ไวทยะ (สันสกฤต: वैद्य เบงกอล: বৈদ্য มลยาฬัม: വാദ്ധ്യാർ) หรือถอดรูปตรงกับภาษาไทยคำว่า เวทย์ หรือ แพทย์ เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลว่า "แพทย์"[1] นอกจากนี้ยังปรากฏคำนี้ใช้ในภาษาอินโด-อารยันอื่น ๆ เช่น ภาษาฮินดี[2] โดยทั่วไปคำนี้ใช้ในประเทศอินเดียเพื่อเรียกบุคคลที่ปฏิบัติอายุรเวท ระบบการแพทย์พื้นถิ่นของอินเดีย[3] ไวทยะอาวุโสหรือไวทยะระดับอาจารย์จะเรียกว่า ไวทยราช (Vaidyarāja; แพทยราช) เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ส่วนไวทยะที่สำเร็จการฝึกฝนและร่ำเรียนจากทุกตำราของอายุรเวทรวมถึงเชี่ยวชาญในการรักษาด้วยอายุรเวทจะเรียกว่า ปรนาจารย์ (Pranaacharya) ราชสกุลในอินเดียบางตระกูลมักมีไวทยะประจำครอบครัว และเรียกว่าเป็น ราชไวทยะ (ราชแพทย์)[4][5]

ไวทยนาถมนเทียร หรือ แพทยนาถมนเทียร ในเทวฆัร รัฐฌารขัณฑ์

นามสกุล แก้

"ไวทยะ" ยังปรากฏใช้เป็นนามสกุลในแถบอินเดียเหนือและตะวันตก[6] บุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีนามสกุลนี้ เช่น จินตมัณ วินายก ไวทยะ, อรุณ ศรีธร ไวทยะ, ลักษมัณ ชคันนาถ ไวทยะ, นารายัณ ชคันนาถ ไวทยะ เป็นต้น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Monier-Williams Sanskrit-English Dictionary, Online Edition".
  2. "DSAL Hindi Dictionary".[ลิงก์เสีย]
  3. Ember, Carol R. Encyclopedia of medical anthropology: health and illness in the ... Vol. 2.
  4. Hutchison, Rose. Gazetteer of the Chamba State.
  5. Agrawal, S. P. Development/digression diary of India: 3D companion volume to Information ...
  6. "Vaidya Name Meaning". Ancestry.com. สืบค้นเมื่อ 18 November 2018.