ไผ่เฮียะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
วงศ์ย่อย: Melocanninae
เผ่า: Bambuseae
เผ่าย่อย: Bambusinae
สกุล: Cephalostachyum
สปีชีส์: C.  virgatum
ชื่อทวินาม
Cephalostachyum virgatum

ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii) เป็นไผ่ชนิดหนึ่งในสกุล Cephalostachyum พบในแถบประเทศอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

  • ลำต้น เป็นไผ่ประเภทเหง้า มีกอขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-12 ม. ลำตรงอัดกันเป็นกอแน่นหรือหลวม ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางลำยาวประมาณ 3.5 – 8 ซม. ปล้องยาว 40-70 ซม. เนื้อลำบาง 3-5 มม. ลำอ่อนมีขนปกคลุมประปรายและมีนวลสีขาวปกคลุมบาง ๆ เห็นได้ชัดบริเวณใต้ข้อ ลำแก่มีสีเขียวเข้ม แตกกิ่งจากประมาณกึ่งกลางลำขึ้นไป แต่ละข้อมีกิ่งจำนวนมาก โดยกิ่งจะมีลักษณะเรียวเล็กและมีขนาดไล่เลี่ยกัน[1]
  • ใบ มีลักษณะคล้ายใบหอก รูปขอบขนาน หรือรูปแถบ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 10-30 ซม. กาบหุ้มลำสีเหลืองซีดปนกับนวลสีขาว ขอบกาบบางและจะแห้งก่อนส่วนอื่น ๆ ใบยอดกาบรูปใบหอก ขอบมักม้วนขึ้นด้านบนและพับลง หูกาบไม่พัฒนาหรือลักษณะเป็นไหล่ยกขึ้นมาเตี้ย ๆ ขอบมีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ลิ้นกาบเป็นแถบเนื้อเยื่อบาง ๆ เกลี้ยง

ประโยชน์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ไม้ไผ่ เก็บถาวร 2016-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่