ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก

(เปลี่ยนทางจาก Antarctic Treaty)

สนธิสัญญาแอนตาร์กติกและความตกลงที่เกี่ยวข้อง รวมเรียก ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก (อังกฤษ: Antarctic Treaty System, ย่อ: ATS) วางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทวีปแอนตาร์กติกา สำหรับวัตถุประสงค์ของระบบสนธิสัญญาฯ มีการนิยาม "แอนตาร์กติกา" ว่าหมายถึงแผ่นดินและหิ้งน้ำแข็งทั้งหมดที่อยู่ใต้ละติจูด 60°ใต้ สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในปี 2504 และปัจจุบันมีภาคี 53 ประเทศ[2] สนธิสัญญาฯ กันทวีปแอนตาร์กติกาไว้เพื่อการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์ จัดตั้งเสรีภาพการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์และห้ามกิจกรรมทางทหารบนทวีป สนธิสัญญาฯ เป็นความตกลงควบคุมอาวุธความตกลงแรกซึ่งจัดตั้งขึ้นระหว่างสงครามเย็น นับแต่เดือนกันยายน 2547 สำนักงานใหญ่เลขาธิการสนธิสัญญาแอนตาร์กติกตั้งอยู่ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[3]

สนธิสัญญาแอนตาร์กติก
ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
Antarctic Treaty System (อังกฤษ)
Système du Traité sur l'Antarctique (ฝรั่งเศส)
Систе́ма Догово́ра об Анта́рктике (รัสเซีย)
Sistema del Tratado Antártico (สเปน)
ธงสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
ประเภทอำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน
วันลงนาม1 ธันวาคม 2502[1]
ที่ลงนามวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
วันมีผล23 มิถุนายน 2504
เงื่อนไขประเทศผู้ลงนามทั้ง 12 ประเทศให้สัตยาบัน
ผู้ลงนาม12[2]
ภาคี53[2]
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสหรัฐ[2]
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน
Antarctic Treaty ที่ วิกิซอร์ซ
แผนที่สถานีวิจัยและการอ้างสิทธิ์ในดินแดนในทวีปแอนตาร์กติกา (2002)
  ฝ่ายที่มีสถานะที่ปรึกษาอ้างสิทธิ์ในดินแดนแอนตาร์กติก
  ฝ่ายที่มีสถานะที่ปรึกษาสงวนสิทธิ์ในการเรียกร้องอาณาเขต
  ฝ่ายอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษา
  ฝ่ายที่ไม่มีสถานะที่ปรึกษา
  ฝ่ายที่ไม่ใช่ชาติสมาชิกสหประชาชาติและผู้สังเกตการณ์

สนธิสัญญาหลักเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2502[1] และมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2504[4] ผู้ลงนามดั้งเดิมเป็น 12 ประเทศซึ่งมีกิจกรรมในทวีปแอนตาร์กติการะหว่างปีธรณีฟิสิกส์สากล 2500–2501 สิบสองประเทศซึ่งมีผลประโยชน์สำคัญในทวีปแอนตาร์กติกาในเวลานั้น ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม ชิลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐ[1] ประเทศเหล่านี้ตั้งสถานีในทวีปแอนตาร์กติกากว่า 50 สถานีสำหรับปีธรณีฟิสิกส์สากล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Antarctic Treaty" in The New Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica Inc., 15th edn., 1992, Vol. 1, p. 439.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "The Antarctic Treaty" (PDF). United States Department of State. 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  3. "ATS.aq". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-17.
  4. "Information about the Antarctic Treaty and how Antarctica is governed". Polar Conservation Organisation. December 28, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-08. สืบค้นเมื่อ February 6, 2011.