ปลาฉลามหางยาว

สัตว์
(เปลี่ยนทางจาก Alopiidae)
ปลาฉลามหางยาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 49–0Ma[1] ลูทีเทียน -ปัจจุบัน
ปลาฉลามหางยาวธรรมดา (A. vulpinus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Lamniformes
วงศ์: Alopiidae
Bonaparte, 1838
สกุล: Alopias
Rafinesque, 1810
ชนิดต้นแบบ
Alopias macrourus
Rafinesque, 1810
ชื่อพ้อง
  • Alopecias Müller & Henle, 1837
  • Alopius Swainson, 1838
  • Vulpecula Jarocki, 1822

ปลาฉลามหางยาว (อังกฤษ: Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias[2]

แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง

ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่

ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ[3]

การจำแนก แก้

ปลาฉลามหางยาวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

โดยปลาฉลามหางยาวนั้นได้ถูกคุกคามจนเกือบสูญพันธุ์จากมนุษย์เหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ จากการประมง และถูกนำไปทำเป็นหูฉลาม จนถูกจัดให้อยู่หนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์[4]

อ้างอิง แก้

  1. Bourdon, J. (April 2009). Fossil Genera: Alopias. The Life and Times of Long Dead Sharks. Retrieved on October 6, 2009.
  2. 2.0 2.1 จาก itis.gov
  3. THRESHER SHARK, "Great Ocean Adventures". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2556
  4. "ฉลามทะเลลึกใกล้สูญพันธุ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้