ไฮเนอเกิน (บริษัท)

บริษัทไฮเนอเกินจำกัด (Heineken N.V.) เป็นบริษัทผลิตเบียร์สัญชาติดัตช์ ก่อตั้งขึ้นโดยเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน ชาวดัตช์ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1864 เป็นเจ้าของโรงเบียร์กว่า 165 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลกในปี ค.ศ. 2017 ผลิตเบียร์และจัดจำหน่ายเบียร์และไซเดอร์กว่า 250 ประเภท มีพนักงานราว 73,000 คน[4]

บริษัทไฮเนเกินจำกัด
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
ISINNL0000009165
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ก่อตั้ง15 กุมภาพันธ์ 1864; 160 ปีก่อน (1864-02-15)
ผู้ก่อตั้งเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ฌอง-ฟรองซัวส์ ฟัน บ็อกซ์เมร์ (ประธาน/CEO)[1]
โลเรนซ์ เดบรูซ์(CFO)[1]
ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น
รายได้เพิ่มขึ้น 21.888 billion (2017)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น €3.129 billion (2014)[3]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น €1.758 billion (2014)[3]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น €34.830 billion (2014)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น €12.409 billion (2014)[3]
พนักงาน
76,136 (2014)[3]
เว็บไซต์theheinekencompany.com

ในปี ค.ศ. 2015 บริษัทผลิตเบียร์กว่า 18,830 ล้านลิตรทำรายได้ทั่วโลกราว 20,511 พันล้านยูโร[5] ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของยุโรปและเป็นบริษัทเบียร์ยักษ์ใหญ่ของโลกในด้านปริมาณการผลิต[6] โรงเบียร์ของไฮเนอเกินตั้งอยู่ที่เมืองซูเตอร์เวาเดอในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ เซร์โทเคนบอสในจังหวัดนอร์ทบราบรันต์ และไวล์เรอในจังหวัดลิมบูร์กของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่โรงเบียร์ต้นกำเนิดในกรุงอัมสเตอร์ดัมนั้นปิดตัวลงไปในแล้วในปี ค.ศ. 1988 และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม

ประวัติ แก้

เคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน แก้

บริษัทไฮเนอเกิน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1864 เมื่อเคราร์ด อาดรียาน ไฮเนอเกิน วัย 22 ปีซื้อโรงเบียร์ที่มีชื่อว่า เดอ โฮยแบร์ก (แปลว่า กองหญ้าแห้ง) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ต่อมามีการใช้ยีสต์หมักนอนก้นมาใช้ในกระบวนการหมักเบียร์ในปี ค.ศ. 1869 และเปลี่ยนชื่อโรงเบียร์เป็น สมาคมโรงเบียร์ไฮเนอเกิน (Heineken's Bierbrouwerij Maatschappij หรือ HBM) เมือปี ค.ศ. 1873 แล้วเปิดโรงเบียร์แห่งที่สองที่รอตเตอร์ดามในปีถัดมา จากนั้นเมื่อปี ค.ศ. 1886 ดร.เอลิยง นักเรียนของหลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้พัฒนายีสต์สายพันธุ์ใหม่ชื่อ ไฮเนเคิน A-ยีสต์ ขึ้นที่ห้องวิจัยไฮเนอเกิน ทำให้เบียร์มีลักษณะเฉพาะที่เป็นที่นิยม ยีสต์ชนิดนี้ยังถูกใช้เป็นส่วนผสมของเบียร์ไฮเนอเกินจนถึงปัจจุบัน

เฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน แก้

ต่อมา เฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน บุตรชายของผู้ก่อตั้งเข้าบริหารบริษัทในช่วง ค.ศ. 1917 ถึง 1940 ในช่วงนี้ ไฮเนอเกินได้พัฒนาเทคนิคให้สามารถคงคุณภาพของเบียร์ไว้ได้แม้จะผลิตในปริมาณมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทหันมาเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น ไฮเนอเกินเป็นบริษัทแรกที่ส่งออกเบียร์ไปสู่นิวยอร์กเพียงช่วงเวลาสามวันหลังการยกเลิกกฎหมายห้ามจำหน่ายเบียร์ในสหรัฐอเมริกา นับจากวันนั้น ไฮเนอเกินยังคงเป็นบริษัทเบียร์ต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

อัลเฟรด เฮนรี ไฮเนอเกิน แก้

ต่อมา อัลเฟรด เฮนรี ไฮเนอเกิน บุตรชายของเฮนรี ปิแอร์ ไฮเนอเกิน เข้ารับช่วงบริหารต่อในปี ค.ศ. 1940 ถึง 1971ในตำแหน่งประธานของบอร์ดบริหาร อัลเฟรดเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการขยายกิจการของไฮเนอเกินไปสู่ตลาดโลก และยังคงทำงานกับบริษัทจนสิ้นวาระสุดท้ายของชีวิตในปี ค.ศ. 2002

ในยุคนี้ ไฮเนอเกินเข้าซื้อหุ้นจากบริษัทเบียร์คู่แข่งและทยอยปิดกิจการบริษัทเหล่านั้นไปโดยเฉพาะโรงเบียร์ขนาดเล็ก จากนั้นได้ควบรวมกิจการกับเบียร์อัมสเติล (Amstel) ในปี ค.ศ. 1975 และเปิดโรงเบียร์ใหม่ที่ซูเตอร์เวาเดอ โรงเบียร์ของอัมสเติลถูกปิดไปในปี ค.ศ. 1980 และย้ายฐานการผลิตไปที่ซูเตอร์เวาเดอและเซร์โทเคนบอส

ปัจจุบัน แก้

ไฮเนอเกินยังคงเดินหน้าซื้อและควบรวมกิจการของบริษัทเบียร์ข้ามชาติในอีกหลายทวีป จนปัจจุบัน เป็นเจ้าของโรงเบียร์กว่า 165 แห่งใน 70 ประเทศ โดยในประเทศไทยนั้นมี บริษัทไทยเอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Executive Team". Heineken. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 6 July 2015.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 [1]
  4. "Press Release". Heineken. 20 January 2017. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  5. "Heineken N.V. 2015 Annual Report". Heineken. Heineken. 17 February 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  6. "Company Profile". Heineken. Heineken N.V. 2017. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017. With recent acquisitions in Africa, India, Asia and Latin America, we are continuing to increase our presence within emerging markets, which will contribute to our ongoing growth.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้