อะเลคซันดร์ เคเรนสกี
อะเลคซันดร์ ฟิโอโดโรวิช เคเรนสกี[d] (4 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 22 เมษายน] 1881 – 11 มิถุนายน 1970) เป็นนักกฎหมายและนักปฏิวัติชาวรัสเซีย เขาเป็นผู้นำของรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียและสาธารณรัฐรัสเซียที่มีอายุสั้นเพียงสามเดือน นับตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 1917
อะเลคซันดร์ เคเรนสกี | |
---|---|
Алекса́ндр Ке́ренский | |
เคเรนสกี ในปี 1917 | |
ประธานรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐรัสเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน 1917 – 7 พฤศจิกายน 1917 [1 กันยายน – 25 ตุลาคม 1917 ปฏิทินเก่า] | |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง[a] |
ประธานรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม 1917 – 14 กันยายน 1917 [8 กรกฎาคม – 1 กันยายน 1917 ปฏิทินเก่า] | |
ก่อนหน้า | เกออร์กี ลวอฟ |
ถัดไป | ตัวเอง[b] |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามและการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤษภาคม 1917 – 14 กันยายน 1917 [5 พฤษภาคม – 1 กันยายน 1917 ปฏิทินเก่า] | |
ประธานรัฐมนตรี | เกออร์กี ลวอฟ ตัวเอง |
ก่อนหน้า | อะเลคซันดร์ กุชคอฟ |
ถัดไป | อะเลคซันดร์ เวียร์ฮอฟสกี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม) ดมีตรี เวียร์เดเรฟสกี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการทหารเรือ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มีนาคม 1917 – 1 พฤษภาคม 1917 [3 มีนาคม – 18 เมษายน 1917 ปฏิทินเก่า] | |
ประธานรัฐมนตรี | เกออร์กี ลวอฟ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง[c] |
ถัดไป | ปาเวล เปเรเวียร์เซฟ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อะเลคซันดร์ ฟิโอโดโรวิช เคเรนสกี 4 พฤษภาคม 1881 ซิมบีร์สค์ เขตผู้ว่าการซิมบีร์สค์ จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 11 มิถุนายน 1970 (89 ปี) นครนิวยอร์ก นิวยอร์ก สหรัฐ |
ที่ไว้ศพ | Putney Vale Cemetery ลอนดอน อังกฤษ |
เชื้อชาติ | รัสเซีย |
พรรคการเมือง | พรรคสังคมนิยมปฏิวัติ (ทรูโดวิค) |
บุตร |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก |
วิชาชีพ | |
ลายมือชื่อ | |
ภายหลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ในปี 1917 เคเรนสกีได้เข้าร่วมกับรัฐบาลชั่วคราวที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่อมาก็ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม และภายหลังจากเดือนกรกฎาคมจึงดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐมนตรีคนที่สองและเป็นผู้นำฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย ทรูโดวิค ของพรรคสังคมนิยมปฏิวัติ เคเรนสกียังเป็นรองประธานของสภาโซเวียตเปโตรกราดอีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจเป็นอย่างมาก เคเรนสกีกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การดำรงตำแหน่งของเขาต้องสูญเสียไปกับการมีส่วนร่วมของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ถึงแม้ว่าตัวเขาจะต่อต้านสงครามอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่เคเรนสกียังคงเลือกที่จะให้รัสเซียมีส่วนร่วมในสงครามต่อไป รัฐบาลของเขากระทำการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือต่อต้านสงคราม ซึ่งทำให้เขาถูกขับออกจากตำแหน่งในปี 1917
รัฐบาลเคเรนสกีถูกโค่นล้มเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ในการปฏิวัติเดือนตุลาคม นำไปสู่การเถลิงอำนาจของบอลเชวิค ซึ่งนำโดย วลาดีมีร์ เลนิน จึงเป็นการแทนที่จากรัฐบาลเคเรนสกีเป็นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เคเรนสกีหลบหนีออกจากรัสเซียและใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในขณะที่เขาลี้ภัย เขาใช้ชีวิตที่เหลือของเขาในปารีสและนครนิวยอร์ก เคเรนสกีทำงานให้กับสถาบันฮูว์เวอร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ชีวประวัติ
แก้ปฐมวัยและการงาน
แก้อะเลคซันดร์ เคเรนสกี เกิดในเมืองซิมบีรสค์ (ปัจจุบันคืออุลยานอฟสค์) บริเวณแม่น้ำวอลกา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1881 โดยตัวเขาเป็นบุตรคนโตสุดในครอบครัว[1] พ่อของเขา ฟิโอดอร์ มีไฮโลวิช เคเรนสกี เป็นคุณครู[1] และผู้อำนวยการโรงเรียมเตรียมอุดมศึกษาท้องถิ่น ต่อมาได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐ ปู่ของเขา มีฮาอิล อีวาโนวิช เป็นนักบวชที่หมู่บ้านเคเรนคาในเขตโกโรดิชเชนสกี แคว้นเปนซา ตั้งแต่ ค.ศ. 1830 ซึ่งชื่อ "เคเรนสกี" ก็มีที่มาจากชื่อหมู่บ้านนี้เอง[2] ตาของเขาเป็นหัวหน้าสำนักภูมิประเทศของมณฑลทหารคาซัน แม่ของเขา นาเดจดา อะเลคซันดรอฟนา[3] เป็นหลานสาวของอดีตทาสที่ซื้ออิสรภาพตนเองก่อนการเลิกทาสใน ค.ศ. 1861 ซึ่งต่อมาได้เริ่มประกอบอาชีพค้าขายจนเจริญรุ่งเรือง ส่งผลให้ครอบครัวของเขาสามารถย้ายกิจการธุรกิจไปยังมอสโกได้ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังคงประสบความสำเร็จเช่นเคยและกลายเป็นครอบครัวที่มั่งคั่งที่สุดในมอสโก[2]
พ่อของเคเรนสกีเคยเป็นอาจารย์ของวลาดีมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) มาก่อน และสมาชิกครอบครัวของทั้งสองก็เคยเป็นเพื่อนกันอีกด้วย ใน ค.ศ. 1889 เมื่อเคเรนสกีอายุแปดปี ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปยังทาชเคนต์ เนื่องจากพ่อของเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐ อะเลคซันดร์สำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมใน ค.ศ. 1899 ซึ่งในปีเดียวกันนั้น เขาได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในสาขาวิชาประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ ปีถัดมาเขาเปลี่ยนไปเรียนวิชากฎหมาย ซึ่งเขาได้รับปริญญาในสาขาวิชากฎหมายเมื่อ ค.ศ. 1904 และในปีเดียวกัน เขาได้แต่งงานกับออลกา ลวอฟนา บารานอฟสกายา บุตรสาวของนายพลชาวรัสเซีย[4] เคเรนสกีเข้าร่วมขบวนการนารอดนิคและทำงานเป็นทนายความให้แก่เหยื่อในการปฏิวัติ ค.ศ. 1905 ในช่วงปลาย ค.ศ. 1904 เขาถูกจับกุมจากการสงสัยว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มติดอาวุธ หลังจากนั้น เขาได้รับชื่อเสียงจากการทำงานของเขาในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยในการพิจารณาคดีทางการเมืองของนักปฏิวัติอยู่หลายครั้ง[5]
ใน ค.ศ. 1912 เคเรนสกีกลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเมื่อเขาเดินทางไปยังเหมืองทองคำในแถบแม่น้ำเลนา และตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่เลนา[6] ในปีเดียวกัน เคเรนสกีได้รับเลือกเป็นผู้แทนแห่งสภาดูมาชุดที่สี่ในฐานะสมาชิกของกลุ่มทรูโดวิค ซึ่งเป็นพรรคแรงงานสังคมนิยมที่ไม่นิยมลัทธิมากซ์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยอะเลคซิส อะลาดิน โดยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับพรรคสังคมนิยมปฏิวัติ และเขาได้เข้าร่วมสมาคมฟรีเมสัน โดยมีอุดมการณ์ต่อต้านระบอบกษัตริย์และพยายามฟื้นฟูประชาธิปไตยของรัสเซีย[7][8] ในความเป็นจริงแล้ว พรรคสังคมนิยมปฏิวัติได้รวมกลุ่มของเคเรนสกีไว้เป็นส่วนหนึ่งของตน เนื่องจากเคเรนสกีไม่มีสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งในสภาดูมาตามกฎหมายกรรมสิทธิ์รัสเซีย ในไม่ช้าเขาก็กลายเป็นสมาชิกคนสำคัญของกลุ่มก้าวหน้า (Progressive Bloc) ซึ่งรวมถึงพรรคสังคมนิยมอื่น ๆ เมนเชวิค และฝ่ายเสรีนิยม (ยกเว้นเพียงบอลเชวิค)[9] ในสภาดูมา เคเรนสกีเป็นผู้มีวาทะศิลป์ยอดเยี่ยมและเป็นผู้นำของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่มีทักษะเป็นอย่างยิ่ง
ระหว่างการประชุมครั้งที่สี่ของสภาดูมาชุดที่สี่ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1915 เคเรนสกีได้ยื่นอุทธรณ์ต่อมีฮาอิล โรดเซียนโค พร้อมคำร้องขอจากสภาอาวุโส (Council of elders) เพื่อแจ้งให้พระเจ้าซาร์ทราบว่าการจะประสบความสำเร็จในสงครามนั้น พระองค์จะต้องทำเช่นนี้:
- เปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศ
- ประกาศจัดตั้งนิรโทษกรรมทั่วไปสำหรับนักโทษการเมือง
- ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญฟินแลนด์
- ประกาศการปกครองตนเองแก่โปแลนด์
- ให้ชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยปกครองตนเองในด้านวัฒนธรรม
- ยกเลิกข้อปฏิบัติต่อชาวยิว
- ยุติการปิดกั้นทางศาสนา
- ยุติการคุกคามต่อองค์กรสหภาพแรงงานตามกฎหมาย
เคเรนสกีเป็นสมาชิกนอกกฎเกณฑ์ของฟรีเมสันในฝ่ายแกรนด์โอเรียนท์แห่งประชาชนชาวรัสเซีย (Grand Orient of Russia's Peoples)[10] ซึ่งมีที่มาจากแกรนด์โอเรียนท์แห่งฝรั่งเศส (Grand Orient of France) เคเรนสกีเป็นเลขาธิการใหญ่ของแกรนด์โอเรียนท์แห่งประชาชนชาวรัสเซียและยุติการปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้เมื่อเขาเข้าทำงานในรัฐบาลชั่วคราวเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1917 ซึ่งตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ก็ถูกแทนที่โดยสมาขิกเมนเชวิคอะเลคซันดร์ ฮัลเปียร์น
รัสปูติน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การปฏิวัติบอลเชวิค
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
แก้- ↑ ตำแหน่งประธานรัฐมนตรีถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม วลาดีมีร์ เลนิน ได้รับการพิจาราณาให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลคนใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งโซเวียตรัสเซีย
- ↑ ในฐานะประธานรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐรัสเซียอายุสั้น
- ↑ นีโคไล โดโบรวอลสกี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแห่งจักรวรรดิรัสเซีย
- ↑ /ˈkɛrənski, kəˈrɛnski/ KERR-ən-skee-,_-kə; รัสเซีย: Алекса́ндр Фёдорович Ке́ренский, สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪkˈsandr ˈkʲerʲɪnskʲɪj]; ตัวสะกดเดิม: Александръ Ѳедоровичь Керенскій
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Alexander Kerenski". First World War. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "Александр Федорович Керенский". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014.
- ↑ N. Magill, Frank (5 มีนาคม 2014). The 20th Century Go-N: Dictionary of World Biography. Vol. 8. Routledge. p. 1941. ISBN 978-1-317-74060-5.
- ↑ Bernard Butcher (มกราคม–กุมภาพันธ์ 2001). "A Doomed Democracy". Stanford Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2007.
- ↑ Political Figures of Russia, 1917. Biographical Dictionary. Large Russian Encyclopedia. 1993. p. 143.
- ↑ Michael Melancon (2006). The Lena Goldfields Massacre and the Crisis of the Late Tsarist State. Texas A&M University Press. ISBN 978-1-58544-508-0.
- ↑ Medlin, Virgil D. (1971). "Alexander Fedorovich Kerensky" (PDF). Proceedings of the Oklahoma Academy of Science. 51: 128. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016.
- ↑ "Grigori Rasputin: Belied Life – Belied Death". www.omolenko.com. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2019.
- ↑ Russian Revolution seen from Russia. Danish DR K (TV-documentary). 11 มิถุนายน 2018.
- ↑ "Noteworthy members of the Grand Orient of France in Russia and the Supreme Council of the Grand Orient of Russia's People". Grand Lodge of British Columbia and Yukon. 15 ตุลาคม 2017.