AB สารถี เป็นดาวฤกษ์ประเภทเฮอร์บิก Ae อายุน้อยในกลุ่มดาวสารถี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 531 ปีแสง จัดอยู่ในกลุ่มสเปกตรัม A0Ve มีเส้นสเปกตรัมส่องสว่างตรงกับเส้นของดาวในแถบลำดับหลักประเภท A มีมวล 2.4 เท่าของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิยังผล 9,772 เคลวิน กำลังส่องสว่างเป็น 38 เท่าของดวงอาทิตย์

AB สารถี

ภาพถ่ายจากกล้อง ALMA แสดงวงแหวนฝุ่น (สีแดง) และเกลียวก๊าซ (สีฟ้า) ของวงแหวนรอบดาวฤกษ์ AB สารถี เผยให้เห็นแขนของเกลียวก๊าซภายในช่องว่างระหว่างฝุ่น ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีดาวเคราะห์อยู่
Credit: ALMA (ESO/NAOJ/NRAO)/Tang et al.
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว สารถี
ไรต์แอสเซนชัน 04h 55m 45.84600s[1]
เดคลิเนชัน +30° 33′ 04.2933″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 7.05[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมA0Ve[3]
ดัชนีสี U-B+0.04[4]
ดัชนีสี B-V+0.11[4]
ชนิดดาวแปรแสงINA (ดาวเฮอร์บิก เออี)[5][6]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+8.9±0.9[7] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: +3.926[1] mas/yr
Dec.: –24.112[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)6.1400 ± 0.0571[1] mas
ระยะทาง531 ± 5 ly
(163 ± 2 pc)
รายละเอียด
มวล2.4±0.2[8] M
รัศมี2.5[9] R
กำลังส่องสว่าง~38[8] L
อุณหภูมิ9,772[10] K
ชื่ออื่น
AB Aur, BD+30° 741, HD 31293, HIP 22910, SAO 57506[11]
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata

เป็นที่รู้กันว่าดาวดวงนี้มีแผ่นฝุ่น ซึ่งอาจก่อตัวเป็นดาวเคราะห์และดาวแคระน้ำตาล เป็นส่วนหนึ่งของ ที่ตัวดาวนี้เองยังมีการพบเมฆระหว่างดวงดาวที่มีขนาดเล็กและหนาแน่นสูงซึ่งทำลายจานฝุ่นและทำให้เกิด เนบิวลาสะท้อนแสงมากยิ่งขึ้น

ระบบดาวเคราะห์ แก้

ในปี ค.ศ. 2017 กล้อง ALMA ได้ถูกใช้เพื่อจับภาพของจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดซึ่งก่อกำเนิดดาวเคราะห์รอบดาวดวงนี้ ภาพได้แสดงแผ่นจานฝุ่นที่มีรัศมีประมาณ 120 หน่วยดาราศาสตร์ และมองเห็นช่องว่างอย่างชัดเจน โดยภายในช่องว่างนี้ ตรวจพบแขนกังหันก๊าซที่มีคาร์บอนมอนอกไซด์

Oppenheimer et al. (2008)[12]ได้สังเกตการณ์พบลักษณะวงแหวนภายในจานฝุ่นของดาวดวงนี้ซึ่งเป็นอาณาเขตที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนในช่วงห่างจากดาวฤกษ์หลัก 43-302 AU ช่องว่างรัศมี 102 AU ได้บ่งชี้ถึงการก่อตัวของวัตถุขนาดเล็กอย่างน้อยหนึ่งชิ้นที่ระยะโคจรประมาณ 100 AU ซึ่งวัตถุดังกล่าวอาจเป็น ดาวเคราะห์นอกระบบ ขนาดยักษ์หรือดาวแคระน้ำตาล อย่างไรก็ตาม วัตถุนี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน

ระบบดาวเคราะห์ AB สารถี[12]
ดาวเคราะห์
(ตามลำดับจากดาว)
มวล กึ่งแกนเอก
(AU)
คาบการโคจร
(ปี)
ความเยื้องศูนย์กลาง ความเอียงของวงโคจร รัศมี
จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด 43–430[13] AU
b 9–12[14] MJ 93[14] ? 0.19–0.60 27.1–58.2° 2.75 RJ

รวมรูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Brown, Anthony GA; Vallenari, A; Prusti, T; และคณะ (Gaia). "Gaia Data Release 2: Summary of the contents and survey properties". Astronomy & Astrophysics. 616. A1. arXiv:1804.09365. Bibcode:2018A&A...616A...1G. doi:10.1051/0004-6361/201833051. ISSN 0004-6361. Gaia DR2 record for this source ที่ VizieR. 1 สิงหาคม 2561.
  2. Ducati, J. R. (2002). "VizieR Online Data Catalog: Catalogue of Stellar Photometry in Johnson's 11-color system". CDS/ADC Collection of Electronic Catalogues. 2237. Bibcode:2002yCat.2237....0D.
  3. Mooley, Kunal; และคณะ (July 2013). "B- and A-type Stars in the Taurus-Auriga Star-forming Region". The Astrophysical Journal. 771 (2): 24. arXiv:1306.0598. Bibcode:2013ApJ...771..110M. doi:10.1088/0004-637X/771/2/110. S2CID 2176170. 110.
  4. 4.0 4.1 Nicolet, B. (1964). "Catalogue of homogeneous data in the UBV photoelectric photometric system". Astronomy and Astrophysics Supplement Series. 34: 1–49. Bibcode:1978A&AS...34....1N.
  5. Tang, Ya-Wen; และคณะ (May 2017). "Planet Formation in AB Aurigae: Imaging of the Inner Gaseous Spirals Observed inside the Dust Cavity". The Astrophysical Journal (ภาษาอังกฤษ). 840 (1): 32. arXiv:1704.02699. Bibcode:2017ApJ...840...32T. doi:10.3847/1538-4357/aa6af7. ISSN 0004-637X. S2CID 119351517.
  6. Samus', N. N.; และคณะ (January 2017). "General catalogue of variable stars: Version GCVS 5.1". Astronomy Reports (ภาษาอังกฤษ). 61 (1): 80–88. Bibcode:2017ARep...61...80S. doi:10.1134/S1063772917010085. ISSN 1063-7729. S2CID 125853869.
  7. Gontcharov, G. A. (2006). "Pulkovo Compilation of Radial Velocities for 35 495 Hipparcos stars in a common system". Astronomy Letters. 32 (11): 759–771. arXiv:1606.08053. Bibcode:2006AstL...32..759G. doi:10.1134/S1063773706110065. S2CID 119231169.
  8. 8.0 8.1 Rodríguez, Luis F.; และคณะ (September 2014). "An Ionized Outflow from AB Aur, a Herbig Ae Star with a Transitional Disk". The Astrophysical Journal Letters. 793 (1): 4. arXiv:1408.7068. Bibcode:2014ApJ...793L..21R. doi:10.1088/2041-8205/793/1/L21. S2CID 118640915. L21.
  9. Li, Dan; และคณะ (2016). "An Ordered Magnetic Field in the Protoplanetary Disk of AB Aur Revealed by Mid-infrared Polarimetry". The Astrophysical Journal. 832 (1): 18. arXiv:1609.02493. Bibcode:2016ApJ...832...18L. doi:10.3847/0004-637X/832/1/18. S2CID 118475064.
  10. Tannirkulam, A.; และคณะ (2008). "A Tale of Two Herbig Ae Stars, MWC 275 and AB Aurigae: Comprehensive Models for Spectral Energy Distribution and Interferometry". The Astrophysical Journal. 689 (1): 513–531. arXiv:0808.1728. Bibcode:2008ApJ...689..513T. doi:10.1086/592346. S2CID 45548.
  11. "AB Aur". SIMBAD. Centre de données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  12. 12.0 12.1 Oppenheimer, Ben R. (2008). "The Solar-System-Scale Disk around AB Aurigae". The Astrophysical Journal. 679 (2): 1574–1581. arXiv:0803.3629. Bibcode:2008ApJ...679.1574O. doi:10.1086/587778.
  13. Kuffmeier, M.; Goicovic, F. G.; Dullemond, C. P. (2020), "Late encounter events as source of disks and spiral structures", Astronomy & Astrophysics, 633: A3, arXiv:1911.04833, doi:10.1051/0004-6361/201936820, S2CID 207863630
  14. 14.0 14.1 Currie, Thayne; และคณะ (4 April 2022). "Images of embedded Jovian planet formation at a wide separation around AB Aurigae". Nature Astronomy. Springer Science and Business Media LLC. arXiv:2204.00633. doi:10.1038/s41550-022-01634-x. ISSN 2397-3366. S2CID 247940163.
  15. Cody, Ann Marie; Tayar, Jamie; Hillenbrand, Lynne A.; Matthews, Jaymie M.; Kallinger, Thomas (March 2013). "Precise High-cadence Time Series Observations of Five Variable Young Stars in Auriga with MOST". The Astronomical Journal. 145 (3): 79. arXiv:1302.0018. Bibcode:2013AJ....145...79C. doi:10.1088/0004-6256/145/3/79. S2CID 1261183. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.

อ่านเพิ่มเติม แก้