ไมโครซอฟท์ เอดจ์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ไมโครซอฟท์ เอดจ์ (อังกฤษ: Microsoft Edge) ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โค้ดเนม Project Spartan เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ โดยไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยมันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 และเปิดให้คนทั่วไปทดสอบในวันที่ 30 มีนาคม 2558 ซึ่งมันจะมาแทนที่ตัว Internet Explorer ในฐานะเบราว์เซอร์หลักบน Windows 10 ทั้งบนพีซี, สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
ผู้ออกแบบ | ไมโครซอฟท์ |
---|---|
นักพัฒนา | ไมโครซอฟท์ |
วันที่เปิดตัว | 29 กรกฎาคม 2015 |
รุ่นเสถียร | |
ภาษาที่เขียน | C++ |
เอนจินs | |
ระบบปฏิบัติการ | แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) iOS macOS 10.13 or later Windows 10, Windows Server 2012 หรือรุ่นใหม่กว่านั้น Linux |
แพลตฟอร์ม | IA-32 x86-64 ARM32 ARM64 |
รวมถึง | Windows 10 Windows 10 Mobile Windows 11 Xbox One and Xbox Series X/S system software |
ก่อนหน้า | Internet Explorer |
สัญญาอนุญาต | Proprietary software, based on an open source project[6][note 1] |
เว็บไซต์ | www |
ไมโครซอฟท์ เอดจ์ถูกดีไซน์ให้เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่เบาพร้อมกับเลย์เอาต์เอนจินที่สร้างขึ้นมารอบ ๆ มาตรฐานเว็บที่ "ออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันกับเว็บสมัยใหม่" เบราว์เซอร์ตัวนี้ได้ถอดความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีเก่า ๆ อย่างเช่น ActiveX และ BHO และเลือกแทนที่ด้วยการรองรับส่วนขยายและการผนวกรวมของบริการอื่น ๆ ของไมโครซอฟท์ เช่น ผู้ช่วยส่วนบุคคล Cortana, OneDrive รวมถึงระบบการจดบันทึกบนหน้าเว็บ และโหมดที่ทำมาเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ
ปัจจุบันไมโครซอฟท์กำลังทำเอดจ์ตัวใหม่ที่ใช้เอนจินโครเมียมของกูเกิล[7][8] ซึ่งเอดจ์ตัวใหม่นี้จะรองรับวินโดวส์เวอร์ชันย้อนหลังคือ วินโดวส์ 7 และ 8, วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2, 2012 และ 2012 R2 รวมถึงระบบปฏิบัติการตัวอื่น คือ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ โดยมีกำหนดปล่อยเวอร์ชันเต็มในวันที่ 15 มกราคม 2563
การพัฒนา
แก้ในเดือนธันวาคมปี 2557 ที่ผ่านมา นักเขียนข่าวเทคโนโลยีสายไมโครซอฟท์จากเว็บไซต์ ZDNet อย่าง Mary Jo Foley รายงานว่า ไมโครซอฟท์กำลังพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ภายใต้โค้ดเนม "Spartan" สำหรับ Windows 10 เธอยืนยันว่า "Spartan" อาจได้รับเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แยกจาก Internet Explorer พร้อมกับยังปล่อยให้ Internet Explorer 11 คงอยู่ในระบบ ด้วยเหตุผลที่ว่าด้วยเรื่องของปัญหาความเข้ากันได้[9]
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2558 เว็บไซต์ The Verge ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "Spartan" จากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดของไมโครซอฟท์ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลที่บอกว่ามันจะมาแทนที่ Internet Explorer ทั้งบนเดสก์ท็อปและบนอุปกรณ์พกพาของ Windows 10[10] หลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 21 มกราคม 2558 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว "Spartan" ระหว่างงานเปิดแถลงข่าวที่เน้นไปที่ Windows 10[11] โดย "Spartan" จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แยกจาก Internet Explorer และจะใช้แบรนด์ใหม่ ขณะที่ช่วงเวลานั้น ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะใช้แบรนด์อะไรในการทำการตลาด อย่างไรก็ดีเว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้มีการเปิดเผยข้อมูลมาว่าอาจจะมีคำว่า "ไมโครซอฟท์" อยู่ในชื่อของเว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้[12]
"Spartan" นั้นเปิดให้คนทั่วไปทดสอบในฐานะเว็บเบราว์เซอร์หลักของ Windows 10 Technical Preview รหัส 10049 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558[13] โดยเอนจินใหม่ที่ถูกใช้ใน "Spartan" เคยถูกผนวกรวมใน Internet Explorer 11 บน Windows 10 รุ่นก่อนหน้านี้ และเอนจินดังกล่าวจะถูกใช้ใน Internet Explorer 11 รุ่นเต็มบน Windows 10 แต่ต่อมาไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่า Internet Explorer จะไม่ใช้เอนจินเดียวกันกับ "Spartan" และตัว "Spartan" จะแยกเอนจินกันใน Windows 10[14][15]
จนถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน ระหว่างคีย์โน้ตงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาของไมโครซอฟท์อย่าง Build Conference ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเบราว์เซอร์ "Spartan" จะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Microsoft Edge[16] และใช้โลโก้ที่ดัดแปลงมาจาก Internet Explorer เล็กน้อย ไมโครซอฟท์ "ยังคงยืนหยัดที่จะใช้ชื่อที่มีอักษร E นำหน้า ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปที่ยังคงสามารถคลิกที่ตัวอักษร "e" สีฟ้า สามารถรับรู้วิธีการเปิดเบราว์เซอร์ตัวใหม่"[17]
คุณสมบัติเด่น
แก้Microsoft Edge จะเป็นเบราว์เซอร์หลักทั้งบนพีซีและบนอุปกรณ์พกพาของ Windows 10 โดยจะแทนที่ Internet Explorer 11 และ Internet Explorer Mobile.[14] Edge ใช้เลย์เอาต์เอนจินตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า EdgeHTML ซึ่งพัฒนาต่อมาจากเอนจินเก่าอย่าง Trident[18] ซึ่ง "ออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันกับเว็บสมัยใหม่" โดยเอนจินใหม่ของ "Edge" จะถูกใช้เป็นค่าเริ่มต้นของ Windows 10 ในทุกอุปกรณ์ ไมโครซอฟท์เคยประกาศในช่วงแรกว่า Edge จะรองรับเอนจิน MSHTML สำหรับการรองรับการเข้ากันได้ในเว็บรูปแบบเก่า ทว่าภายหลังจากที่มีเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจกลับคำ และปล่อยให้เอนจินตัวเก่ายังอยู่เฉพาะใน Internet Explorer ขณะที่ Edge จะใช้แค่เอนจินใหม่เท่านั้น[19]
Edge นั้นไม่รองรับเทคโนโลยีเก่าแก่ อย่างเช่น ActiveX หรือแม้แต่ Browser Helper Objects และเลือกที่จะแทนที่ด้วยระบบส่วนขยาย[5][20][21] Internet Explorer 11 จะยังคงเปิดให้ผู้ใช้งานได้ใช้อยู่ควบคู่กับ Edge บน Windows 10 ด้วยสาเหตุที่ว่าด้วยเรื่องของความเข้ากันได้ พูดอีกนัยหนึ่งว่า มันจะยังคงรูปแบบที่ใกล้เคียงกับบน Windows 8.1 และไม่ใช้เอนจิน Edge เหมือนกับที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้[5][14][20]
Edge รวบรวมแพลตฟอร์มบริการของไมโครซอฟท์ โดยเบราว์เซอร์ตัวนี้ได้ผนวก Cortana เลขาส่วนบุคคลที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง, ระบบค้นหาเว็บต่าง ๆ และระบบค้นหาที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการค้นหา พร้อมแสดงผลลัพธ์ทันที่ที่แถบที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผู้ใช้สามารถวาดและจดโน้ตลงไปในหน้าเว็บ และสามารถบันทึกและแบ่งปันผ่าน OneDrive.[11] นอกจากนี้มันยังได้ผนวกคุณสมบัติที่มีชื่อว่า "รายการที่จะอ่าน" ที่สามารถซิงก์คอนเทนต์ระหว่างอุปกรณ์ และรองรับ "โหมดมุมมองการอ่าน" ที่จะตัดในส่วนที่ไม่จำเป็นในหน้าเว็บต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้อ่านหน้าเว็บได้ง่ายขึ้น[11]
ประสิทธิภาพ
แก้ในระยะแรกที่มีการทดสอบประสิทธิภาพของเอนจิน EdgeHTML (ที่ได้รวมระยะแรกของการเปิดให้ทดสอบในรุ่นทดสอบรุ่นแรกของ Edge ใน Windows 10 รหัส 10049) เปิดเผยว่าได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการประมวลผล JavaScript เมื่อเปรียบเทียบกับเอนจิน Trident 7 บน Internet Explorer 11 นอกจากนี้ Microsoft Edge ยังมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ Google Chrome 41 and Mozilla Firefox 37. ในแง่คะแนนด้านประสิทธิภาพผ่านระบบของ SunSpider พบว่า Edge ประมวลผลหน้าเว็บเร็วกว่าเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ [22] ขณะที่ระบบการทดสอบประสิทธิภาพอื่น ๆ ระบุว่าช้ากว่า Google Chrome, Mozilla Firefox และ Opera[23]
หลังจากที่ผลของการทดสอบประสิทธิภาพจากแหล่งทดสอบต่าง ๆ ได้เผยแพร่ออกมา ใน Windows 10 รหัส 10122 ได้พบความเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพอย่างเด่นชัดเมื่อเทียบกับ Internet Explorer 11 และ Microsoft Edge รุ่นที่อยู่ใน Windows 10 รหัส 10049 เมื่ออ้างอิงจากระบบการทดสอบประสิทธิภาพของไมโครซอฟท์เอง ซึ่งผลที่ได้ก็ออกมาใกล้เคียงกันกับระบบการทดสอบประสิทธิภาพของกูเกิลอย่าง Octane 2.0 และของแอปเปิลอย่าง Jetstream ที่ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า Edge ทำงานได้ดีกว่า Chrome และ Firefox [24]
การตอบรับ
แก้แผนงานเปลี่ยนไปใช้โครเมียมได้รับผลตอบรับแตกต่างกัน ถึงแม้จะทำให้การเข้ากันได้ของเว็บสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ตัวหลัก ๆ ดีขึ้น แต่ก็จะทำให้ความหลากหลายในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ลดลง และจะทำให้อิทธิพลของกูเกิ้ลเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้เลิกพัฒนาเอนจินของตัวเอง[25][26]
ส่วนแบ่งการตลาด
แก้ลิงก์เพิ่มเติม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Release notes for Microsoft Edge Mobile Stable Channel". 23 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Release notes for Microsoft Edge Mobile Stable Channel". 24 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Release notes for Microsoft Edge Stable Channel". 25 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMJ, Spider-Man ported to iOS+Android
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Weber, Jason (January 21, 2015). "Spartan and the Windows 10 January Preview Build". IEBlog. Microsoft.
- ↑ Novet, Jordan (พฤษภาคม 5, 2015). "Microsoft says it has no plans to open-source its new Edge browser … yet". VentureBeat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 22, 2017.
- ↑ Belfiore, Joe (2018-12-06), Microsoft Edge: Making the web better through more open source collaboration, Microsoft
- ↑ "Microsoft Edge and Chromium Open Source: Our Intent". Microsoft Edge Team. 6 December 2018. Retrieved 8 December 2018.
- ↑ Foley, Mary Jo (December 29, 2014). "Microsoft is building a new browser as part of its Windows 10 push". ZDNet. CBS Interactive.
- ↑ Warren, Tom (January 8, 2015). "Windows 10s new browser will have the most advanced features ever". The Verge. Vox Media.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Ingraham, Nathan (January 21, 2015). "Microsoft officially announces Spartan, its new web browser for Windows 10". The Verge. Vox Media.
- ↑ Warren, Tom (March 17, 2015). "Microsoft is killing off the Internet Explorer brand". The Verge. Vox Media.
- ↑ "Project Spartan gets its first public outing in new Windows 10 build". Ars Technica. Condé Nast Digital. March 30, 2015. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Warren, Tom (March 24, 2015). "Microsoft relegates Internet Explorer to a 'legacy engine' to make way for new browser". The Verge. Vox Media.
- ↑ Jacobsson Purewal, Sarah (February 19, 2015). "How to enable Spartan's Edge Rendering Engine in Windows 10". CNET. CBS Interactive.
- ↑ "The successor to Internet Explorer will be named Microsoft Edge". The Verge. April 29, 2015. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
- ↑ Sams, Brad (April 29, 2015). "Microsoft reveals Edge's new logo". สืบค้นเมื่อ May 1, 2015.
- ↑ Foley, Mary Jo (January 22, 2015). "Microsoft's Spartan browser: What's under the hood". ZDNet. CBS Interactive.
- ↑ Sams, Brad (March 24, 2015). "Microsoft says IE 11 will remain unchanged from Windows 8.1, Spartan is the future". Neowin.
- ↑ 20.0 20.1 Rossi, Jacob (November 11, 2014). "Living on the Edge – our next step in helping the web just work". IEBlog. Microsoft.
- ↑ Warren, Tom (January 27, 2015). "Microsoft reveals its Internet Explorer successor will support extensions". The Verge. Vox Media.
- ↑ Howse, Brett (January 25, 2015). "Internet Explorer Project Spartan Shows Large Performance Gains". AnandTech. Purch.
- ↑ "Windows 10 Browser Benchmarks: Spartan vs. IE, Chrome, Firefox, and Opera". April 1, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
- ↑ "Delivering fast JavaScript performance in Microsoft Edge". May 20, 2015.
- ↑ Shankland, Stephen. "Three years in, Microsoft gives up on independent Edge browser and embraces Google's Chromium instead". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
- ↑ Warren, Tom (2018-01-04). "Chrome is turning into the new Internet Explorer 6". The Verge. สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
- ↑ "Desktop Browser Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2022. สืบค้นเมื่อ August 24, 2022.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน