ไมโครทิวบูล[2] (อังกฤษ: Microtubule) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยทิวบูลินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของไซโทสเกเลตันและช่วยให้เซลล์ยูคารีโอตสามารถคงรูปร่างและโครงสร้างได้ ไมโครทิวบูลสามารถเจริญเติบโตได้ยาวถึง 50 ไมโครเมตร และมีพลวัติ (dynamic) สูงมาก เส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของไมโครทิวบูลอยู่ที่ 23 ถึง 27 nm[3] ในขณะที่เส้นผ่านศูนย์กลางชั้นในอยู่ที่ 11 ถึง 15 nm.[4] ไมโครทิวบูลเกิดจากการพอลิเมอไรส์ของโปรตีนไดเมอร์ที่ประอบด้วยโปรตีนทรงกลมสองอัน คือ อัลฟ่าและเบตาทิวบูลิน ซึ่งจะประกอบกันเป็นโปรโตฟิลาเมนต์ (protofilaments) ที่จากนั้นจะสามารเชื่อมต่อกันในในแนวข้าง (laterally) เพื่อก่อขึ้นเป็นท่อกลวงที่เรียกว่าไมโครทิวบูล[5] รูปแบบที่พบมากที่สุดของไมโครทิวบูลประกอบด้วยโปรโตฟิลาเมนต์ 13 อัน เรียงกันในแบบทรงท่อ (tubular arrangement)

Tubulin and Microtubule Metrics Infographic
ภาพอินฟอกราฟิก (infographic) เกี่ยวกับไมโครทิวบูล และทิวูลินเมทริกซ์ (tubulin metrices)[1]
เซลล์ไฟบรอบลาสต์ (fibroblast cell) ย้อมแบบฟลูออเรสเซต์ ในภาพสามารถระบุเห็น แอกติน (สีแดง) และไมโครทิวบูล (สีเขียว)

ไมโครทิวบูลนั้นมีความสำคัญต่อกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ เช่น การคงโครงสร้างของเซลล์ และประกอบกับไมโครฟิลาเมนต์ และอินเตอร์มีเดียตฟิลาเมนต์ขึ้นเป็นไซโทสเกเลตัน นอกจากนี้ไมโครทิวบูลยังประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างภายในของซิเลีย และแฟลกเจลลา ไมโครทิวบูลเป็นฐานรองรับในกระบวนการขนส่งสารภายในเซลล์, การเคลื่อนย้ายเวซิเคิลสำหรับการหลั่ง, การเคลื่อนที่ของออร์แกเนลล์ และการรวมในระดับมาโครโมเลกุลภายในเซลล์ (intracellular macromolecular assemblies) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ไดนีอิน (dynein) และ คิเนซิน (kinesin)[6] ในการแบ่งเซลล์นั้น ไมโครทิวบูลป็นองค์ประกอบสำคัญในสปินเดิลแอพพาราตัส (Spindle apparatus) ซึ่งดึงโครโมโซมออกจากกันในไมโตซิสของยูคารีโอต


อ้างอิง

แก้
  1. "Digital Downloads". PurSolutions (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-02-20.
  2. ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กำหนดให้ใช้ ไมโครทิวบูล ทับศัพท์คำว่า microtubule
  3. Ledbetter MC, Porter KR (1963). "A "microtubule" in plant cell fine structure". Journal of Cell Biology. 19 (1): 239–50. doi:10.1083/jcb.19.1.239. PMC 2106853. PMID 19866635.
  4. Chalfie M, Thomson JN (1979). "Organization of neuronal microtubules in the nematode Caenorhabditis elegans". Journal of Cell Biology. 82 (1): 278–89. doi:10.1083/jcb.82.1.278. PMC 2110421. PMID 479300.
  5. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-06. สืบค้นเมื่อ 2014-02-24.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. Vale RD (February 2003). "The molecular motor toolbox for intracellular transport". Cell. 112 (4): 467–80. doi:10.1016/S0092-8674(03)00111-9. PMID 12600311.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้