล้เคียงกับนกมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว (เธอเรีย) โดยเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ก็จะสามารถอนุมานได้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกแรก ๆ เกิดเป็นเพศชายหรือหญิงเนื่องจากมีหรือไม่มียีน SRY ในโครโมโซม Y ซึ่งเกิดวิวัฒนาการขึ้นหลังจากที่พวกโมโนทรีมได้แยกสายพันธุ์ออกไปแล้ว

160 Ma
 
สัตว์ต้นตระกูลของยูเธอเรียสกุล Juramaia sinensis

Juramaia sinensis[14] เกิดวิวัฒนาการขึ้น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกประเภทยูเธอเรียแรกสุดที่พบในซากดึกดำบรรพ์

100 Ma จุดเกิดบรรพบุรุษร่วมกันท้ายสุดของหนูหริ่งและมนุษย์ (เป็นสัตว์ต้นตระกูลของ clade "Euarchontoglires")

สัตว์อันดับวานร แก้

เวลา เหตุการณ์
85-65 Ma
 
Plesiadapis
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายวานรสปีชีส์ Carpolestes simpsoni

กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็กกลุ่มหนึ่ง เป็นสัตว์กลางคืนอยู่บนต้นไม้ กินแมลง ที่อยู่ใน Grandorder "Euarchonta" ก็เริ่มขยายพันธุ์ขึ้นซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นสัตว์อันดับวานร สัตว์อันดับกระแต และสัตว์อันดับบ่าง ส่วนกลุ่มสัตว์ใน Mirorder "Primatomorpha" ซึ่งเป็นส่วนของ Euarchonta รวมสัตว์อันดับวานรและสัตว์ต้นตระกูลคือสัตว์อันดับ Plesiadapiformes เกิดสัตว์ต้นตระกูลสัตว์อันดับวานรสกุลหนึ่งคือ Plesiadapis ซึ่งยังมีอุ้งเล็บ และยังมีตาแต่ละข้างหันไปทางด้านข้าง ดังนั้น Plesiadapis จึงว่องไวบนพื้นกว่าบนยอดต้นไม้ แม้ว่าจะเริ่มใช้เวลามากขึ้นอยู่บนกิ่งไม้ เพื่อกินผลไม้และใบ เป็นไปได้สูงว่า มีสปีชีส์หนึ่งในสัตว์อันดับ Plesiadapiformes ที่เป็นต้นตระกูลของสัตว์อันดับวานรที่ยังมีในปัจจุบันทั้งหมด[J]

สัตว์สปีชีส์ท้าย ๆ ในอันดับ Plesiadapiformes ก็คือ Carpolestes simpsoni ซึ่งมีนิ้วที่ใช้จับได้แต่ยังไม่มีตาที่หันไปทางด้านหน้า

63 Ma สัตว์อันดับวานรแยกสายพันธุ์เป็น suborders "Strepsirrhini" (ไพรเมตจมูกเปียก) และ "Haplorrhini" (ไพรเมตจมูกแห้ง) กลุ่ม Strepsirrhini รวมสัตว์กลุ่มที่เรียกว่า prosimian โดยมาก ที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งลีเมอร์และลอริส

ส่วน Haplorrhini มีสามกลุ่มคือทาร์เซียร์ (ซึ่งรวมอยู่ในกลุ่ม prosimian ด้วย), ลิงใน Infraorder "Simiiformes" และเอป Haplorrhini เก่าที่สุดสปีชีส์หนึ่งก็คือ Teilhardina asiatica เป็นสัตว์ตัวเท่าหนู เป็นสัตว์กลางวันมีตาเล็ก ในช่วงนี้ ระบบเมแทบอลิซึมของ Haplorrhini เกิดสูญความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ ซึ่งหมายความว่า ลูกหลานสายนี้ทั้งหมดต้องกินผลไม้ที่มีวิตามินซีเป็นส่วนของอาหาร

30 Ma
 
Haplorrhini สกุล Aegyptopithecus

Haplorrhini เกิดการแยกสายพันธุ์เป็น infraorders "Platyrrhini" (ลิงโลกใหม่) และ "Catarrhini" (ลิงโลกเก่าและเอป) ลิงโลกใหม่มีหางที่สามารถจับยึดกิ่งไม้ได้ แต่ลิงตัวผู้มีตาบอดสี และอาจจะอพยพไปสู่ทวีปอเมริกาใต้บนแพที่เกิดจากพืชข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งตอนนั้นค่อนข้างแคบ (ประมาณ 700 กม) ส่วน Catarrhini โดยมากอยู่ในแอฟริกาในเวลาที่ทวีปทั้งสอง (แอฟริกาและอเมริกา) เริ่มแยกออกจากกัน บรรพบุรุษยุคต้น ๆ ของ Catarrhini อาจจะรวมสกุล Aegyptopithecus และ Saadanius

25 Ma
 
ไพรเมตสกุล Proconsul

Catarrhini เกิดการแยกสายพันธุ์มาเป็น 2 superfamily คือลิงโลกเก่า (Cercopithecoidea) และเอป (Hominoidea) ตาที่เห็นเป็นสามสีหลักของมนุษย์อาจจะมีกำเนิดในยุคนี้

Proconsul เป็นสกุลต้น ๆ ของ Catarrhini มีลักษณะผสมของทั้งลิงโลกเก่าและเอป ลักษณะคล้าย Simiiformes ของ Proconsul รวมทั้งเคลือบฟัน (enamel) ที่บาง มีกายเบา มีหน้าอกแคบและแขนขาส่วนหน้าที่สั้น เป็นสัตว์สี่เท้าอยู่บนต้นไม้ ลักษณะคล้ายเอปรวมทั้งไม่มีหาง ข้อศอกที่คล้ายเอป และมีสมองใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับร่าง

ส่วนสปีชีส์ Proconsul africanus อาจเป็นบรรพบุรุษของทั้งวงศ์ลิงใหญ่ (รวมทั้งมนุษยด้วย) และวงศ์ชะนี

ลิงใหญ่ แก้

เวลา เหตุการณ์
17 Ma วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) กำเนิดเป็นสปีชีส์ใหม่จากบรรพบุรุษร่วมกันกับวงศ์ชะนี
14 Ma สัตว์ใน clade ที่รวม Homininae (มนุษย์ ชิมแปนซี และโบโนโบ) กับกอริลลา กำเนิดเป็นสปีชีส์ใหม่จากบรรพบุรุษร่วมกันกับลิงอุรังอุตัง[15]รูปจำลองของ Pierolapithecus catalaunicusส่วนลิงใหญ่สปีชีส์ Pierolapithecus catalaunicus เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษร่วมกันระหว่างมนุษย์กับลิงใหญ่ (ปัจจุบัน)

หรือว่า อย่างน้อยก็เป็นสปีชีส์ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับบรรพบุรุษร่วมกันมากที่สุดในบรรดาซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบ เป็นสัตว์ที่มีการปรับตัวพิเศษเพื่อปีนต้นไม้ เหมือนกับมนุษย์และลิงใหญ่อื่น ๆ คือมีซี่โครงที่กว้างและแบน มีกระดูกสันหลังช่วงล่างที่แข็ง มีข้อมือที่บิดงอได้ และมีกระดูกสะบักที่ทอดไปตามหลัง

6-10 Ma วงศ์ย่อย Homininae ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์และสกุล Pan (ชิมแปนซี และโบโนโบ) เกิดวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษร่วมกันกับกอริลลา
7 Ma
 
hominin สปีชีส์ Sahelanthropus tchadensis

เผ่า hominini เกิดวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์จากบรรพบุรุษร่วมกันกับชิมแปนซี ทั้งชิมแปนซีและมนุษย์มีกล่องเสียงที่เปลี่ยนตำแหน่งในช่วง 2 ปีต้นของชีวิต คือเคลื่อนลงไปยังตำแหน่งระหว่างคอหอยและปอด ซึ่งบ่งว่า บรรพบุรุษที่มีร่วมกันมีลักษณะอย่างนี้ เป็นลักษณะที่จำเป็นต่อการพูดในมนุษย์ บรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายมีชีวิตอยู่ใกล้ ๆ กับ hominin "Sahelanthropus tchadensis" ที่ 7 ล้านปีก่อน[16] บางครั้ง มีการอ้างว่า S. tchadensis เป็นบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายระหว่างมนุษย์กับชิมแปนซี แต่ยังไม่มีวิธีที่จะสามารถพิสูจน์ประเด็นนี้ได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างบรรพบุรุษมนุษย์เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักซึ่งเกิดขึ้นหลังการแยกสายพันธุ์จากชิมแปนซีคือ hominin สกุล Orrorin tugenensis (เรียกว่า Millennium Man พบในเคนยา มีอายุ 6 ล้านปีก่อน)

4.4 Ma Ardipithecus เป็น hominin สกุลต้น ๆ ( เผ่า Hominini)
 
Ardipithecus
Ardipithecus มีสองสปีชีส์ที่ค้นพบแล้วคือ A. ramidus ซึ่งมีชีวิตประมาณ 4.4 ล้านปีก่อน[17]

ในต้นสมัยสมัยไพลโอซีน และ A. kadabba ซึ่งมีอายุประมาณ 5.8 ล้านปีก่อน[18] ในปลายสมัยไมโอซีน A. ramidus มีสมองเล็ก วัดได้ประมาณ 300-350 ซม3 ซึ่งเท่ากับขนาดของโบโนโบและของชิมแปนซีตัวเมีย แต่เล็กว่าของ australopithecine (hominin สกุลต่อ ๆ ไป) เช่นลูซี่ (ซึ่งมีประมาณ 400-550 ซม3) และใหญ่กว่าส่วน 1/5 ของสมองมนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย Ardipithecus อาศัยอยู่บนต้นไม้ คืออยู่ในป่าโดยมากที่ต้องแข่งกับสัตว์ป่าอื่น ๆ ในการหาอาหาร แข่งขันกับทั้งบรรพบุรุษของชิมแปนซีที่มีชีวิตอยู่ในเวลาเดียวกันด้วย Ardipithecus น่าจะเป็นสัตว์สองเท้า เห็นได้จากกระดูกเชิงกรานที่เป็นรูปชาม มุมของช่องกะโหลกฟอราเมน แมกนัม และกระดูกข้อมือที่บางกว่า แต่ว่า ยังมีเท้าที่มีการปรับตัวเพื่อการยึดจับมากกว่าที่จะเดินเป็นระยะทางไกล ๆ

3.6 Ma hominin Australopithecus afarensis น่าจะทิ้งรอยเท้าไว้ในเถ้าภูเขาไฟที่โบราณสถาน Laetoli ประเทศแทนซาเนีย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของความเป็นสัตว์เดินด้วยสองเท้าเป็นนิตย์

มีชีวิตอยู่ในระหว่าง 3.9 ถึง 2.9 ล้านปีก่อน เชื่อกันว่า A. afarensis เป็นบรรพบุรุษของทั้งสกุล Australopithecus และของมนุษย์ (สกุล Homo) เปรียบเทียบกับลิงใหญ่ปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว A. afarensis มีฟันเขี้ยวและฟันกรามที่เล็กลง แม้ว่าจะยังใหญ่กว่าของมนุษย์ปัจจุบัน มีสมองที่ค่อนข้างเล็ก (ประมาณ 380-430 ซม3) และใบหน้าที่ยื่นออก hominin กลุ่ม Australopithecine พบอยู่ในเขตทุ่งหญ้า และดังนั้น น่าจะมีอาหารเพิ่มเป็นพวกเนื้อสัตว์ที่เก็บตกมาจากสัตว์อื่น ๆ งานที่วิเคราะห์กระดูกสันหลังส่วนล่างของ A. africanus บอกเป็นนัยว่า เพศหญิงมีการปรับตัวเพื่อที่จะเดินด้วยสองเท้าแม้ในขณะที่ตั้งครรภ์

3.5 Ma hominin สปีชีส์ Kenyanthropus platyops ซึ่งอาจะเป็นบรรพบุรุษของ Homo เกิดวิวัฒนาการมาจากสกุล Australopithecus
3 Ma hominin กลุ่ม australopithecine อยู่ในเขตทุ่งหญ้าของแอฟริกา บางครั้งถูกล่าโดยเสือเขี้ยวดาบสกุล Dinofelis

มนุษย์ แก้

เวลา เหตุการณ์
2.5 Ma เกิดการปรากฏขึ้นของมนุษย์สกุล Homo

เชื่อกันว่า H. habilis เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ที่ผอมสูงกว่าและฉลาดกว่าคือ H. ergaster. H. habilis อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับ H. erectus จนกระทั่งถึง 1.4 ล้านปีก่อน ทำให้มีโอกาสน้อยว่า H. erectus เกิดวิวัฒนาการมาจาก H. habilis โดยตรง นี่เป็นช่วงที่พบเครื่องมือหินเป็นครั้งแรก เป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินเก่าต้น

ขนตัวเกิดหายไปในช่วงเวลา 3 ถึง 2 ล้านปีก่อน

1.8 Ma รูปจำลองของ H. erectusH. erectus เกิดวิวัฒนาการขึ้นในแอฟริกา

ถ้าเห็นก็จะมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมาก แต่ขนาดสมองนั้นเป็นเพียงแค่ 74% ของมนุษย์ปัจจุบัน หน้าผากนั้นลาดเอียงขึ้นไปทางศีรษะน้อยกว่า H. habilis และฟันก็เล็กกว่าด้วย ส่วน hominin อื่น ๆ ที่บางครั้งกำหนดว่าเป็น H. georgicus, H. ergaster, H. pekinensis และ H. heidelbergensis บางครั้งก็จัดให้อยู่ในสปีชีส์เดียวกันคือ H. erectus[19] และเริ่มที่ H. georgicus ที่พบในประเทศจอร์เจียมีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีก่อน กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังก็วิวัฒนาการมาเหมือนมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเดินทางได้ไกล ๆ เพื่อที่จะติดตามฝูงสัตว์ เป็นซากเก่าแก่ที่สุดที่พบนอกแอฟริกา

ส่วนหลักฐานถึงการควบคุมไฟได้ของ H. erectus ตั้งต้นแต่ 400,000 ปีก่อนได้รับการยอมรับจากนักวิชาการโดยมาก และหลักฐานที่เก่ากว่านั้นก็เริ่มที่จะได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ โดยมีหลักฐานที่อ้างการใช้ไฟที่เก่าที่สุดมาจากแอฟริกาใต้มีอายุ 1.8 ล้านปีก่อน[20] และมีหลักฐานของเครื่องมือหินเผาไฟที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากประเทศอิสราเอลมีอายุ 790,000 ปี[21]

H. ergaster อาจสูงถึง 190 ซม การมีผิวเข้ม ซึ่งสัมพันธ์กับการสูญขนตัวที่เกิดขึ้นก่อนในบรรพบุรุษ ก็มีวิวัฒนาการอย่างสมบูรณ์โดย 1.2 ล้านปีก่อน ส่วน H. pekinensis ปรากฏขึ้นครั้งแรกในเอเชียประมาณ 700,000 ปีก่อน แต่ตาม "ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" (Recent African origin of modern humans) เป็นพวกที่ไม่ใช่บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน แต่เป็นญาติกันที่เป็นลูกหลานของ H. ergaster ส่วน H. heidelbergensis เป็นมนุษย์ตัวโตที่มีเทคโนโลยีหินที่ก้าวหน้ากว่า และอาจจะมีการล่าสัตว์ใหญ่เช่นม้าเป็นต้น

1.2 Ma H. antecessor อาจเป็นบรรพบุรุษร่วมกันของทั้งมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์กลุ่ม Neanderthal (H. neanderthalensis)[22]

ตามการประเมินในปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันมียีน 20,000-25,000 ยีนเหมือนกับ และมีดีเอ็นเอถึง 99% ร่วมกับ Neanderthal ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[K] และมีดีเอ็นเอประมาณ 95-99% ร่วมกับญาติใกล้ชิดที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือชิมแปนซี[L][M]ยีน FOXP2 ที่มีความต่าง ๆ กันในมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งสัมพันธ์กับการพูด ก็พบว่าเหมือนกับของ Neanderthal ด้วย[26] ดังนั้น จึงอนุมานได้ว่า H. antecessor ซึ่งอาจเป็นบรรพบุรุษของทั้งมนุษย์ปัจจุบันและ Neanderthal จึงควรจะมียีน FOXP2 ด้วย

600,000 มนุษย์ H. heidelbergensis 3 คน สูงประมาณ 150 ซม ได้ทิ้งรอยเท้าไว้ในเถ้าภูเขาไฟที่กลายเป็นหินในประเทศอิตาลี

เป็นมนุษย์ที่อาจจะเป็นบรรพบุรุษร่วมกันของมนุษย์ปัจจุบันและ Neanderthal[27] เป็นมนุษย์ที่มีสัณฐานคล้ายกับ H. erectus มาก แต่มีสมองใหญ่กว่า เท่ากับประมาณ 93% ของมนุษย์ปัจจุบัน ตัวอย่างต้นแบบแรกของมนุษย์สปีชีส์นี้สูงประมาณ 180 ซม มีกล้ามเนื้อใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบัน ช่วงนี้เป็นจุดเริ่มของยุคหินเก่ากลาง

338,000 จุดกำเนิดของอาดัมโดยโครโมโซม Y มีชีวิตอยู่ในแอฟริกาเมื่อระหว่าง 180,000-338,000 ปีก่อน[28][29]

เป็นบรรพบุรุษร่วมกันคนท้ายสุดที่ชายทั้งหมดในปัจจุบันสืบทอดสายพันธุ์มาจาก

200,000
 
Homo sapiens sapiens (แผ่นแนะนำมนุษย์บนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 และไพโอเนียร์ 11)

จุดกำเนิดของมนุษย์ปัจจุบัน โดยมีซากดึกดำบรรพ์กลุ่ม Omo remains จากประเทศเอธิโอเปียเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (มนุษย์ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Anatomically modern humans)[30]

160,000 มนุษย์ปัจจุบันคือ H. sapiens (หรือ H. sapiens idaltu) ในเอธิโอเปีย แม่น้ำ Awash หมู่บ้าน Herto มีการพิธีการทำศพและฆ่าฮิปโปโปเตมัส เป็นช่วงที่มีหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการมีพฤติกรรมปัจจุบันคือการใช้ดินสีเหลืองออกน้ำตาล (เพื่อการประดับและพิธีกรรม) และการตกปลา เป็นหลักฐานว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่โดยฉับพลัน (continuity hypothesis)[31]
150,000 จุดกำเนิดของเอวาโดยไมโทคอนเดรีย (Mitochondrial Eve) เป็นหญิงที่อยู่ในแอฟริกาตะวันออก เป็นหญิงบรรพบุรุษร่วมกันท้ายสุดของสายพันธุ์ไมโทคอนเดรียที่มีในหมู่มนุษย์ปัจจุบัน ให้สังเกตว่า ไม่มีหลักฐานว่ามีลักษณะอะไรบางอย่าง หรือมีการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) ที่ทำให้เธอแตกต่างจากกลุ่มมนุษย์สังคมของเธอ

คือ บรรพบุรุษของเธอก็เป็นมนุษย์ H. sapiens ด้วย แม้บุคคลในสมัยเดียวกันกับเธอก็เป็นมนุษย์ H. sapiens ด้วย

90,000 จุดปรากฏขึ้นของกลุ่ม haplogroup L2 ในไมโทคอนเดรีย
70,000 จุดตั้งต้นของพฤติกรรมปัจจุบันตามทฤษฎี "Great Leap Forward" (การกระโดดก้าวไปข้างหน้า)[32]
60,000 จุดปรากฏขึ้นของกลุ่ม haplogroup M และ N ในไมโทคอนเดรีย เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อพยพออกนอกทวีปแอฟริกาแล้วไปตั้งถิ่นฐานไปทั่วโลก ตามทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา มนุษย์ที่ออกจากแอฟริกาในช่วงนี้ มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์กลุ่ม Neanderthal ที่พบ[33][34]
50,000 เป็นช่วงที่มนุษย์อพยพเข้าไปสู่เอเชียใต้ เป็นจุดปรากฏขึ้นของการกลายพันธุ์ M168 ที่เป็นส่วนของกลุ่ม haplogroup CT ในไมโทคอนเดรีย ที่มีในชายที่ไม่ใช่คนแอฟริกันทั้งหมด เป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินเก่าปลาย เป็นจุดปรากฏขึ้นของกลุ่ม haplogroup U และ K ในไมโทคอนเดรีย
40,000 เป็นช่วงที่มนุษย์อพยพเข้าไปสู่ออสเตรเลีย[35] และช่วงปรากฏขึ้นของมนุษย์ปัจจุบันในยุโรป (เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า Cro-Magnon)
25,000 จุดที่มนุษย์กลุ่ม Neanderthal ที่ไม่ใช่บรรพบุรุษมนุษย์เกิดการสูญพันธุ์

เป็นจุดปรากฏของ haplogroup R2 ในโครโมโซม Y และ haplogroup J และ X ในไมโทคอนเดรีย

12,000 จุดเริ่มต้นของยุคหินกลาง/สมัยโฮโลซีน เป็นจุดปรากฏของ haplogroup R1a ในโครโมโซม Y และ haplogroup V และ T ในไมโทคอนเดรีย มนุษย์ในยุโรปเกิดวิวัฒนาการให้มีผิวขาว (ยีน SLC24A5)[36][37]เป็นช่วงที่ H. floresiensis เกิดการสูญพันธุ์ เหลือแต่ H. sapiens เป็นมนุษย์สปีชีส์เดียวเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่เหลือในสกุล Homo

ดูเพิ่ม แก้

ข้อความที่อ้างอิง แก้

  1. "Experiments with sex have been very hard to conduct," Goddard said. "In an experiment, one needs to hold all else constant, apart from the aspect of interest. This means that no higher organisms can be used, since they have to have sex to reproduce and therefore provide no asexual control."
    Goddard and colleagues instead turned to a single-celled organism, yeast, to test the idea that sex allows populations to adapt to new conditions more rapidly than asexual populations.[1]
  2. Proterospongia is a rare freshwater protist, a colonial member of the Choanoflagellata." "Proterospongia itself is not the ancestor of sponges. However, it serves as a useful model for what the ancestor of sponges and other metazoans may have been like.[3]
  3. "Obviously vertebrates must have had ancestors living in the Cambrian, but they were assumed to be invertebrate forerunners of the true vertebrates — protochordates. Pikaia has been heavily promoted as the oldest fossil protochordate."[4]: 289 
  4. These first vertebrates lacked jaws, like the living hagfish and lampreys. Jawed vertebrates appeared 100 million years later, in the Silurian.[8]
  5. A fossil coelacanth jaw found in a stratum datable 410 mya that was collected near Buchan in Victoria, Australia's East Gippsland, currently holds the record for oldest coelacanth; it was given the name Eoactinistia foreyi when it was published in September 2006.
  6. Lungfish are believed to be the closest living relatives of the tetrapods, and share a number of important characteristics with them. Among these characters are tooth enamel, separation of pulmonary blood flow from body blood flow, arrangement of the skull bones, and the presence of four similarly sized limbs with the same position and structure as the four tetrapod legs.[11]
  7. "the ancestor that amphibians share with reptiles and ourselves?"..."These possibly transitional fossils have been much studied, among them Acanthostega, which seems to have been wholly aquatic, and Ichthyostega"[4]: 250 
  8. In many respects, the pelycosaurs are intermediate between the reptiles and mammals[13]
  9. "Thrinaxodon, like any fossil, should be thought of as a cousin of our ancestor, not the ancestor itself. It was a member of a group of mammal-like reptiles called the cynodonts. The cynodonts were so mammal-like, it is tempting to call them mammals. But who cares what we call them? They are almost perfect intermediates."[4]: 211 
  10. "Fossils that might help us reconstruct what Concestor 8 was like include the large group called plesiadapi-forms. They lived about the right time, and they have many of the qualities you would expect of the grand ancestor of all the primates"[4]
  11. Rubin also said analysis so far suggests human and Neanderthal DNA are some 99.5 percent to nearly 99.9 percent identical.[23]
  12. The conclusion is the old saw that we share 98.5% of our DNA sequence with chimpanzee is probably in error. For this sample, a better estimate would be that 95% of the base pairs are exactly shared between chimpanzee and human DNA.[24]
  13. ...of the three billion letters that make up the human genome, only 15 million--less than 1 percent--have changed in the six million years or so since the human and chimp lineages diverged.[25]

อ้างอิง แก้

  1. "Sex Speeds Up Evolution, Study Finds". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2005-01-09.
  2. Dawkins, R. (2005). The Ancestor's Tale: A Pilgrimage to the Dawn of Evolution. Harcourt: Houghton Mifflin. ISBN 978-0-618-61916-0.
  3. "Proterospongia". UC Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Dawkins, Richard (2004). The Ancestor's Tale. Boston: Houghton Mifflin. ISBN 0-618-00583-8.
  5. doi:10.1038/46965
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  6. doi:10.1038/990080
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  7. doi:10.1038/nature01264
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  8. "Introduction to the Vertebrates". UC Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  9. สำเนาที่เก็บถาวร (JPG) (รูป). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-19. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22. Bones of first gill arch became upper and lower jaws.
  10. "Coelacanth". New World Encyclopedia. 2013-06-03. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  11. "Introduction to the Dipnoi". UC Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  12. Eckhart; Valle; Jaeger; Ballaun; Szabo; Nardi; Buchberger; Hermann; Alibardi; Tschachler (November 2008). "Identification of reptilian genes encoding hair keratin-like proteins suggests a new scenario for the evolutionary origin of hair". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 105 (47): 18419–23. Bibcode:2008PNAS..10518419E. doi:10.1073/pnas.0805154105. PMC 2587626. PMID 19001262.
  13. "Introduction to the Pelycosaurs". UC Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  14. doi:10.1038/nature10291
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  15. Tishkoff, Sarah A. (2011). Bones, Stones and Genes: The Origin of Modern Humans (MP4). Lecture 2 - Genetics of Human Origins and Adaptation. Howard Hughes Medical Institute (2011 Holiday Lecture Series). {{cite AV media}}: |format= ต้องการ |url= (help)
  16. "Hominid Species". The TalkOrigins Archive. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  17. "Ardipithecus ramidus". Australian Museum. 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  18. "Ardipithecus kadabba". Australian Museum. 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  19. "NOVA: Becoming Human Part 2". PBS. 2009-09-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  20. Miller, Kenneth (2013-12-07). "Archaeologists Find Earliest Evidence of Humans Cooking With Fire". Discover Magazine.
  21. "Fire-Altered Stone Tools". Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2014-10-04.[ลิงก์เสีย]
  22. "Homo antecessor". Australian Museum. 2013-09-16. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  23. "Neanderthal bone gives DNA clues". CNN Science News. 2006-11-15. สืบค้นเมื่อ 2006-11-16.
  24. Britten, R.J. (2002). "Divergence between samples of chimpanzee and human DNA sequences is 5%, counting indels". PNAS. 99 (21): 13633–5. Bibcode:2002PNAS...9913633B. doi:10.1073/pnas.172510699. PMC 129726. PMID 12368483.
  25. Pollard, K.S. (2009). "What makes us human?". Scientific American. 300–5 (5): 44-49. doi:10.1038/scientificamerican0509-44.
  26. Krause, J; Lalueza-Fox, C; Orlando, L; Enard, W; Green, RE; Burbano, HA; Hublin, JJ; Hänni, C; Fortea, J; de la Rasilla, M; Bertranpetit, J; Rosas, A; Pääbo, S (November 2007). "The derived FOXP2 variant of modern humans was shared with Neandertals". Curr. Biol. 17 (21): 1908–12. doi:10.1016/j.cub.2007.10.008. PMID 17949978. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laydate= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysource= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)
  27. "Homo heidelbergensis". Australian Museum. 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
  28. doi:10.1016/j.ajhg.2013.02.002
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Full ArticlePDF (330 KB)
  29. doi:10.1126/science.1237947
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  30. "Homo sapiens - modern humans". Australian Museum. 2014-06-13. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  31. Schwarz, J (2007-10-17). "Earliest evidence for modern human behavior found in South African cave". UW Office of News and Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  32. Diamond, Jared (1992). The Third Chimpanzee. Harper Perennial. pp. 47–57. ISBN 978-0-06-098403-8.
  33. Richard E. Green; Krause, J.; Briggs, A. W.; Maricic, T.; Stenzel, U.; Kircher, M.; Patterson, N.; Li, H.; และคณะ (2010). "A Draft Sequence of the Neandertal Genome". Science. 328 (5979): 710–722. Bibcode:2010Sci...328..710G. doi:10.1126/science.1188021. PMID 20448178.
  34. Rincon, Paul (2010-05-06). "Neanderthal genes 'survive in us'". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 2010-05-07.
  35. Bowler JM, Johnston H, Olley JM, Prescott JR, Roberts RG, Shawcross W, Spooner NA. (2003). "New ages for human occupation and climatic change at Lake Mungo, Australia". Nature. 421 (6925): 837–40. doi:10.1038/nature01383. PMID 1259451.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  36. Norton, HL; Kittles, RA; Parra, E; McKeigue, P; Mao, X; Cheng, K; Canfield, VA; Bradley, DG; McEvoy, B; Shriver, MD (March 2007). "Genetic evidence for the convergent evolution of light skin in Europeans and East Asians". Mol. Biol. Evol. 24 1 (3): 710–22. doi:10.1093/molbev/ms1203. PMID 17182896. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysource= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  37. Beleza, S; Santos, AM; McEvoy, B; Alves, I; Martinho, C; Cameron, E; Shriver, MD; Parra, EJ; Rocha, J (January 2013). "The timing of pigmentation lightening in Europeans". Mol. Biol. Evol. 30: 24–35. doi:10.1093/molbev/mss207. PMC 3525146. PMID 22923467.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้