ไรโบส
ไรโบส (อังกฤษ: Ribose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรต ที่มีสูตรโมเลกุล C5H10O5 และมีองค์ประกอบเขียนแบบแนวราบคือ H−(C=O)−(CHOH)4−H ไรโบสในรูปที่พบทั่วไปในธรรมชาติคือ ดี-ไรโบส (d-ribose) นั้นเป็นองค์ประกอบของไรโบนิวคลีโอไทด์ ซึ่งก่อขึ้นเป็น RNA ดังนั้นสารประกอบนี้จึงจำเป็นต่อการโค้ด, ทรานสเลชัน, เรกูเลชัน และการแสดงออกของยีน คู่คล้ายกันทางโครงสร้างของไรโบสคือดีออกซีไรโบสซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเหมือน ๆ กันของ DNA ไรโบสในอีกรูปหนึ่งคือ แอล-ไรโบส (l-Ribose) นั้นเป็นน้ำตาลที่ไม่เกิดขึ้นในธรรมชาติ มีการสังเคราะห์ครั้งแรกโดยเอมีล ฟิชเชอร์ กับอ็อสคาร์ พีโลที (Oskar Piloty) ในปี 1891[1] จนกระทั่งในปี 1909 ฟีบัส เลวีน (Phoebus Levene) และวอลเตอร์ เจคอบส์ (Walter Abraham Jacobs) ได้ระบุให้ดี-ไรโบสเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (natural product), อีแนนทิโอเมอร์ ของฟิชเชอร์และพีโลที และเป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก[2][3][4] ฟิชเชอร์เลือกชื่อ "ไรโบส" เพราะว่าไรโบสนั้นเป็นการจัดเรียงใหม่บางส่วนของชื่อของน้ำตาลอีกชนิดหนึ่ง อาระบิโนส (arabinose) ที่ซึ่งไรโบสเป็นเอพิเมอร์ ที่คาร์บอน 2' ทั้งสองชื่อนี้จริง ๆ มีรากฐานมาจากกัมอารบิก (gum arabic) ที่ซึ่งใช้ในการเตรียมทั้งอาระบิโนสและแอล-ไรโบสในครั้งแรก[4][5]
d-Ribose | |
---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ชื่อตาม IUPAC | (2R,3R,4S,5R)-5-(hydroxymethyl)oxolane-2,3,4-triol |
ชื่ออื่น | d-Ribose |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [50-69-1][CAS] |
PubChem | |
DrugBank | DB01936 |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C5H10O5 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 150.13 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งสีขาว |
จุดหลอมเหลว |
95 °C, 368 K, 203 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 100 g/1 L (25 °C (77 °F)) |
Chiral rotation [α]D | −21.5° (H2O) |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
อัลโดเพนโทสที่เกี่ยวข้อง
|
อะราบิโนส ไซโลส ไลโซส |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง | ดีออกซีไรโบส |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |

ไรโบนิวคลีโอไซด์อะดีโนซีน, ไซตินีน, กวาโนซีน และ ยูรีดีน ล้วนเป็นอนุพันธ์ของบีตา-ดี-ไรโบฟิวราโนส (β-d-ribofuranose) จำพวกที่จำเป็นต่อกระบวนการเมตาบอลิกซึ่งประกอบด้วยphosphorylated ribose ได้แก่ ADP, ATP, coenzyme A,[6]:228–229 และ NADH ส่วน cAMP และ cGMP ทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งรอง (secondary messengers) ในบางวิถีส่งสัญญาณ (signaling pathways) และเป็นอนุพันธ์ไรโบสเช่นกัน ส่วนครึ่งหนึ่ง (moiety) ไรโบสสามารถพบได้ในสารทางเภสัชวิทยา เช่นยาปฏิชีวนะ neomycin และ paromomycin[7]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ Fischer, Emil; Piloty, Oscar (1891). "Ueber eine neue Pentonsäure und die zweite inactive Trioxyglutarsäure" [About a new pentonic acid and the second inactive trioxyglutaric acid]. Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft (ภาษาเยอรมัน). 24 (2): 4214–4225. doi:10.1002/cber.189102402322.
- ↑ Levene, P. A.; Jacobs, W. A. (1909). "Über Inosinsäure" [About inosic acid]. Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft (ภาษาเยอรมัน). 42 (1): 1198–1203. doi:10.1002/cber.190904201196.
- ↑ Levene, P. A.; Jacobs, W. A. (1909). "Über die Pentose in den Nucleinsäuren" [About the pentose in the nucleic acids]. Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft (ภาษาเยอรมัน). 42 (3): 3247–3251. doi:10.1002/cber.19090420351.
- ↑ 4.0 4.1 Jeanloz, Roger W.; Fletcher, Hewitt G. (1951). "The Chemistry of Ribose". ใน Hudson, Claude S.; Cantor, Sidney M. (บ.ก.). Advances in Carbohydrate Chemistry. Vol. 6. Academic Press. pp. 135–174. doi:10.1016/S0096-5332(08)60066-1. ISBN 9780080562650. PMID 14894350.
- ↑ Nechamkin, Howard (1958). "Some interesting etymological derivations of chemical terminology". Science Education. 42 (5): 463–474. Bibcode:1958SciEd..42..463N. doi:10.1002/sce.3730420523.
- ↑ Dewick, Paul M. (2013). "Oxygen as a Nucleophile: Hemicetals, Hemiketals, Acetals and Ketals". Essentials of Organic Chemistry: For Students of Pharmacy, Medicinal Chemistry and Biological Chemistry. John Wiley & Sons. pp. 224–234. ISBN 9781118681961.
- ↑ Bhutani, S. P. (2019). "Aldopentoses—The Sugars of Nucleic Acids". Chemistry of Biomolecules (2nd ed.). CRC Press. pp. 63–65. ISBN 9781000650907.