ไมเคิล ไรท์ บางครั้งสะกดว่า ไมเคิล ไรท[1] (อังกฤษ: Michael Wright; 12 เมษายน พ.ศ. 2483 — 7 มกราคม พ.ศ. 2552) หรือ เมฆ มณีวาจา เป็นนักเขียน นักคิด นักวิจารณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม และไทยคดีศึกษา

ไมเคิล ไรท์
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2483
เซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต7 มกราคม พ.ศ. 2552 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
นามปากกาไมเคิล ไรท์
ไมเคิล ไรท
อาชีพนักประวัติศาสตร์
สัญชาติไทย (เดิมถือสัญชาติอังกฤษ)

ประวัติ

แก้

ไมเคิล ไรท์ มีชื่อไทยว่า เมฆ มณีวาจา เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2483 ที่เมืองเซาแทมป์ตัน (Southampton) ประเทศอังกฤษ ไรท์ เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2504 ทำงานกับธนาคารกรุงเทพ แรกเริ่มในตำแหน่งพนักงานแปลเอกสาร ท้ายที่สุดเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า (ปัจจุบันคือ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

ไรท์เป็นผู้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยดีมาก ทั้งการพูด และการเขียน สารคดีของเขามีสำนวนการเขียนที่สนุกสนาน และมักนำเสนอแนวคิดการตีความต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งทางประวัติศาสตร์ และสังคม โดยเริ่มเขียนบทความลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 และเขียนเป็นประจำในวารสารนั้นเกือบทุกฉบับ และยังเขียนในวารสารอื่น และหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ

ไรท์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 ด้วยโรคมะเร็งปอด ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริรวมอายุได้ 69 ปี[2]

ผลงาน

แก้

มีการการรวบรวมบทความที่เขาเขียนขึ้นเป็นประจำลงนิตยสารต่างๆ ในเครือของมติชน ออกมาเป็นหนังสือหลายเล่ม อาทิ

  • กรีก-โรมันในอุษาคเนย์
  • ฝรั่งคลั่งสยาม
  • ฝรั่งอุษาคเนย์
  • ตะวันตกวิกฤติ คริสต์ศาสนา
  • โองการแช่งน้ำ
  • ฝรั่งหลังตะวันตก
  • พระพิฆเนศ
  • แผนที่แผนทาง
  • ไมเคิล ไรท์ มองโลก
  • โลกนี้มีอนาคตหรือ?
  • ฝรั่งคลั่งผี
  • ฝรั่งหายคลั่งหรือยัง

เกียรติประวัติ

แก้

มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ยกย่องให้เขาว่าเป็นผู้มีอุปการคุณต่อวงการไทยคดีศึกษา

อ้างอิง

แก้
  1. "มะเร็งปอดคร่า "ไมเคิล ไรท" นักคิด นักเขียน คอลัมนิสต์ชื่อดัง". ประชาไท. 8 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "มะเร็งปอดคร่า "ไมเคิล ไรท์" ฝรั่ง หัวใจไทย นักคิด นักเขียน ชื่อดัง ฌาปนกิจบ่าย 3 โมง 13 มกราฯ". มติชนออนไลน์. 7 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)