ไพบูลย์ มุสิกโปดก

ไพบูลย์ มุสิกโปดก (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดเชียงใหม่ — 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) สร้างผลงานต่อเนื่องมากกว่า 45 ปี โดยผลงานจะเน้นเรื่องวัฒนธรรม ที่มีสาระและความสุนทรีย์ ทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์สะเทือนใจ และอิ่มเอมกับความงามของภาพแต่ละชุด จนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมและรางวัลเหรียญทองภาพถ่ายจากต่างประเทศถึง 11 รางวัล และได้รับยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกแปลตำราการถ่ายภาพของไทยเพื่อใช้ในสถานศึกษาหลายแห่งในปัจจุบัน และเป็นวิทยากรด้านวิชาการถ่ายภาพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดมา

ไพบูลย์ มุสิกโปดก

เกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2460
เสียชีวิต27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (91 ปี)
จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
อาชีพนักเขียน ช่างภาพ
สัญชาติไทย ไทย

ไพบูลย์ มุสิกโปดก ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อันเป็นจังหวัดที่ใช้เป็นที่พำนักช่วงบั้นปลายของชีวิต

ผลงานที่สำคัญในอดีต

แก้
  1. คณะกรรมการผู้ก่อตั้งสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์) และทำงานให้กับสมาคมเป็นเวลา 12 ปีเศษ
  2. อนุกรรมการบัญญัติศัพท์ สาขาวิชาการถ่ายภาพของราชบัณฑิตยสถาน
  3. ช่างภาพบันทึกภาพเหตุการณ์ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
  4. ถ่ายภาพภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและตัดสินการประกวดภาพเนื่องในโครงการการท่องเที่ยว
  5. ผู้แทนของประเทศในการประชุมนักศิลปะและนักถ่ายภาพแห่งประเทศอาเซียน
  6. แปลตำราวิชาการถ่ายภาพภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยเป็นจำนวน 9 เล่ม ตำราภาษาไทยเหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างสูงแก่ผู้สนใจและจำหน่ายหมดไปในเวลาอันรวดเร็ว บางเล่มสถาบันการศึกต่าง ๆ ได้นำไปเป็นตำราเพื่อประกอบการเรียนด้วย
  7. วิทยากรบรรยายพิเศษให้แก่สถาบันการศึกษาและชมรมการถ่ายภาพหลายแห่งอาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร, พระนคร, พิษณุโลก, ราชบุรี) มหาวิทยาลัยมหิดล, ศิริราช, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเอแบค, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บริษัทปูนซีเมนต์ไทย, บริษัทเอสโซ่, สโมสรโรตารี่สวนหลวง ฯลฯ
  8. ผลิตสไลด์สีชุด “ของดีเมืองไทย” โดยถ่ายภาพสวย ๆ ของวัดวาอาราม ภูมิทัศน์เมืองไทย และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการอวดเมืองไทยส่งจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
  9. เป็นที่ปรึกษาสมาคมถ่ายภาพหลายแห่ง

เกียรตินิยมทางการถ่ายภาพ

แก้
  1. เกียรตินิยมขั้น A.R.P.S. จาก Royal Photographic Society Of Great Bittlan ( สมาคมถ่ายภาพหลวงแห่งประเทศอังกฤษ)
  2. เกียรตินิยมขั้น E.FIAP จาก Fe’de’ration Internationale de I’ Art Photographic ( สหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติยุโรป)
  3. เกียรตินิยม Hon.F.RPST จากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
  4. เกียรตินิยม Hon.FSCC จากสมาคมถ่ายภาพสยามคัลเลอร์สไลด์
  5. เกียรตินิยม Hon.F.PST จากสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพฯ

ผลงานการถ่ายภาพที่ได้รับรางวัล

แก้
  1. ภาพขาว-ดำ ประเภทภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวาระทรงขึ้นครองราชย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดภาพของโกดัก ภาพนี้เป็นภาพโบราณถ่ายเมื่อ 50 ปีมาแล้ว
  2. ภาพขาว-ดำ ประเภทภาพนิ่งบันไดสีอ่อนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดภาพถ่ายของกรมศิลปากร
  3. ภาพขาว-ดำ “ข้างคลองบางซื่อ” ได้รับรางวัลเหรียญทองของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลเหรียญเงินในการประกวดภาพของโกดักที่ประเทศเยอรมนี
  4. ภาพขาว-ดำ บันไดสีอ่อนชื่อ “ฟากฟ้าบางปู” ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมถ่ายภาพประเทศไทย
  5. ภาพขาว-ดำ บันไดสีอ่อนชื่อ “วัฏสงสาร” ได้รับเหรียญทองจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย และรางวัลชนะเลิศในการประกวดภาพของโกดักที่ประเทศแคนาดา
  6. ภาพถ่ายและสไลด์สี ได้รับรางวัลเหรียญเงินรางวัลชมเชยอีกหลายรางวัลจากการประกวดภาพนานาชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้