ประเทศโกตดิวัวร์

(เปลี่ยนทางจาก ไอวอรีโคสต์)

8°N 5°W / 8°N 5°W / 8; -5

สาธารณรัฐโกตดิวัวร์

République de Côte d'Ivoire (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของโกตดิวัวร์
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: 'เอกภาพ – ระเบียบวินัย – แรงงาน'
(ฝรั่งเศส: ‘Union – Discipline – Travail’)
เมืองหลวงยามูซูโกร (โดยนิตินัย)
อาบีจาน (โดยพฤตินัย)
6°51′N 5°18′W / 6.850°N 5.300°W / 6.850; -5.300
เมืองใหญ่สุดอาบีจาน
ภาษาราชการฝรั่งเศส
ภาษาพื้นเมือง
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2018)
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญภายใต้ระบบรัฐสภา
Alassane Ouattara
Tiémoko Meyliet Koné
Robert Beugré Mambé
สภานิติบัญญัติรัฐสภาโกตดิวัวร์
วุฒิสภา
รัฐสภา
ประวัติ
• ก่อตั้งสาธารณรัฐ
4 ธันวาคม ค.ศ. 1958
• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
7 สิงหาคม ค.ศ. 1960
พื้นที่
• รวม
322,463 ตารางกิโลเมตร (124,504 ตารางไมล์) (อันดับที่ 68)
1.4[2]
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
26,378,274[3] (อันดับที่ 53)
63.9 ต่อตารางกิโลเมตร (165.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 139)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
144.497 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 79)
5,360 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
61.502 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
2,281 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีนี (ค.ศ. 2015)Steady 41.5[5]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.538[6]
ต่ำ · อันดับที่ 162
สกุลเงินWest African CFA franc (XOF)
เขตเวลาUTC (เวลามาตรฐานกรีนิช)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+225
รหัส ISO 3166CI
โดเมนบนสุด.ci
  1. รวมชาวเลบานอนประมาณ 130,000 คนและชาวฝรั่งเศส 14,000 คน

โกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: Côte d'Ivoire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอวอรีโคสต์ (อังกฤษ: Ivory Coast) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (ฝรั่งเศส: République de Côte d'Ivoire) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก มีเมืองหลวงคือยามูซูโกร ซึ่งอยู่ใจกลางของประเทศ ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจคืออาบีจาน มีพรมแดนติดกับกินีทางตะวันตกเฉียงเหนือ ไลบีเรียทางทิศตะวันตก มาลีทางตะวันตกเฉียงเหนือ บูร์กินาฟาโซทางตะวันออกเฉียงเหนือ กานาทางตะวันออก และอ่าวกินีทางใต้ ด้วยจำนวนประชากร 30.9 ล้านคนใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์จึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามในแอฟริกาตะวันตก ภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศส และภาษาพื้นเมือง โดยรวมแล้วมีภาษาต่าง ๆ ที่พูดกันประมาณ 78 ภาษาในโกตดิวัวร์ ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนา ประเทศมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาอิสลาม คริสต์ และศาสนาพื้นเมือง เช่น ลัทธิวิญญาณนิยม[7]

ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคม โกตดิวัวร์เป็นที่ตั้งของรัฐหลายแห่ง รวมถึงกยามาน, จักรวรรดิคอง และเบาเล ดินแดนนี้กลายเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2386 และได้รับการรวมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1893 ในช่วงการอาณานิคมในแอฟริกา โกตติวัวร์ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1960 โดย เฟลิกซ์ ฮูฟูเอต์-บวนญี ซึ่งปกครองประเทศจนถึง ค.ศ. 1993 โกตติวัวร์ค่อนข้างมีเสถียรภาพตามมาตรฐานภูมิภาคและได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านในแอฟริกาตะวันตก ขณะเดียวกันก็รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศส เสถียรภาพของประเทศลดลงเนื่องจากการรัฐประหารใน ค.ศ. 1999 และสงครามกลางเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 2002 ถึง 2007[8] และอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 2010–2011 มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้ในปี 2559[9]

โกตดิวัวร์เป็นสาธารณรัฐที่มีอำนาจบริหารสูงสุดเป็นของประธานาธิบดี ด้วยการผลิตกาแฟและโกโก้ โกตติวัวร์จึงกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 จากนั้นจึงประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งก่อให้เกิดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมที่ขยายไปจนถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงนับตั้งแต่การกลับมาของสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองใน ค.ศ. 2011 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ถึง 2023 เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ย 7.1% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสองในแอฟริกาและเป็นอัตราที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสี่ในโลก[10] ใน ค.ศ. 2023 โกตดิวัวร์มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงเป็นอันดับสองในแอฟริกาตะวันตกตามหลังกาบูเวร์ดี[11] ใน ค.ศ. 2020 โกตดิวัวร์เป็นผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลกและมีรายได้สูงในภูมิภาคนี้[12] แต่เศรษฐกิจยังคงต้องพึ่งพาการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีการผลิตพืชของเกษตรกรรายย่อยเป็นสำคัญ[2]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่จำแนกภูมิอากาศแบบเคิปเปนของโกตดิวัวร์

โกตดิวัวร์เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกของทะเลทรายซาฮารา มีพรมแดนติดกับประเทศไลบีเรียและประเทศกินีทางทิศตะวันตก ประเทศมาลีและประเทศบูร์กินาฟาโซทางทิศเหนือ ประเทศกานาทางทิศตะวันออก และอ่าวกินี (มหาสมุทรแอตแลนติก) ทางทิศใต้ ประเทศนี้อยู่ระหว่างละติจูด 4° และ 11°N และลองจิจูด 2° และ 9°W พื้นที่ประมาณร้อยละ 64.8 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ดินทำกินมีจำนวนร้อยละ 9.1 ทุ่งหญ้าถาวรร้อยละ 41.5 และพืชผลถาวรร้อยละ 14.2 มลพิษทางน้ำเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่

ความหลากหลายทางชีวภาพ

แก้

โกตดิวัวร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในแอฟริกาตะวันตก มีสัตว์มากกว่า 1,200 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 223 ชนิด นก 702 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 125 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 38 ชนิด และปลา 111 ชนิด รวมถึงพันธุ์พืชกว่า 4,700 ชนิด โดยประชากรสัตว์ป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระของประเทศ[13] โกตดิวัวร์มีอุทยานแห่งชาติ 9 แห่ง โดยอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดคืออุทยานแห่งชาติ Assgny ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 17,000 เฮกตาร์หรือ 42,000 เอเคอร์[14]

โกตดิวัวร์มีอีโครีเจียนบนบก 6 แห่ง ได้แก่ ป่ากินีตะวันออก ป่าดิบเขากินี ป่าที่ราบลุ่มกินีตะวันตก ป่ากินี-ทุ่งหญ้าสะวันนาโมเสก ทุ่งหญ้าสะวันนาซูดานตะวันตก และป่าชายเลนกินี[15] มีดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2018 ที่ 3.64 เต็ม 10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 143 ของโลก จาก 172 ประเทศ[16]

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Ivory Coast". Global Religious Futures. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-29. สืบค้นเมื่อ 1 July 2021.
  2. 2.0 2.1 "Côte d'Ivoire". The World Factbook. CIA Directorate of Intelligence. 24 July 2008. สืบค้นเมื่อ 8 August 2008.
  3. "Population by Country (2020)". Worldometer.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2020 - Côte d'Ivoire". imf.org. IMF. สืบค้นเมื่อ 13 October 2020.
  5. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Human Development Report 2020, p. 343–346
  7. "RECENSEMENT GENERAL DE LA POPULATION ET DE L'HABITAT 2021 RESULTATS GLOBAUX DEFINITIFS" (PDF). Institut National de la Statistique (INS) (ภาษาฝรั่งเศส). October 2022.
  8. "Loi n° 2000-513 du 1er août 2000 portant Constitution de la République de Côte d'Ivoire" (PDF). Journal Officiel de la République de Côte d'Ivoire (ภาษาฝรั่งเศส). 42 (30): 529–538. 3 August 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2024-02-19. {{cite journal}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help),
  9. "Ivory Coast backs new constitution in landslide vote, opposition cries foul". 2 November 2016.
  10. IMF. "World Economic Outlook database: October 2023". สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.
  11. IMF. "World Economic Outlook database: October 2023". สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.
  12. "Ivory Coast country profile". BBC News. 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  13. "COTE D' IVOIRE (IVORY COAST)". Monga Bay.
  14. "Parc national d'Azagny". United Nations Environment Programme. 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
  15. Dinerstein, Eric; Olson, David; และคณะ (2017). "An Ecoregion-Based Approach to Protecting Half the Terrestrial Realm". BioScience. 67 (6): 534–545. doi:10.1093/biosci/bix014. ISSN 0006-3568. PMC 5451287. PMID 28608869.
  16. Grantham, H. S.; Duncan, A.; และคณะ (2020). "Anthropogenic modification of forests means only 40% of remaining forests have high ecosystem integrity - Supplementary Material". Nature Communications. 11 (1): 5978. Bibcode:2020NatCo..11.5978G. doi:10.1038/s41467-020-19493-3. ISSN 2041-1723. PMC 7723057. PMID 33293507.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การค้า