Adenia เป็นสกุลของพืชมีดอกในวงศ์กะทกรก กระจายตัวอยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่โลกเก่า[2] ศูนย์กลางของการแพร่กระจายอยู่ที่มาดากัสการ์ พื้นที่เขตร้อนทางตะวันออกและตะวันตกของแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ชื่อสกุล Adenia มาจากคำว่า "aden" ซึ่งเป็นชื่อภาษาอาหรับของพืชชนิดหนึ่งในสกุลนี้ บรรยายโดย Peter Forsskål [4]

Adenia
Adenia digitata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์กะทกรก
สกุล: Adenia
Forssk.
ชนิด

106 ชนิด[1]

ชื่อพ้อง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

พืชในสกุล Adenia ทั้งหมดเป็นพืชที่มีอายุยืนหลายปี มีหลายลักษณะคึอเป็นไม้ล้มลุก ไม้เถา ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้น[5] หลายชนิดเป็นไม้อวบน้ำ และบางชนิดเป็นไม้โขด บางชนิดมีระบบรากเป็นฝอย และบางชนิดมีรากสะสมอาหาร[5] Adenia พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายในแอฟริกา จนถึงป่าฝนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] มีพืชประมาณ 100 ชนิดอยู่ในสกุลนี้[6]

ประโยชน์และการใช้ แก้

พืชหลายชนิดในสกุลนี้ถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านของแอฟริกาเช่น หลายส่วนของพืช A. cissampeloides ใช้รักษาในหลายอาการ ทั้งปัญหาทางเดินอาหาร การอักเสบ เจ็บปวด ไข้ มาลาเรีย โรคเรื้อน หิด อหิวาตกโรค โลหิตจาง หลอดลมอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมากผิดปกติ และความผิดปกติทางจิต[7] ถูกใช้เป็นทั้งยาทำแท้ง และยาป้องกันการแท้งบุตร[7] ใบของ A. dinklagei ใช้กินเพื่อรักษาอาการใจสั่น ใบของ A. tricostata ใช้เป็นยาแก้ไข้ ใบหรือน้ำยางของใบ A. bequaertii ใช้รักษาอาการปวดหัว ความผิดปกติทางจิต และอาการผีเข้า[7]

ผักอีนูน หรือ ผักสาบ A. viridiflora เป็นผักพื้นบ้านไทย นิยมนำยอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน มารับประทานสดด้วยการลวกให้มันสุก กินพร้อมน้ำพริก หรือนำไปใส่ในแกงต่างๆ[8]

นอกจากนั้นพืชหลายชนิดในสกุลนี้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เลี้ยงและนักสะสมพันธุ์ไม้แปลกหายากต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะชนิดที่มีถิ่นกำเนิดจากในแถบทวีปแอฟริกา เช่น A. aculeata, A. glauca, A. globosa, A. pechuelii A. spinosa, A. stylosa ฯลฯ

ชนิด แก้

 
Adenia fruticosa
 
Adenia glauca
 
Adenia globosa
 
Adenia hondala
 
Adenia pechuelii

ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับทั้งหมด 106 ชนิด[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Adenia Forssk. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.
  2. Adenia. Flora of China.
  3. Hearn, David J. (2007). "Novelties in Adenia (Passifloraceae): Four New Species, a New Combination, a Vegetative Key, and Diagnostic Characters for Known Madagascan Species". Brittonia. 59 (4): 308–27. doi:10.1663/0007-196X(2007)59[308:NIAPFN]2.0.CO;2. JSTOR 30218764.
  4. Peter Forsskål. Flora Aegyptiaco-Arabica. 1775. page 77
  5. 5.0 5.1 5.2 Hearn, David J. (2006). "Adenia (Passifloraceae) and its adaptive radiation: phylogeny and growth form diversification". Systematic Botany. 31 (4): 805–21. doi:10.1600/036364406779695933. JSTOR 25064211. S2CID 86541538.
  6. "Adenia — the Plant List".
  7. 7.0 7.1 7.2 Grace, O. M. and D. Fowler. 2007. Adenia cissampeloides (Planch. ex Hook.) Harms.เก็บถาวร 8 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In: Schmelzer, G. H. and A. Gurib-Fakim (Eds.) Prota 11(1): Medicinal Plants/Plantes médicinales 1. PROTA, Wageningen, Netherlands.
  8. "ผักสาบ ผักพื้นบ้าน ของไทย ที่หลายคนไม่รู้จัก". อีจัน. สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.