ฟรุตตี้

(เปลี่ยนทางจาก 5.5)

ฟรุตตี้ (อังกฤษ: Fruity) เป็นวงดนตรียุคแรก ๆ ของ อาร์เอสมีสมาชิกทั้งหมด 8 คน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ ชมพู - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (กีตาร์, ร้องนำ) และ ปิง - กัณพล ปรีดามาโนช (เบส, ร้องนำ, กีต้าร์, หัวหน้าวง) มีเพลงดังหลายเพลงเช่น เหมือนนกไร้ปีก, คนข้างเคียง, ลืมเธอ, รอยนิรันดร์, อยากบอกรัก, คิดไม่ตก (อยากตาย), ไปให้พ้น, รักแท้ (แต่รอให้รวยก่อน) ฯลฯ

ฟรุตตี้
Fruity
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
แนวเพลงสตริงคอมโบ (ยุคแรก)
ป็อป
ป็อปร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2524–2534
ค่ายเพลงอาร์.เอส.โปรโมชั่น
สมาชิกสุทธิพงษ์ วัฒนจัง - ร้องนำ, กีต้าร์, คีย์บอร์ด เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2507
สมพร ปรีดามาโนช - เบส, ร้องนำ, กีต้าร์ เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2504
อดีตสมาชิกวรวุฒิ พูลขวัญ - กีต้าร์
ทวีศักดิ์ เนนเลิศ - คีย์บอร์ด, ทรัมเป็ต
ประดิษฐ์ ศิลาวงศ์ - แซกโซโฟน
ประกิจ ประเสริฐศิลป์ - ทรัมเป็ต, คีย์บอร์ด
อนุรักษ์ ใช้ลิ้ม - กลอง
สาโรจน์ ไชยเนตร - กีต้าร์

อัลบั้มชุดที่ 5 "อยากบอกรัก" ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2530 เป็นผลงานชุดแรกของฟรุตตี้ที่นำเสนอในรูปแบบศิลปินคู่คือชมพูและปิง ด้วยดนตรีเพลงป็อปที่ทันสมัยขึ้น ทิ้งรูปแบบเพลงสตริงเดิม ๆ ที่ทางวงเคยทำมา

ประวัติ แก้

ฟรุตตี้เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนสมัยที่กำลังเรียนในโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย ทั้งหมด 6 คน แต่นักร้องนำได้ลาออกจากวงในภายหลัง อนุรักษ์ ใช้ลิ้ม มือกลองได้แนะนำให้ปิงซึ่งเป็นมือกีตาร์และหัวหน้าวงไปดูฝีมือของชมพู - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง และสาโรจน์ ไชยเนตร ซึ่งเล่นดนตรีและร้องเพลงแนวโฟล์คซองที่ร้านศาลาโฟร์โมสต์ ที่ตั้งอยู่ปากซอยบ้านปิง ซึ่งต่อมาปิงได้ดึงชมพูและสาโรจน์เข้าร่วมวงและตระเวนออกแสดงตามที่ต่าง ๆ โดยมีชมพูรับหน้าที่แต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับวงจนได้เข้าสังกัด อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) จากการชักชวนของอาจารย์ บุญสม รดาเจริญ จนได้ออกอัลบั้มชุดแรกคือ "เหมือนนกไร้ปีก" ในปี พ.ศ. 2526 มีเพลงดังคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่ 2 "คนข้างเคียง" ในปี พ.ศ. 2527, ชุดที่ 3 "2 สไตล์" ในปี พ.ศ. 2528, ชุดที่ 4 "รอยนิรันดร์" ในปี พ.ศ. 2529 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2530 กับอัลบั้มชุดที่ 5 "อยากบอกรัก" ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสมาชิกขึ้น เมื่ออาร์เอสต้องการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอของวงฟรุตตี้ให้เน้นไปที่สมาชิกแกนหลักสองคนในวงคือ ชมพู และ ปิง ทั้งการออกสื่อและรูปแบบวง โดยที่สมาชิกที่เหลือยังคงอยู่กับวงในฐานะแบ๊คอัพของทั้งคู่ อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นชุดสุดท้ายที่สมาชิก 7 คนในวงอยู่ในนาม ฟรุตตี้

สำหรับที่มาของชื่อวง ฟรุตตี้ มีที่มาจากที่ ปิง สมพร หัวหน้าวงไปนั่งที่ป้ายรถเมล์แล้วเห็นโฆษณาเครื่องสำอางเพี๊ยซรุ่น ฟรุตตี้ แล้วชอบชื่อนี้จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อวง

ฟรุตตี้ ยุค ชมพู-ปิง แก้

อัลบั้มถัดมาในปี พ.ศ. 2530 คือ "อยากบอกรัก" งานชุดแรกของฟรุตตี้ที่สมาชิกมีเพียง ชมพู และ ปิง โดยปิงรับบทบาทในตำแหน่งกีต้าร์ทั้งในการแสดงสดและบันทึกเสียง ในปีเดียวกันทางวงออกผลงานชุดพิเศษขึ้นคือ 5.5 ที่นำเพลงใหม่บางเพลงอย่าง "คิดไม่ตก (อยากตาย)" บวกกับเพลงจากอัลบั้มเก่า ๆ เป็นการปิดท้ายยุคเดิมของฟรุตตี้ งานในยุคนี้ของฟรุตตี้เน้นไปที่เพลงป็อปตามสากลนิยมมากขึ้น เจือด้วยเพลงแนวป็อปร็อก เต็มรูปแบบ สมาชิกทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งการเล่นดนตรีในห้องอัด เรียบเรียงดนตรี ควมคุมการผลิตเอง และ การแต่งเพลง โดยเฉพาะ ชมพู ที่แต่งเพลงเกือบทั้งหมดให้แก่วง งานเพลงในยุคนี้ที่โด่งดังได้แก่ "อยากบอกรัก", "นิยายรักขาดตอน", "สายเกินไป", โปรดรับรู้ (ร้องและแต่งโดย ปิง), "คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง", "รักนิด ๆ", "รักแท้ (แต่รอให้รวยก่อน)", "ทำไม่ได้", "สุดใจบิน"

ผลงานเพลง แก้

  • เหมือนนกไร้ปีก (มกราคม พ.ศ. 2526)
  • คนข้างเคียง (พ.ศ. 2527)
  • 2 สไตล์ (พ.ศ. 2528)
  • รอยนิรันดร์ (มกราคม พ.ศ. 2529)
  • อยากบอกรัก (มกราคม พ.ศ. 2530)
  • 5.5 (กรกฎาคม พ.ศ. 2530)
  • คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง (มกราคม พ.ศ. 2531)
  • มีก็เหมือนไม่มี (พฤศจิกายน พ.ศ. 2531)
  • สุดขีด (ธันวาคม พ.ศ. 2532)
  • ฟรุตตี้คั้น (เมษายน พ.ศ. 2533)

ผลงานภาพยนตร์ แก้

  • มนต์รักเพลงทะเล้น (พ.ศ. 2531) รับบท ชมพูและปิง
  • สงครามเพลงแผน 2 (พ.ศ. 2533) รับบท ชมพูและปิง

คอนเสิร์ต แก้

  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร
  • 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ต A Special Tribute to Bee Gees
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คอนเสิร์ต ด้วยรักและภักดี
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คอนเสิร์ต Retro Music ไทยจัง
  • 18 มกราคม พ.ศ. 2557 คอนเสิร์ต The Memory ความรัก ความทรงจำ ความคิดถึง
  • 6 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 คอนเสิร์ต ร้อยใจ ร้อยมาลัย ร้อยล้านดวงใจ เทิดไท้ราชินี
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต ขออภัยในทุกลีลา By ชมพู ฟรุตตี้
  • 9 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต แฟนฉัน นราธิป กาญจนวัฒน์ (วงชาตรี)
  • 17 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต Krabi Naga Fest 2017
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต การกุศล รวมดวงใจสานฝันพ่อ
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต สวัสดี บางกอก 2561
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน ครั้งที่ 2
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต GSB Present 789 0's The Gallery Concert
  • 26 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต 70's Once More
  • 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต AUDI Thailand Presents Byrd & Heart High School Class Reunion Concert
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก สุเทพ วงศ์กำแหง
  • 27 เมษายน พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต รวมดาว 18 กะรัต The Concert
  • 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต “โก๋หลังวัง” ตอน โก๋กี๋มีเรื่อง (เล่า)
  • 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 คอนเสิร์ต EMOTION THE SONG OF FAITH
  • 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คอนเสิร์ต เพื่อครู...ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก สองศิลปินแห่งชาติ
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2564 คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คอนเสิร์ต Byrd & Heart | Birthday Concert
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566 คอนเสิร์ต Bangkok Airways Presents La Boum Sway and Dance

อัลบั้มพิเศษร่วมกับศิลปินอื่นและอัลบั้มรวมเพลง แก้

  • รวมดาว (พ.ศ. 2527)
  • พบดาว (พ.ศ. 2527)
  • รวมดาว 2 (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า (พ.ศ. 2528)
  • มรดกไทย (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า 2 (พ.ศ. 2529)
  • พบดาว 2 (พ.ศ. 2529)
  • นพเก้า 3 (พ.ศ. 2530)
  • ตราบนิรันดร์ 1-3 (พ.ศ. 2531)
  • The best of ฟรุตตี้ (พ.ศ. 2539)
  • The best of ฟรุตตี้ (พ.ศ. 2544)
  • Best Collection ฟรุตตี้ (พ.ศ. 2554)
  • Classic ฟรุตตี้ (พ.ศ. 2556)
  • Classic ฟรุตตี้ (พ.ศ. 2557)