วิตามิน

(เปลี่ยนทางจาก ไวตามิน)

วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อย[1] เรียกสารประกอบเคมีอินทรีย์ (หรือชุดสารประกอบที่สัมพันธ์กัน) ว่า วิตามิน ต่อเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์สารนั้นได้ในปริมาณเพียงพอ และต้องได้รับจากอาหาร ฉะนั้น คำว่า "วิตามิน" จึงขึ้นอยู่กับทั้งสภาวะแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) ถือเป็นวิตามินสำหรับมนุษย์ แต่ไม่ถือเป็นวิตามินสำหรับสัตว์อื่นส่วนใหญ่ การเสริมวิตามินสำคัญต่อการรักษาปัญหาสุขภาพบางอย่าง แต่มีหลักฐานประโยชน์การใช้ในผู้มีสุขภาพดีน้อย

ตามธรรมเนียม คำว่า วิตามิน ไม่รวมสารอาหารสำคัญอื่น เช่น แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น หรือกรดอะมิโนจำเป็น (ซึ่งร่างกายต้องการสารเหล่านี้ในปริมาณมากกว่าวิตามินมาก) หรือสารอาหารอื่นอีกมากที่ส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องการไม่บ่อย[2] ในปัจจุบัน ระดับสากลรับรองวิตามินอย่างสากลสิบสามชนิด วิตามินจำแนกโดยกัมมันตภาพทางชีวภาพและเคมี ไม่ใช่โครงสร้าง ฉะนั้น วิตามินแต่ละชนิดจึงหมายถึงสารประกอบวิตาเมอร์ (vitamer) ซึ่งล้วนแสดงกัมมันตภาพทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับวิตามินหนึ่ง ๆ ชุดสารเคมีดังกล่าวจัดกลุ่มตามชื่อวิตามิน "ระบุทั่วไป" เรียงตามอันดับอักษร เช่น "วิตามินเอ" ซึงรวมสารประกอบเรตินัล เรตินอล และแคโรทีนอยด์ที่ทราบกันอีกสี่ชนิด วิตาเมอร์ตามนิยามสามารถเปลี่ยนเป็นรูปกัมมันต์ของวิตามินในร่างกายได้ และบางครั้งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตาเมอร์อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกัน

วิตามินมีหน้าที่ทางชีวเคมีหลากหลาย วิตามินบางตัวมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเป็นตัวควบคุมเมแทบอลิซึมของแร่ธาตุ (เช่น วิตามินดี) บางตัวควบคุมการเจริญและการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะของเซลล์และเนื้อเยื่อ เช่น วิตามินเอบางรูป หน้าที่อื่นของวิตามิน เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น วิตามินอีและวิตามินซีในบางครั้ง) วิตามินจำนวนมากที่สุด วิตามินบีคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของโคแฟกเตอร์เอนไซม์ ซึ่งช่วยเอนไซม์ทำงานเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเมแทบอลิซึม ในบทบาทนี้ วิตามินอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอนไซม์ที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่พรอสเธติก (prosthetic group) ตัวอย่างเช่น ไบโอตินเป็นส่วนของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกรดไขมัน วิตามินยังอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดน้อยกว่ากับตัวเร่งปฏิกิริยาเอนไซม์ คือ โคเอนไซม์ ซึ่งเป็นโมเลกุลจับได้ซึ่งมีหน้าที่นำหมู่เคมีหรืออิเล็กตรอนระหว่างโมเลกุลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดโฟลิกอาจนำหมู่เมทิล ฟอร์มิล และเมทีลินในเซลล์ แม้ว่าบทบาทเหล่านี้ในการสนับสนุนปฏิกิริยาเอนไซม์-สารตั้งต้นจะเป็นหน้าที่ของวิตามินซึ่งทราบกันดีที่สุด ทว่า หน้าที่อื่นของวิตามินก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน[3]

เมื่อกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 มีเม็ดเสริมอาหารวิตามินบีคอมเพลกซ์ที่สกัดจากยีสต์และวิตามินซีกึ่งสังเคราะห์เชิงพาณิชย์วางขายเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้น วิตามินได้รับจากอาหารเพียงทางเดียว และปกติการเปลี่ยนอาหาร (ตัวอย่างเช่น ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฤดูเพาะปลูกหนึ่ง ๆ) เปลี่ยนชนิดและปริมาณวิตามินที่ได้รับอย่างมาก ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มีการผลิตวิตามินเป็นสารเคมีโภคภัณฑ์และมีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสารปรุงแต่งวิตามินรวมทั้งกึ่งสังคราะห์และสังเคราะห์ราคาไม่แพงอย่างแพร่หลายมาก

รายการวิตามิน แก้

วิตามินแต่ละชนิดใช้ในหลายปฏิกิริยา ฉะนั้น ส่วนใหญ่จึงมีหลายหน้าที่[4]

ชื่อบอกทั่วไปของวิตามิน ชื่อเคมีวิตาเมอร์ (รายการไม่สมบูรณ์) สภาพละลายได้ ปริมาณที่แนะนำ
(ชาย อายุ 19–70 ปี)[5]
โรคจากการขาด ระดับปริมาณได้รับบน
(UL/วัน)[5]
โรคจากขนาดเกิน แหล่งอาหาร
วิตามินเอ เรตินอล, เรตินาล, และ
แคโรทีนอยด์สี่ชนิด
รวมทั้ง บีตา-แคโรทีน
ไขมัน 900 ไมโครกรัม ตาบอดกลางคืน, หนังคางคก, และ กระจกตาน่วม[6] 3,000 ไมโครกรัม ภาวะวิตามินเอเกิน ตับ ไข่ ส้ม ผลไม้สีเหลืองสุก ผักใบเขียว แครอท ฟักทอง ผักโขมฝรั่ง ปลา นมถั่วเหลือง นม
วิตามินบี1 ไทอามีน น้ำ 1.2 มิลลิกรัม โรคเหน็บชา, กลุ่มอาการเวอร์นิเก–คอร์ซาคอฟ N/D[7] ง่วงนอนหรือกล้ามเนื้อผ่อนคลายในขนาดสูง[8] เนื้อหมู โอ๊ตมีล (oatmeal) ข้าวซ้อมมือ ผัก มันฝรั่ง ตับ ไข่
วิตามินบี2 ไรโบเฟลวิน น้ำ 1.3 มิลลิกรัม โรคขาดวิตามินบี 2, ลิ้นอักเสบ, โรคปากนกกระจอก N/D ผลิตภัณฑ์นม กล้วย ป๊อปคอร์น ถั่วสีเขียว หน่อไม้ฝรั่ง
วิตามินบี3 ไนอาซิน, ไนอะซินาไมด์ น้ำ 16.0 มิลลิกรัม โรคเพลแลกรา 35.0 มิลลิกรัม ตับเสียหาย (ขนาด > 2 ก./วัน)[9] และปัญหาอื่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผักหลายชนิด เห็ด ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว
วิตามินบี5 กรดแพนโทเทนิก น้ำ 5.0 มิลลิกรัม[10] ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน N/D ท้องร่วง อาจมีคลื่นไส้และอาการแสบร้อนกลางอก[11] เนื้อสัตว์ บล็อกโคลี อะโวคาโด
วิตามินบี6 ไพริด็อกซีน, ไพริด็อกซามีน, ไพริด็อกซัล น้ำ 1.3–1.7 มิลลิกรัม โลหิตจาง[12] โรคเส้นประสาทหลายเส้น 100 มิลลิกรัม การรับรู้อากัปกิริยาบกพร่อง เส้นประสาทเสียหาย (ขนาด > 100 มิลลิกรัม/วัน) เนื้อสัตว์ ผัก ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว กล้วย
วิตามินบี7 ไบโอติน น้ำ 30.0 ไมโครกรัม ผิวหนังอักเสบ ลำไส้เล็กอักเสบ N/D ไข่แดงดิบ ตับ ถั่วลิสง ผักใบเขียว
วิตามินบี9 กรดโฟลิก, กรดโฟลินิก น้ำ 400 ไมโครกรัม โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ (megaloblastic anemia) และการขาดระหว่างตั้งครรภ์สัมพันธ์กับความพิการของทารกแรกเกิด เช่น นิวรัลทิวบ์ (neural tube) บกพร่อง 1,000 ไมโครกรัม อาจบดบังอาการของการขาดวิตามินบี12 และผลอย่างอื่น ผักใบ พาสตา ขนมปัง ธัญพืช ตับ
วิตามินบี12 ไซยาโนโคบาลามิน, ไฮดรอกซีโคบาลามิน, เมทิลโคบาลามิน น้ำ 2.4 ไมโครกรัม โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่[13] N/D ผื่นคล้ายสิว [สาเหตุยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด] เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อื่นจากสัตว์
วิตามินซี กรดแอสคอร์บิก น้ำ 90.0 มิลลิกรัม ลักปิดลักเปิด 2,000 มิลลิกรัม วิตามินซีขนาดสูง (Vitamin C megadosage) ผลไม้และผักหลายชนิด ตับ
วิตามินดี คลอเลแคลซิเฟรอล, เออร์โกแคลซิเฟรอล ไขมัน 10 ไมโครกรัม[14] โรคกระดูกอ่อนในเด็กและโรคกระดูกน่วม 50 ไมโครกรัม ภาวะวิตามินดีเกิน ปลา ไข่ ตับ เห็ด
วิตามินอี โทโคเฟอรอล, โทโคไตรอีนอล ไขมัน 15.0 มิลลิกรัม การขาดน้อยมาก; การเป็นหมันในชายและการแท้งในหญิง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกเล็กน้อยในทารกแรกเกิด[15] 1,000 มิลลิกรัม พบภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้นในการศึกษาแบบสุ่มขนาดใหญ่ครั้งหนึ่ง[16] ผักและผลไม้หลายชนิด ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวกับเมล็ดพืช
วิตามินเค ฟิลโลควิโนน, เมนาควิโนน ไขมัน 120 ไมโครกรัม เลือดออกง่าย N/D เพิ่มเลือดจับลิ่มในผู้ป่วยที่ได้วาร์ฟาริน[17] ผักใบเขียว ไข่แดง ตับ

อ้างอิง แก้

  1. Lieberman, S and Bruning, N (1990). The Real Vitamin & Mineral Book. NY: Avery Group, 3, ISBN 0-89529-769-8
  2. Maton, Anthea; Jean Hopkins; Charles William McLaughlin; Susan Johnson; David LaHart; Jill D. Wright (1993). Human Biology and Health. Englewood Cliffs, New Jersey, USA: Prentice Hall. ISBN 0-13-981176-1. OCLC 32308337.
  3. Bolander FF (2006). "Vitamins: not just for enzymes". Curr Opin Investig Drugs. 7 (10): 912–5. PMID 17086936.
  4. Kutsky, R.J. (1973). Handbook of Vitamins and Hormones. New York: Van Nostrand Reinhold, ISBN 0-442-24549-1
  5. 5.0 5.1 Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001.
  6. Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin A เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2013-06-05). Retrieved on 2013-08-03.
  7. N/D= "Amount not determinable due to lack of data of adverse effects. Source of intake should be from food only to prevent high levels of intake" (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
  8. "Thiamin, vitamin B1: MedlinePlus Supplements". U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health.
  9. Hardman, J.G., บ.ก. (2001). Goodman and Gilman's Pharmacological Basis of Therapeutics (10th ed.). p. 992. ISBN 0071354697.
  10. Plain type indicates Adequate Intakes (A/I). "The AI is believed to cover the needs of all individuals, but a lack of data prevent being able to specify with confidence the percentage of individuals covered by this intake" (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
  11. "Pantothenic acid, dexpanthenol: MedlinePlus Supplements". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ 5 October 2009.
  12. Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin B6 เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2011-09-15). Retrieved on 2013-08-03.
  13. Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin B12 เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2011-06-24). Retrieved on 2013-08-03.
  14. Value represents suggested intake without adequate sunlight exposure (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
  15. The Merck Manual: Nutritional Disorders: Vitamin Introduction Please select specific vitamins from the list at the top of the page.
  16. Gaby, Alan R. (2005). "Does vitamin E cause congestive heart failure?". Townsend Letter for Doctors and Patients.
  17. Rohde LE, de Assis MC, Rabelo ER (2007). "Dietary vitamin K intake and anticoagulation in elderly patients". Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 10 (1): 1–5. doi:10.1097/MCO.0b013e328011c46c. PMID 17143047.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)