เหยี่ยวนกเขา

(เปลี่ยนทางจาก Accipiter)
เหยี่ยวนกเขา
เหยี่ยวนกเขาชิครา (Accipiter badius)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
วงศ์ย่อย: Accipitrinae
สกุล: Accipiter
Brisson, 1760
ชนิด
51 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
  • Hieraspiza Kaup, 1844

เหยี่ยวนกเขา (อังกฤษ: Bird hawk, Sparrow hawk) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Accipiter จัดอยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae)

มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวมีขนสีเทาน้ำตาล มีลายตลอดตัว อกสีน้ำตาลลายกระขาว หางยาว ปีกค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับเหยี่ยวกลุ่มอื่นๆ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ มักล่าเหยื่อด้วยการซ่อนตัวเงียบ ๆ ในพุ่มไม้บนต้นเพื่อโฉบเหยื่อไม่ให้รู้ตัว [1]

มีขนาดเล็กที่สุด คือ เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก (A. minullus) ที่พบในทวีปแอฟริกา มีความยาวลำตัวน้อยกว่า 20 เซนติเมตร (7.9 นิ้ว) ความกว้างของปีก 39 เซนติเมตร (15 นิ้ว) น้ำหนัก 68 กรัม (2.4 ออนซ์) จนถึงเหยี่ยวนกเขาท้องขาว (A. gentilis) ที่ตัวเมียขนาดใหญ่สุด ความยาวลำตัว 64 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ความยาวปีก 127 เซนติเมตร (50 นิ้ว) น้ำหนัก 2,200 กรัม (4.9 ปอนด์) [2]

สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[3] เช่น เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius), เหยี่ยวนกเขาหงอน (A. trivirgatus) และเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis) เป็นต้น[1]

การจำแนก แก้

จำแนกออกได้เป็นชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 51 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) [4]

  • Accipiter albogularis G. R. Gray, 1870 – เหยี่ยวนกเขาลาย
  • Accipiter badius (Gmelin, 1788) – เหยี่ยวนกเขาชิครา (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter bicolor (Vieillot, 1817) – เหยี่ยวนกเขาสองสี
  • Accipiter brachyurus (E. P. Ramsay, 1880) – เหยี่ยวนกกระจอกสีเทา, เหยี่ยวนกกระจอกบริเตน
  • Accipiter brevipes (Severtzov, 1850) – เหยี่ยวนกกระจอกลีแวนท์
  • Accipiter butleri (Gurney, Jr., 1898) – เหยี่ยวนกกระจอกนิโคบาร์
  • Accipiter castanilius Bonaparte, 1853 – เหยี่ยวนกกระจอกเชสนัท
  • Accipiter chilensis Philippi & Landbeck, 1864 – เหยี่ยวชิเลียน
  • Accipiter chionogaster (Kaup, 1852) – เหยี่ยวอกขาว
  • Accipiter cirrocephalus (Vieillot, 1817) – เหยี่ยวนกกระจอกคอปก
  • Accipiter collaris P. L. Sclater, 1860 – เหยี่ยวนกกระจอกคอปกเล็ก
  • Accipiter cooperii (Bonaparte, 1828) – เหยี่ยวคูเปอร์
  • Accipiter erythrauchen G. R. Gray, 1861 – เหยี่ยวนกกระจอกคอรูฟัส
  • Accipiter erythronemius (Kaup, 1850) – เหยี่ยวขารูฟัส
  • Accipiter erythropus (Hartlaub, 1855) – เหยี่ยวนกกระจอกขาแดง
  • Accipiter fasciatus (Vigors & Horsfield, 1827) – เหยี่ยวนกเขาสีน้ำตาล
  • Accipiter francesiae A. Smith, 1834 – เหยี่ยวนกกระจอกฝรั่งเศส
  • Accipiter gentilis (Linnaeus, 1758) – เหยี่ยวนกเขาท้องขาว (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter griseiceps (Kaup, 1848) – เหยี่ยวนกเขาซูลาเวซี
  • Accipiter gularis (Temminck & Schlegel, 1844) – เหยี่ยวนกกระจอกพันธุ์ญี่ปุ่น, เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter gundlachi Lawrence, 1860 – เหยี่ยวกุนด์แลค
  • Accipiter haplochrous P. L. Sclater, 1859 – เหยี่ยวท้องขาว
  • Accipiter henicogrammus (G. R. Gray, 1861) – เหยี่ยวนกเขาโมลัสคัน
  • Accipiter henstii (Schlegel, 1873) – เหยี่ยวนกเขาเฮนส์
  • Accipiter hiogaster (S. Muller, 1841) – เหยี่ยวนกเขาเวเรียเบิล
  • Accipiter imitator Hartert, 1926 – เหยี่ยวนกเขาอิมิเตเตอร์, เหยี่ยวนกกระจอกอิมิเตเตอร์
  • Accipiter luteoschistaceus Rothschild & Hartert, 1926 – เหยี่ยวนกเขาชนวน, เหยี่ยวนกกระจอกชนวน
  • Accipiter madagascariensis J. Verreaux, 1833 – เหยี่ยวนกเขามาดากัสการ์, เหยี่ยวนกกระจอกมาดากัสการ์
  • Accipiter melanochlamys (Salvadori, 1876) – เหยี่ยวนกเขาหลังดำ
  • Accipiter melanoleucus A. Smith, 1830 – เหยี่ยวนกกระจอกดำ
  • Accipiter meyerianus (Sharpe, 1878) – เหยี่ยวนกเขาเมเยอร์
  • Accipiter minullus (Daudin, 1800) – เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก
  • Accipiter nanus (W. Blasius, 1897) – เหยี่ยวนกกระจอกแคระ
  • Accipiter nisus (Linnaeus, 1758) – เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่ (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter novaehollandiae (Gmelin, 1788) – เหยี่ยวนกเขาสีเทา
  • Accipiter ovampensis Gurney, 1875 – เหยี่ยวนกกระจอกโอแวมโบ
  • Accipiter poliocephalus G. R. Gray, 1858 – เหยี่ยวนกเขาหัวสีเทา
  • Accipiter poliogaster (Temminck, 1824) – เหยี่ยวท้องสีเทา
  • Accipiter princeps Mayr, 1934 – เหยี่ยวนกเขาบริเตนใหม่
  • Accipiter rhodogaster (Schlegel, 1862) – เหยี่ยวนกกระจอกกระดุมองุ่น
  • Accipiter rufitorques (Peale, 1848) – เหยี่ยวนกเขาฟิจิ
  • Accipiter rufiventris A. Smith, 1830 – เหยี่ยวนกกระจอกกระดุมรูฟัส
  • Accipiter soloensis (Horsfield, 1821) – เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter striatus Vieillot, 1808 – เหยี่ยวหน้าแข้งคม
  • Accipiter superciliosus (Linnaeus, 1766) – เหยี่ยวไทนี่
  • Accipiter tachiro (Daudin, 1800) – เหยี่ยวนกเขาแอฟริกัน
  • Accipiter toussenelii (J. Verreaux, E. Verreaux & Des Murs, 1855) – เหยี่ยวนกเขาอกสีแดง
  • Accipiter trinotatus Bonaparte, 1850 – เหยี่ยวนกกระจอกหางจุด
  • Accipiter trivirgatus (Temminck, 1824) – เหยี่ยวนกเขาหงอน (พบในประเทศไทย)
  • Accipiter ventralis P. L. Sclater, 1866 – เหยี่ยวอกราบ
  • Accipiter virgatus (Temminck, 1822) – เหยี่ยวนกเขาเล็ก (พบในประเทศไทย)
สูญพันธุ์ไปแล้ว

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 นกเขา ๑ น. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. Raptors of the World by Ferguson-Lees, Christie, Franklin, Mead & Burton. Houghton Mifflin (2001), ISBN 0-618-12762-3.
  3. "สัตว์ป่าจำพวกนก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05.
  4. จาก itis.gov
  5. 5.0 5.1 Balouet, J.C.; Olson, Storrs L. (1989). "Fossil birds from Late Quaternary deposits in New Caledonia" (PDF). Smithsonian Contributions to Zoology. 469: 6–7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-15. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Accipiter ที่วิกิสปีชีส์