4 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

ตึกระฟ้าในนครนิวยอร์ก

4 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (หรือรู้จักกันตามชื่ออยู่ของอาคารคือ 150 ถนนกรีนวิช) เป็นหนึ่งในตึกระฟ้าในโครงการ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ใหม่ ใน นครนิวยอร์ก โดยตั้งอยู่บริเวณหัวมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่โครงการดังกล่าว มีความสูง 978 ฟุต (298 เมตร)[8] โดยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของการท่าเรือแห่งนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ เจ้าของโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ทั้งหมด[9]

4 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
แผนที่
ชื่ออื่น4 WTC
150 ถนนกรีนวิช
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทสำนักงาน ค้าปลีก
สถาปัตยกรรมโมเดิร์น
ที่ตั้ง150 ถนนกรีนวิช
แมนแฮตตัน นครนิวยอร์ก นิวยอร์ก สหรัฐ
พิกัด40°42′37″N 74°00′43″W / 40.7104°N 74.0119°W / 40.7104; -74.0119
เริ่มสร้างมกราคม 2008; 16 ปีที่แล้ว (2008-01)
เปิดใช้งาน13 พฤศจิกายน 2013; 10 ปีก่อน (2013-11-13)[1]
ค่าก่อสร้าง1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
เจ้าของซิลเวอร์สเตน พร็อพเพอร์ตี
ความสูง
หลังคา978 ฟุต (298 เมตร)
ชั้นบนสุด74[3]
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น78 (รวมทั้งชั้นใต้ดิน 4 ชั้น)
พื้นที่แต่ละชั้น2,500,004 ตารางฟุต (232,258.0 ตารางเมตร)
ลิฟต์55
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกฟูมิฮิโกะ มากิ
ผู้พัฒนาโครงการซิลเวอร์สเตน พร็อพเพอร์ตี
วิศวกรโครงสร้างเลสลี อี. โรเบิร์ตสัน แอสโซเซียส
ผู้รับเหมาก่อสร้างทิสห์แมน เรียสตี แอนด์ คอนสตรัคชั่น
อ้างอิง
[4][5][6][7]

4 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เดิมเป็นอาคารสำนักงานสูง 9 ชั้นสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1975 มีความสูง 118 ฟุต (36 เมตร) ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของพื้นที่ ผู้เช่ารายแรกย้ายเข้ามาอยู่ในอาคารในเดือนมกราคม ค.ศ. 1977[10] โดยมีผู้เช่าหลักคือคณะกรรมการการค้านิวยอร์ก และ ธนาคารดอยซ์แบงก์[11] ในเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ตัวอาคารได้รับความเสียหายอย่างหนักหลังจากตึก 2 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ทิศใต้) พังถล่มลงมาทับอาคารซากของอาคารถูกทำลายในภายหลังเพื่อหลีกทางให้การก่อสร้างตึก 3 และ 4

โดยตัวอาคารได้ถูกเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ได้รับการออกแบบโดย ฟูมิฮิโกะ มากิ ผู้ที่เคยได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์[12] โดยวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2012 การก่อสร้างได้สร้างถึงชั้นที่ 72[13] การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013[14] มีมูลค่าในการก่อสร้างอยู่ที่ 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับเงินทุนจากบริษัทประกันภัยและพันธบัตรเสรีภาพ[2]และถูกเปิดให้ใช้งานในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[15] ณ ปัจจุบัน ตึกแห่งนี้ได้เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ รองจาก อาคาร 1 และ 3 อย่างไรก็ตามคาดว่า 2 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ จะขึ้นมามีความสูงกว่ากว่าอาคาร 3 และ 4 เมื่อเสร็จสิ้นในอนาคต[12] พื้นที่ทั้งหมดของอาคารประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ค้าปลีก 1.8 ล้านตารางฟุต (167,000 ตารางเมตร)[16]

สมุดภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "|| World Trade Center ||". Wtc.com. December 31, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2018. สืบค้นเมื่อ February 3, 2014.
  2. 2.0 2.1 Dunlap, David W. (June 24, 2012). "A 977-Foot Tower You May Not See, Assuming You've Even Heard of It". City Room. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2021. สืบค้นเมื่อ October 26, 2016.
  3. "Stacking Diagram | 4 World Trade Center | Silverstein Properties". 4wtc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2013. สืบค้นเมื่อ February 3, 2014.
  4. "Emporis building ID 252969". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2016.
  5. แม่แบบ:SkyscraperPage
  6. 4 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
  7. "4 World Trade Center". Skyscraper Center. CTBUH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2021. สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  8. "Designs for the Three World Trade Center Towers Unveiled" (Press release). Lower Manhattan Development Corporation. September 7, 2006. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
  9. Pogrebin, Robin (May 3, 2006). "Richard Rogers to Design Tower at Ground Zero". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 22, 2006.
  10. History of the Twin Towers เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.PANYNJ.gov. 2013. Retrieved September 11, 2015
  11. "CNN.com Specials". สืบค้นเมื่อ March 21, 2017.
  12. 12.0 12.1 150 Greenwich St., Maki and Associates, Architectural Fact Sheet - September 2006
  13. Post, Nadine M. (September 18, 2006). "Ground Zero Office Designs Hailed as Hopeful Symbols". Engineering News-Record. p. 12.
  14. "Lower Manhattan: 4 World Trace Center (150 Greenwich Street)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2012. สืบค้นเมื่อ July 20, 2012.
  15. Newman, Andy; Correal, Annie (November 13, 2013). "New York Today: Skyward". The New York Times.
  16. Pogrebin, Robin (May 3, 2006). "Richard Rogers to Design Tower at Ground Zero". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 22, 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้