253 มาทิลเด

ดาวเคราะห์น้อย

253 มาทิลเด (อังกฤษ: 253 Mathilde, ออกเสียง: /məˈtɪldə/) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ค้นพบโดย โยฮันน์ พาลิซา ใน พ.ศ. 2428 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์จำนวนสี่ปี และโคจรรอบตัวเองด้วยอัตราที่ช้าผิดปกติ คือใช้เวลา 17.4 วัน ในการโคจรรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ[6] ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ซึ่งพื้นผิวมีส่วนประกอบของคาร์บอนอยู่ปริมาณมาก ทำให้พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ทึบแสง โดยจะสะท้อนแสงเพียง 4% ของแสงที่ตกกระทบ[7]

253 มาทิลเด

ภาพ 253 มาทิลเด ของนาซา
การค้นพบ[1]
ค้นพบโดย:โยฮันน์ พาลิซา
ค้นพบเมื่อ:12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
ชื่ออื่น ๆ:A915 TN; 1949 OL1
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:แถบดาวเคราะห์น้อยหลัก
ลักษณะของวงโคจร[2]
ต้นยุคอ้างอิง 30 มกราคม พ.ศ. 2548 (JD 2453400.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
501.334 จิกะเมตร
3.35121 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
290.564 จิกะเมตร
1.94230 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก:395.949 จิกะเมตร
2.64676 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.266157
คาบดาราคติ:1572.787 วัน
(4.31 ปีจูเลียน)
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
17.98 กม./วินาที(1)
มุมกวาดเฉลี่ย:111.960°
ความเอียง:6.738°
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
179.633°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
157.475°
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:52.8[2] กม.
(66×48×46 กม.[3])
มวล:1.033 (±0.044) ×1017[4]  กก.
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.3[4] กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
0.0025(2) เมตร/วินาที²
ความเร็วหลุดพ้น:16.2(3) เมตร/วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
17.406±0.010[5] วัน
(17 วันชม. 45 นาที)
อัตราส่วนสะท้อน:0.0436[2]
อุณหภูมิ:~174(4) K
ชนิดสเปกตรัม:Cb[2]

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ระหว่างทางที่จะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยอีรอส และได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลุมอุกกาบาตจำนวนมากบนพื้นผิว ปัจจุบัน 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ดวงแรกที่มียานอวกาศไปสำรวจ และก่อนหน้าการเดินทางไปยัง 21 ลูเทเชีย ดาวเคราะห์น้อยมาทิลเดจะเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจในปัจจุบัน

ประวัติการค้นพบ

แก้

ในปี พ.ศ. 2423 โยฮันน์ พาลิซา กรรมการของหอดูดาวออสเตรียนาวาล ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นผู้ช่วยในหอดูดาวเวียนนาที่เพิ่งเปิดใหม่ ซึ่งพาลิซาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง ขนาด 27 นิ้ว (690 มม.) ซึ่งเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น และกล้องขนาด 12 นิ้ว (300 มม.) ในการค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวน 94 ดวง[8] โดยก่อนหน้านี้เขาได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยมาแล้ว 27 ดวง

253 มาทิลเด เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่พาลิซาค้นพบในช่วงนั้น โดยได้ถูกค้นพบเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ข้อมูลต่าง ๆ ของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้คำนวณโดย วี. เอ. เลเบิฟ ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ชาวออสเตรียที่ทำงานในหอดูดาวแห่งนี้เช่นเดียวกัน ชื่อของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ตั้งตามชื่อของ มาทิลเด ภรรยาของมอริส โลวี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของหอดูดาวปารีสในขณะนั้น[1][6]

ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการสังเกตว่า 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C และมีอัตราเร็วในการโคจรรอบตัวเองที่ช้าผิดปกติ[6]

เมือวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เนียร์ชูเมกเกอร์ ได้เดินทางผ่านเข้าใกล้ 253 มาทิลเด ในระยะ 1,212 กิโลเมตร ขณะที่เดินทางด้วยความเร็ว 9.93 กิโลเมตรต่อวินาที และในขณะที่เข้าใกล้ ยานลำนี้ได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวกว่า 500 ภาพ[9] ทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการคำนวณขนาดและมวลของดาวได้แม่นยำมากขึ้น[4] อย่างไรก็ตาม มีภาพถ่ายครึ่งทรงกลมของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เพียงภาพเดียวที่ได้มีการบันทึกภาพไว้ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงที่สามที่มีการถ่ายภาพในระยะใกล้ ถัดจาก 951 แกสปรา และ 243 ไอด้า[10]

ลักษณะ

แก้
 
หนึ่งในหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่บน 253 มาทิลเด

253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์ที่มืดมาก ได้มีการจัดระดับความสว่างไว้ว่าอยู่ในระดับเดียวกับยางมะตอยดิบ[11] ส่วนประกอบหลักของดาวประกอบด้วยสารจำพวกคาร์บอนนาเคียสคอนไดรต์ และพื้นผิวของดาวส่วนใหญ่เป็นแร่ธาตุจำพวกซิลิเกต[12] นอกจากนี้ บนพื้นผิวดาวยังมีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่จำนวนมาก ชื่อของแต่ละหลุมจะตั้งชื่อตามเขตถ่านหินต่าง ๆ บนโลก[13] หลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดสองหลุมมีขนาดใกล้เคียงกับรัศมีของดาว[3] ได้แก่ อิชิกะริ ซึ่งมีขนาด 29.3 กิโลเมตร และการู ซึ่งมีขนาด 33.4 กิโลเมตร การตกกระทบดังกล่าวดูเหมือนจะทำให้ปริมาตรขนาดใหญ่ของ 253 มาทิลเดหลุดหายไป โดยดูจากขอบระยะเชิงมุมของหลุมอุกกาบาตเหล่านี้[9] จากการสังเกตพื้นผิวภายในหลุม พบมีว่าความสว่างและสีของหลุมอุกกาบาตใกล้เคียงกับพื้นผิวของดาว และไม่ปรากฏว่าพื้นผิวมีการแยกออกเป็นชั้น ๆ แต่อย่างใด จึงคาดว่าส่วนประกอบของ 253 มาทิลเด มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน มีข้อบ่งชี้ว่ามีการเคลื่อนของวัตถุทางตางลาด[3]

จากการวัดความหนาแน่นโดยยานเนียร์ชูเมกเกอร์ พบว่า 253 มาทิลเด มีความหนาแน่นประมาณ 1,300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของความหนาแน่นของคาร์บอนนาเคียสคอนไดรต์ทั่วไป แสดงให้เห็นว่าภายในประกอบด้วยกองหินที่รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ[4] ในภายหลังได้มีการศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งระบบเลนส์ปรับค่าว่าภายในของดาวเคราะห์น้อยประเภท C จำนวนมากก็มีลักษณะเป็นเช่นนี้ (เช่น 45 ยูจีเนีย 90 แอนไทโอปี 87 ซิลเวีย และ 121 เฮอร์ไมโอนี) ปริมาตรภายในของ 253 มาทิลเดกว่าร้อยละ 50 เป็นอวกาศ อย่างไรก็ตาม แนวหน้าผายาว 20 กิโลเมตรได้แสดงให้เห็นว่าดาวมีโครงสร้างเป็นวัตถุแข็ง จึงอาจมีส่วนประกอบขนาดใหญ่อยู่ภายในดาวด้วย[10] ความหนาแน่นภายในที่ต่ำเป็นตัวส่งคลื่นการกระแทกที่เลวตลอดพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งช่วยรักษาลักษณะภูมิประเทศให้อยู่ในระดับสูง[3]

วงโคจรของ 253 มาทิลเดมีความเยื้อง ทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้โคจรไปอยู่บริเวณขอบนอกของแถบดาวเคราะห์น้อย อย่างไรก็ตาม วงโคจรของ 253 มาทิลเด อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ซึ่งไม่ตัดผ่านวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงใดเลย 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราห์น้อยที่มีอัตราการหมุนรอบตัวเองช้าที่สุดดวงหนึ่งเท่าที่มีการค้นพบ คือประมาณ 17.4 วัน ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-24 ชั่วโมง[14] และเนื่องจากการมีอัตราการหมุนรอบตัวเองที่ช้ามากนี้ จึงทำให้ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ สามารถถ่ายภาพพื้นผิวของดาวได้เพียง 60% สาเหตุของการมีอัตราการหมุนรอบตัวเองที่ช้ามากอาจมาจากการมีดาวบริวารโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อยู่ แต่จากการสำรวจของยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ไม่พบวัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 กิโลเมตร ในบริเวณรอบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เป็นระยะ 20 เท่าของรัศมีดาว[15]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ

แก้

หมายเหตุ (1): สำหรับระยะกึ่งแกนเอก a, คาบดาราคติ T และความเยื้องศูนย์กลาง e, อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจรสามารถหาได้จาก:

 

ดูเพิ่มที่: H. St̀eocker, J. Harris (2541). Handbook of Mathematics and Computational Science. Springer. pp. หน้า 386. ISBN 0-387-94746-9.

หมายเหตุ (2): สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่มีมวล m, รัศมี r และ G เป็นค่านิจโน้มถ่วงสากล จากกฎของนิวตันจะได้ว่า แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว g มีค่าเท่ากับ:

 

หมายเหตุ (3): สำหรับแรงดึงดูดที่พื้นผิว g และรัศมี r จะมีความเร็วหลุดพ้นคือ:

 

หมายเหตุ (4): สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่มีอัตราสะท้อนกลับของแสง α, ระยะกึ่งแกนเอก a, อัตราปล่อยรังสีอินฟราเรด ε (~0.9), ความสว่างของแสงอาทิตย์   และ σ เป็นค่าคงตัวของสเตฟาน-โบลทซ์แมนน์ จะมีอุณหภูมิเฉลี่ย T คือ:

 

ดูเพิ่มที่: Torrence V. Johnson, Paul R. Weissman, Lucy-Ann A. McFadden (2550). Encyclopedia of the Solar System. Elsevier. pp. หน้า 294. ISBN 0-12-088589-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Moore, Sir Patrick (2542). The Wandering Astronomer. CRC Press. ISBN 0-7503-0693-9.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Yeomans, Donald K. (29 ส.ค. 2546). "253 Mathilde". JPL Small-Body Database Browser. NASA. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 J. Veverka; และคณะ (2542). "NEAR Encounter with Asteroid 253 Mathilde: Overview". Icarus. 140: 3–16. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 D. K. Yeomans; และคณะ (2540). "Estimating the mass of asteroid 253 Mathilde from tracking data during the NEAR flyby". Science. 278 (5346): 2106–9. PMID 0009405343. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Stefano Mottola; และคณะ (2538). "The slow rotation of 253 Mathilde". Planetary and Space Science. 43 (12): 1609–1613. สืบค้นเมื่อ 4 ก.พ. 2550. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 Savage, D.; Young, L.; Diller, G.; Toulouse, A. (กุมภาพันธ์ 2539). "Near Earth Asteroid Rendezvous (NEAR) Press Kit". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Williams, David R. (18 ธ.ค. 2544). "NEAR Flyby of Asteroid 253 Mathilde". NASA. สืบค้นเมื่อ 10 ส.ค. 2549. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Raab, Herbert (2545). "Johann Palisa, the most successful visual discoverer of" (PDF). Astronomical Society of Linz. สืบค้นเมื่อ 27 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 Williams, David R. (December 18, 2001). "NEAR Flyby of Asteroid 253 Mathilde". NASA. สืบค้นเมื่อ 2006-08-10.
  10. 10.0 10.1 Cheng, Andrew F. (2547). "Implications of the NEAR mission for internal structure of Mathilde and Eros". Advances in Space Research. 33 (9): 1558–1563. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. Pon, Brian (30 มิ.ย. 2542). "Pavement Albedo". Heat Island Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 27 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. Kelley, M. S.; Gaffey, M. J.; Reddy, V. (12–16 มี.ค. 2550). "Near-IR Spectroscopy and Possible Meteorite Analogs for Asteroid (253)". 38th Lunar and Planetary Science Conference. ลีกซิตี, เท็กซัส: Lunar & Planetary Institute. pp. หน้า 2366. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite conference}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Blue, Jennifer (29 ส.ค. 2550). "Categories for Naming Features on Planets and Satellites". USGS. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. Lang, Kenneth R. (2546). "2. Asteroids and meteorites, Size, color and spin". NASA's Cosmos. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. W. J. Merline; และคณะ (2541). "Search for Satellites of 253 Mathilde from Near-Earth Asteroid Rendezvous Flyby Data". Meteoritics & Planetary Science. 33: A105. doi:10.1006%2Ficar.1999.6120. สืบค้นเมื่อ 29 ส.ค. 2550. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้