ไมเคิล เฟ็ลปส์
ไมเคิล เฟรด เฟ็ลปส์ (อังกฤษ: Michael Fred Phelps; 30 มิถุนายน ค.ศ. 1985 — ) เป็นนักกีฬาว่ายน้ำชาวอเมริกันและได้รับการยกย่องให้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์รวมทั้งเป็นหนึ่งในนักกีฬาโอลิมปิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[1][2][3][4][5] เขาได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก 69 หรียญ (23 เหรียญทอง 15 เหรียญเงิน และ 45 เหรียญทองแดง) โดยได้จากโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีก 8 เหรียญ (6 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง) โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน 8 เหรียญทอง และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่สหราชอาณาจักร 4 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงิน[6] ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นนักกีฬาที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกมากที่สุดในโลก[7] โดยลงแข่งขันได้เหรียญทองรวม 23 เหรียญ[8] จากทั้งหมด 28 เหรียญ (ข้อมูลหลังโอลิมปิกฤดูร้อน 2016)
เฟ็ลปส์ยังได้รับเลือกเป็นนักว่ายน้ำโลกประจำปี 2003, 2004, 2006, 2007 และนักว่ายน้ำอเมริกันประจำปี 2001, 2002, 2003, 2004, 2006, 2007
ชีวิตส่วนตัว
แก้ไมเคิล เฟ็ลปส์ เกิดที่เมืองรอดเจอส์ฟอร์จ บริเวณชานเมืองของเมืองบอลทิมอร์ในรัฐแมริแลนด์ เขาเรียนจบระดับชั้นมัธยมที่ ทาวสัน ไฮสคูล เมื่อปี 2003 พ่อของเขาชื่อ เฟร็ด เฟ็ลปส์ เป็นตำรวจแห่งรัฐแมริแลนด์ และ เดบบี เดวิสสัน เฟ็ลปส์ แม่ของเขาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนประถม[9] ทั้งคู่หย่าร้างกันในปี ค.ศ. 1994 ไมเคิลมีชื่อเล่นว่า "เอ็มพี" มีพี่สาวอีกสองคนชื่อ วิทนีย์ และ ฮิลารี่ ซึ่งทั้งคู่เป็นนักว่ายน้ำเช่นกัน (โดยวิทนีย์ เกือบจะได้ลงแข่งว่ายน้ำให้กับทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในโอลิมปิกเกมส์ 1996 แต่ต้องมาบาดเจ็บเสียก่อน)[10]
ในวัยเด็ก ไมเคิล เฟ็ลปส์ เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เขาเริ่มว่ายน้ำตั้งแต่อายุได้ 7 ปี ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากพี่สาวทั้ง 2 คน และเมื่ออายุ 10 ขวบ เขาก็สามารถทำลายสถิติระดับประเทศเมื่อเทียบกับเด็กอายุรุ่นเดียวกัน และในปี ค.ศ. 2000 ได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น[11]
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ด้วยวัย 19 ปี เฟ็ลปส์ถูกจับในคดีเมาและขับ ที่เมืองซาลิสบิวรี่ รัฐแมริแลนด์ และต้องถูกปรับเงิน 250 ดอลลาร์สหรัฐ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเป็นเวลา 18 เดือน ด้วยการพูดรณรงค์ในเรื่องเมาไม่ขับตามโรงเรียนต่าง ๆ [12][13]
ระหว่างปี 2004 ถึงปี 2008 เฟ็ลปส์ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยศึกษาด้านการตลาดและการจัดการด้านกีฬา โดยเฟ็ลปส์พูดว่าเขาจะกลับมาศึกษาต่อที่บัลติมอร์เพื่อเข้าคัดตัวไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยร่วมกับบ็อบ โบว์แมน เมื่อเขาออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเขาพูดว่า "ผมไม่ได้ว่ายน้ำเพื่อใครอื่น ผมคิดว่าเราทั้งคู่ จะสามารถช่วยให้สโมสรนักกีฬาบัลติมอร์เหนือ (North Baltimore Athletic Club) ไปได้ไกลกว่านี้" โดยทางสโมสรออกมาประกาศว่า โบว์แมนออกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเพื่อมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสโมสร[14] เฟ็ลปส์ซื้อบ้านที่เฟลส์พอยต์ในบัลติมอร์ ที่ที่เขาจะกลับมาหลังจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[15]
เพื่อนร่วมทีมของเฟ็ลปส์เรียกเขาว่า "โกเมอร์" เพราะเขาดูเหมือน โกเมอร์ ไพล์ ตัวละครในซิตคอมเรื่อง The Andy Griffith Show[16]
เขามีรายได้โดยประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการโฆษณา บวกกับ 1 ล้านเหรียญจากบริษัทชุดว่ายน้ำสปีโดสำหรับชนะเหรียญทอง 8 เหรียญในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[17]
ในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2016 เฟ็ลปส์ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนสหรัฐอเมริกาสำหรับการแข่งขันว่ายน้ำในโอลิมปิก 2016 นับเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายจากสหรัฐอเมริกาคนแรกที่เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 5 สมัยติดต่อกัน[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Usain Bolt vs. Michael Phelps: Who's The Greatest Olympian Of All Time?". International Business Times. 2016-08-16.
- ↑ "Ranking the 10 greatest Olympians of all time". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-09.
- ↑ "Michael Phelps Biography, Olympic Medals, Records and Age". Olympics.com.
- ↑ Hamre, Erik (2020-09-10). "Michael Phelps — The Greatest Olympian of All-Time". Medium (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hertel, Alyssa. "Where is Michael Phelps now? Olympics legend focused on mental health and family". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "2004 Olympic Games swimming results". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
- ↑ "Olympedia – Michael Phelps". www.olympedia.org.
- ↑ "Michael Phelps". www.olympedia.org. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
- ↑ "USA Swimming — Michael Phelps". U.S. Olympic Committee. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
- ↑ "Life after Swimming", by Mo-Jo Isaac, Swimming World Magazine, November 2005.
- ↑ Paul McMullen, Amazing Pace: The Story of Olympic Champion Michael Phelps from Sydney to Athens to Beijing. New York: Rodale, Inc., 2006.
- ↑ "Olympic Champ Sentenced For DUI". CBS News. 2004-12-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- ↑ "Michael Phelps". Ask Men. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
- ↑ Kevin Van Valkenburg (2008-05-11). "Phelps returns to attend NBAC fundraiser". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ Kevin Van Valkenburg (2008-08-18). "Phelps to rest, reinvent". The Baltimore Sun. p. 1A.
- ↑ "Phelps's debut lives up to star-spangled expectation". NBC Sports. 2008-08-10.
- ↑ "Teammate's Final Stroke Keeps Phelps in Hunt for 8 Gold Medals". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
- ↑ Hecht, Hannah (June 29, 2016). "Michael Phelps makes fifth Olympic Team". Swimswam. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ไมเคิล เฟ็ลปส์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2008-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน