ทีเกอร์ 1

(เปลี่ยนทางจาก ไทเกอร์ I)

ทีเกอร์ 1 (เยอรมัน: Tiger I) หรือชื่อทางการคือ พันท์เซอร์คัมพฟ์วาเกิน 6 "ทีเกอร์" (เยอรมัน: Panzerkampfwagen VI „Tiger“) ออกเสียงเรียกในภาษาเยอรมันว่า ทีเกอร์ไอน์ และในภาษาอังกฤษว่า ไทเกอร์วัน เป็นรถถังหนักของกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 "ทีเกอร์" แบบ E
ยานเกราะทีเกอร์ไอน์ในภาคเหนือของฝรั่งเศส มีนาคม 1944
ชนิดรถถังหนัก
แหล่งกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บทบาท
ประจำการ1942–1945
สงครามสงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตHenschel
มูลค่า250,800 ไรชส์มาร์ค[1][a]
ช่วงการผลิต1942–1944
จำนวนที่ผลิต1,347[b]
ข้อมูลจำเพาะ (RfRuK VK 4501H Ausf.E, Blatt: G-330)
มวล54 ตัน[3]
57 ตัน (แบบ E)[4] (น้ำหนักพร้อมรบ)[5]
ความยาว6.316 เมตร (เฉพาะตัวถัง)
8.45 เมตร (รวมปืนใหญ่)
ความกว้าง3.56 เมตร
ความสูง3.00 เมตร
ลูกเรือ5 นาย (ผู้บังคับ, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ, ผู้ช่วยพลขับ)

เกราะ25–120 mm (0.98–4.72 in)[6][7]
อาวุธหลัก
ปืนใหญ่ 8.8 ซม. หนึ่งกระบอก
พร้อมกระสุนเจาะเกราะ
อาวุธรอง
ปืนกล 7.92 มม สองกระบอก
ที่ 4,500 รอบ
ที่ 4,800 รอบ (แบบ E)[8]
เครื่องยนต์ไมบัค HL230 P45 V-12
700 PS (690 แรงม้า, 515 กิโลวัตต์)
กำลัง/น้ำหนัก13 PS (9.5 กิโลวัตต์) / ตัน
กันสะเทือนเหล็กบิด (Torsion bar)
ความสูงจากพื้นรถ0.47 เมตร
พิสัยปฏิบัติการ
195 กิโลเมตร (วิ่งถนน)[4]
110 กิโลเมตร (ข้ามภูมิประเทศ)[4]
ความเร็ว45.4 กม/ชั่วโมง (ความเร็วสูงสุด)[9]
20-25 กม/ชั่วโมง (ข้ามภูมิประเทศ)[4]

ยานเกราะทีเกอร์ไอน์ถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 ในช่วงต้นปฏิบัติการบาร์บารอสซา เพื่อตอบโต้ยานเกราะที-34 และคลีเมนต์ โวโรชีลอฟของโซเวียต ยานเกราะทีเกอร์ไอน์ถือเป็นยานเกราะแบบแรกของกองทัพเยอรมันที่ติดตั้งกระบอกปืนขนาด 88 มม. โดยกระบอกปืนนี้ได้ถูกทดสอบมาก่อนว่ามีประสิทธิภาพสูงในการยิงต่อต้าน รถถัง และเครื่องบิน ทีเกอร์ไอน์ถูกนำไปใช้ในในการรบแนวหน้าของเยอรมันในช่วงสงคราม โดยปกติแล้วทีเกอร์ไอน์ถูกนำมาแยกเป็นหน่วยยานเกราะอิสระ ซึ่งทำให้หน่วยทีเกอร์ไอน์สามารถปฏิบัติการได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าทีเกอร์ไอน์เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูเป็นอย่างมากก็ตาม ทว่า ในขณะเดียวกัน ทีเกอร์ไอน์ก็เป็นยานเกราะที่มีลักษณะซับซ้อนในการสร้าง ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน อีกทั้งทีเกอร์ไอน์มักจะประสบปัญหาเครื่องจักรกลติดขัดบ่อยครั้งจึงทำให้ยานเกราะชนิดนี้ถูกยกเลิกการผลิตไป มีเพียงจำนวน 1,347 คันเท่านั้นที่ถูกผลิตขึ้นมาระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันได้ผลิตยานเกราะทีเกอร์ซไวขึ้นมาแทนที่

ยานเกราะนี้ถูกตั้งชื่อเล่นโดยแฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ เดิมทีเรียกแต่เพียง "ทีเกอร์" เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการผลิตยานเกราะทีเกอร์ซไว จึงมีการเพิ่มตัวเลขโรมันไว้ด้านหลังชื่อเพื่อป้องกันความสับสน ยานเกราะทีเกอร์ไอน์มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ '"ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 แบบ H" (Panzerkampfwagen VI Ausführung H") แต่อย่างไรก็ตาม ยานเกราะนี้ได้ถูกนำมาออกแบบใหม่อีกครั้งเป็นรุ่นที่ดีขึ้น เรียกว่า "แบบ E" (Ausführung E) ในเดือนมีนาคม 1943 และมีลักษณะการออกแบบปืนใหญ่ของ SdKfz 181 เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันนี้มีทีเกอร์ไอน์ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือพิพิธภัณฑ์ยานเกราะ Bovington ทีเกอร์ไอน์ 131 ซึ่งเป็นยานเกราะคันเดียวที่ยังคงสามารถใช้ได้อยู่ในปัจจุบันนี้

ประวัติการออกแบบ แก้

การออกแบบช่วงแรก แก้

บริษัท Henschel & Sohn ได้เริ่มพัฒนาการออกแบบรถถังขนาดใหญ่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 เมื่อวัฟเฟินอัมท์(กรมสรรพาวุธกองทัพเยอรมัน) ได้ร้องขอให้ Henschel ทำการพัฒนา Durchbruchwagen ("ยานพาหนะบุกทะลวง") ในช่วงตันระหว่าง 30-33 มีการสร้างตัวรถถังที่เป็นต้นแบบเพียงคันเดียวและไม่เคยถูกติดตั้งด้วยป้อมปืน รูปร่างและช่วงล่างโดยทั่วไปของ Durchbruchwagen 1 จะมีลักษณะคล้ายกับรถถังรุ่นพันเซอร์ 3 ในขณะที่ป้อมปืนของมันจะคล้ายกับป้อมปืนของรถถังรุ่นพันเซอร์ 4 แบบ C รุ่นแรกที่มีปืนใหญ่ลำกล้องสั้นขนาด 7.5 ซม. L/24

ก่อนที่รถถังรุ่น Durchbruchwagen I จะเสร็จสมบูรณ์ ได้มีคำร้องออกมาสำหรับยานพาหนะประเภทหนักที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตันพร้อมด้วยเกราะที่หนากว่า นี่คือ Durchbruchwagen II ซึ่งจะมีเกราะที่ด้านหน้าที่มีความหนากว่า 50 มม.(2 นิ้ว) และติดตั้งด้วยป้อมปืนของพันเซอร์ 4 ด้วยปืนใหญ่ลำกล้องสั้นขนาด 7.5 ซม. L/24 น้ำหนักโดยรวมจะมีประมาณอยู่ที่ 36 ตัน มีการสร้างตัวรถถังเพียงคันเดียวและไม่มีการติดตั้งด้วยป้อมปืน การพัฒนาเพิ่มเติมของ Durchbruchwagen ได้ถูกลดทอนลงใน ค.ศ. 1938 เพื่อสนับสนุนการออกแบบรถถังรุ่น VK 30.01 (H) และ VK 36.01 (H) ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีเกราะที่ดีกว่าอีกด้วย ทั้งตัวรถถังต้นแบบของ Durchbruchwagen I และ II ถูกใช้เป็นพาหนะทดสอบจนถึงปี ค.ศ. 1941

ความพยายามอื่น ๆ แก้

การออกแบบรถถังขนาดกลางรุ่น VK 30.01 (H) และ รถถังหนักรุ่น VK 36.01 (H) ได้ทำการบุกเบิกด้วยการใช้ระบบกันสะเทือนแบบล้อสายพาน Schachtellaufwerk ที่มีความซับซ้อนของทอร์ชันบาร์แบบสปริง ล้อถนนหลักที่มีความทับซ้อนและสลับกันสำหรับรถถังที่ใช้งาน แนวคิดนี้ถูกคิดขึ้นมาแล้วเช่นเดียวกับรถสายพานของเยอรมันอย่าง Sd.Kfz. 7 รถถังรุ่น VK 30.01 (H) มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตั้งปืนใหญ่สนับสนุนทหารราบขนาด 7.5 ซม. L/24 ที่มีความเร็วต่ำ(low-velocity) ปืนต่อต้านรถถังเอนกประสงค์แบบคู่ขนาด 7.5 ซม. L/40 หรือปืนใหญ่ภาคสนามขนาด 10.5 ซม. L/28 ในป้อมปืนครุพพ์ น้ำหนักโดยรวมอยู่ที่ 33 ตัน เกราะได้ถูกออกแบบให้มีขนาด 50 มม. บนพื้นผิวด้านหน้าและ 30 มม. บนพื้นผิวด้านข้าง ตัวรถถังต้นแบบสี่คันได้เสร็จสมบูรณ์สำหรับการทดสอบ สองคันนี้ได้รับการแก้ไขในภายหลังเพื่อสร้าง "Sturer Emil" ปืนต่อต้านรถถังอัตตาจร(12.8 ซม. Selbstfahrlafette L/61)

รถถังรุ่น VK 36.01 (H) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีน้ำหนัก 40 ตัน พร้อมด้วยเกราะขนาด 100 มม.(4 นิ้ว) บนพื้นผิวด้านหน้า 80 มม. ที่ด้านข้างป้อมปืน และ 60 มม. ที่ด้านข้างตัวรถถัง รถถังรุ่น VK 36.01 (H) มีวัตถุประสงค์เพื่อแบกปืนใหญ่ขนาด 7.5 ซม. L/24, หรือ 7.5 ซม. L/43, หรือ 7.5 ซม. L/70, หรือ 12.8 cm L/28 ในป้อมปืนครุพพ์ที่ดูมีลักษณะที่คล้ายกับรถถังรุ่นพันเซอร์ 4 แบบ C ที่ขยายใหญ่ขึ้น ตัวรถถังต้นแบบหนึ่งคันได้ถูกสร้างขึ้น ตามมาด้วยอีกห้าคันในภายหลัง ป้อมปืนทั้งหกที่ถูกสร้างขึ้นไม่เคยถูกติดตั้งเลยและถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงแอตแลนติก โครงการรถถังรุ่น VK 36.01 (H) ได้ถูกยุบในปี ค.ศ. 1942 เพื่อสนับสนุนโครงการรถถังรุ่น VK 45.01

การปรับปรุงเพิ่มเติม แก้

ประสบการณ์ในการสู้รบกับรถถังทหารม้ารุ่น SOMUA S35 และรถถังหนักรุ่นชาร์ บี 1 ของฝรั่งเศส และรถถังทหารราบรุ่นมาทิลดา II ของบริติชในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 แสดงให้เห็นว่ากองทัพเยอรมันต้องการรถถังที่ติดตั้งด้วยอาวุธและหุ้มเกราะที่ดีกว่า

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 Henschel และแฟร์ดีนันท์ พอร์เชอได้ถูกขอให้นำเสนอการออกแบบสำหรับรถถังหนัก 45 ตัน ให้เตรียมความพร้อมภายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 พอร์เชอได้พยายามในการปรับปรุงรถถังแบบของพวกเขาเองอย่างรถถังเลโอพาร์ทต้นแบบรุ่น VK 30.01 (P) ในขณะที่ Henschel ได้พยายามให้กับรถถังรุ่น VK 36.01 (H) ที่ถูกปรับปรุงแล้ว Henschel ได้สร้างรถถังต้นแบบสองคัน: รถถังรุ่น VK 36.01 (H) H1 พร้อมด้วยปืนใหญ่ขนาด 8.8 ซม. L/56 และรุ่น VK 45.01 (H) H2 พร้อมด้วยปืนใหญ่ขนาด 7.5 ซ.ม. L/70

การออกแบบครั้งสุดท้าย แก้

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้เปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การรุกรานสหภาพโซเวียต เยอรมันต้องตกตะลึงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับรถถังขนาดกลางรุ่นที-34 และรถถงหนักรุ่น เควี-1 ของโซเวียตจำนวนมากมาย ซึ่งทนทานต่อรถถังและปืนต่อต้านรถถัง และตามที่นักออกแบบของ Henschel ได้กล่าวว่า "มันน่าตกตะลึงอย่างมาก เมื่อมันถูกพบว่ารถถังโซเวียตนั้นเหนือกว่าทุกสิ่งที่มีในแฮร์(กองทัพบกเยอรมัน)"

ในการได้รับคำสั่งเพื่อให้มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 45 ตัน และขนาดลำกล้องปืนเพิ่มขึ้นเป็น 8.8 ซม. วันครบกำหนดสำหรับต้นแบบใหม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 53 ปี ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งจะแตกต่างจากรถถังรุ่นพันเทอร์ การออกแบบนั้นไม่ได้รวมเข้าเกราะที่ลาดเอียง

 
การสร้างแบบจำลองใหม่ของ VK 4501 (P) ต้นแบบของพอร์เซอ

พอร์เชอและ Henschel ได้ส่งงานการออกแบบต้นแบบ โดยแต่ละแบบจะใช้ป้อมปืนที่ถูกออกแบบโดยครุพพ์ พวกเขาได้ทำการสาธิตที่รัสเทนแบร์กต่อหน้าฮิตเลอร์ การออกแบบของ Henschel ได้รับการยอมรับ โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะการออกแบบต้นแบบของรถถังปอร์เช่ VK 4501 (P) จะใช้ระบบส่งกำลังด้วยน้ำมันเบนซิน-ไฟฟ้าที่เป็นปัญญา ซึ่งต้องใช้ทองแดงจำนวนมากในการผลิตส่วนประกอบในระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ซึ่งเป็นวัสดุสงครามเชิงยุทธศาสตร์ที่เยอรมนีมีพลาธิการที่จำกัด คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับสำหรับการใช้านดังกล่าว การผลิตรถถังรุ่น Panzerkampfwagen VI แบบ H ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 โดยคาดว่าจะได้รับคำสั่งซื้อสำหรับรถถังของเขา พอร์เชอได้สร้างแชสซีสจำนวน 100 ตัว ภายหลังจากได้ทำสัญญากับ Henschel พวกมันได้ถูกใช้สำหรับยานเกราะพิฆาตรถถังแบบไม่มีป้อมปืนแบบใหม่ ลำตัวรถถังได้ถูกดัดแปลงเป็น พันท์เซอร์เยเกอร์ ทีเกอร์(เพ) ในต้นปี ค.ศ. 1943

 
รถถังทีเกอร์คันแรกที่มาพร้อมด้วยโดมกลมสูง(ด้านบนของรถถัง)

รถถังทีเกอร์ยังคงอยู่ในรุ่นต้นแบบเมื่อถูกเร่งรีบเข้าประจำการเป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กตลอดในช่วงการผลิต ป้อมปืนที่ได้ถูกออกแบบใหม่พร้อมกับหลังคาโดมด้านล่างคือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด เพื่อเป็นการลดต้นทุน ความสามารถในสภาพจมลงเมื่อทำการลุยลงสู่แม่น้ำ และระบบกรองอากาศภายนอกได้ถูกลดลง

การออกแบบ แก้

ทีเกอร์จะแตกต่างไปจากรถถังเยอรมันรุ่นก่อน ๆ เป็นหลักในส่วนใหญ่ปรัชญาการออกแบบ รถถังรุ่นก่อนจะมีความคล่องตัว เกราะ และอำนาจการยิงที่ดูสมดุล และบางครั้งศัตรูของพวกเขาก็มีอาวุธที่มากกว่า

แม้ว่าจะหนัก รถถังคันนี้ไม่ได้เชื่องช้ากว่าศัตรูที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยน้ำหนักที่ตายตัวมากกว่า 50 ตัน ระบบกันสะเทือน กระปุกเกียร์ และรายการอื่น ๆ ดังกล่าวได้มาถึงขีดจำกัดการออกแบบอย่างชัดเจน และการพังทหารอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากไม่มีการบำรุงรักษาตามปกติ

แม้ว่าการออกแบบและแผนผังโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับรถถังขนาดกลางรุ่นก่อนอย่างพันเซอร์ 4 ส่วนทีเกอร์จะมีน้ำหนักมากกว่าสองเท่า นี่เป็นเพราะเกราะที่หนากว่าอย่างมาก ปืนหลักที่ใหญ่กว่า ปริมาณเชื้อเพลิงและกระสุนที่มากขึ้น เครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้น และระบบส่งกำลังและระบบกันสะเทือนที่แข็งแรงมากขึ้น

เกราะ แก้

 
เกราะของทีเกอร์ 1 มีความหนาถึง 200 มม. บนเกราะส่วนหน้าที่ติดกับปืนหลัก (gun mantlet)

ทีเกอร์ 1 นั้นมีเกราะตัวถังด้านหน้าที่หนาเพียง 100 ม.ม. (3.9 นิ้ว) ส่วนด้านหน้าของป้อมปืนที่หนาเพียง 100 ม.ม. (3.9 นิ้ว) และเกราะส่วนหน้าที่ติดกับปืนหลัก (gun mantlet) ที่มีความหนาต่างกันตั้งแต่ 120 มม.(4.7 นิ้ว) ถึง 200 มม.(7.9 นิ้ว)[10] ทีเกอร์มีแผ่นเหล็กด้านข้างตัวรถถังที่หนากว่า 60 มม. (2.4 นิ้ว) และ 80 มม. ของเกราะบนโครงสร้างส่วนบนด้านข้าง/ป้อมปืนที่ยื่นโผล่ของรถถัง(Sponson) ในขณะที่ป้อมปืนด้านข้างและด้านหลักที่หนากว่า 80 มม.เกราะส่วนบนและส่วนล่างที่หนากว่า 25 มม.(1 นิ้ว) ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 หลังคาป้อมปืนที่มีความหนาขึ้นเพียง 40 มม.(1.6) นิ้ว[6] แผ่นเกราะส่วนใหญ่เป็นแบบแบนเรียบ โดยมีโครงสร้างที่ประสานกัน โครงสร้างที่แบนเรียบนี้ได้ส่งเสริมการทำตัวมุมรถถังของทีเกอร์ที่มีขนาด 30-45 องศา เมื่อทำการยิงเพื่อเพิ่มความหนาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อต่อส่วนเกราะนั้นมีคุณภาพสูง แบบขั้นบันไดและถูกเชื่อมเหล็กมากกว่าการตอกหมุด และถูกทำด้วยเหล็กมาเรจิง(Maraging steel) เกราะโดยรวมทั้งหมดของทีเกอร์ 1 นั้นมีคุณภาพสูงสุดที่ใช้งานได้สำหรับการผลิตของ Henschel และเยอรมนีในช่วงเวลานั้น

ปืน แก้

 
กล้องศูนย์เล็งลำกล้องปืนรถถังแบบTurmzielfernrohr TZF 9c

ลำกล้องปืนใหญ่รถถังแบบ 56-คาลิเบอร์ที่ยาว ขนาด 8.8 ซม. เควาเค 36 ได้ถูกเลือกสำหรับทีเกอร์ การผสานรวมกันของเส้นกระสุนวิถีที่แบนจากความเร็วปากกระบอกที่สูงและความแม่นยำจากมองสายตาผ่านกล้องศูนย์เล็งลำกล้องปืนรถถังแบบ Leitz Turmzielfernrohr TZF 9b (ต่อมามันได้ถูกแทนที่ด้วยกล้องส่องตาข้างเดียวแบบ TZF 9c) ซึ่งทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น ในการทดสอบการยิงของบริติชในช่วงสงคราม มีการยิงประมาณ 5 ครั้งอย่างต่อเนื่องบนเป้าที่มีขนาด 410X460 มม.(16X18 นิ้ว) ในระยะห่างประมาณ 1,100 เมตร(3,600 ฟุต) เมื่อเทียบกับปืนรถถังเยอรมันร่วมสมัยรุ่นอื่นอย่างลำกล้องปืนใหญ่รถถังขนาด 8.8 ซม. เควาเค 36 ที่สามารถทะลุเจาะเกราะที่เหนือกว่าลำกล้องปืนใหญ่รถถังขนาด 7.5 ซม. เควาเค 40 ในชตวร์มเกอชึทซ์ 3 และพันเซอร์ 4 แต่มีความด้อยกว่าลำกล้องปืนใหญ่รถถังขนาด 7.5 ซม. เควาเค 42 ในรถถังพันเทอร์ ภายในระยะการยิงประมาณ 2,500 เมตร ในระยะที่ไกลกว่า ลำกล้องปืนใหญ่รถถังขนาด 8.8 ซม. เควาเค 36 นั้นมีความเหนือกว่าในด้านการทะลุเจาะเกราะและความแม่นยำ ปืนใหญ่รถถังจะใช้เวลาประมาณ 10.9 วินาทีในการบรรจุกระสุน

กระสุนของทีเกอร์จะยิงเชื้อปะทุด้วยไฟฟ้า กระสุนทั้งสี่ประเภทที่สามารถใช้งานได้แต่กลับมีไม่ครบทั้งหมด หัวกระสุนปืนใหญ่แบบ PzGr 40 จะใช้แร่ทังสเตนซึ่งเกิดภาวะขาดแคลน เมื่อสงครามยังคงดำเนินต่อไป

เครื่องยนต์และการขับ แก้

ระบบช่วงล่าง แก้

ระบบการบังคับเลี้ยว แก้

ห้องพลขับรถถัง แก้

ราคา แก้

ประวัติศาสร์การผลิต แก้

รูปแบบต่าง ๆ แก้

การตั้งชื่อ แก้

 
Tigers under construction. This hull rests on a jig (1944)
 
Assembly facility; the vehicles are fitted with the narrower transport tracks (1943)
การตั้งชื่อ การอ้างอิง วันที่
ต้นแบบ
VK 45.01 Henschel 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
Pz.Kpfw. VI Ausf. H1 (VK 4501) Wa Prüf 6[c] 21 ตุลาคม ค.ศ. 1941
VK 4501 (H) Wa J Rue (WuG 6)[d] 5 มกราคม ค.ศ. 1942
Tiger H1 (VK 4501 – Aufbau fur 8,8 cm Kw.K.Krupp-Turm) Wa Prüf 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
Pz.Kpfw. VI (VK 4501/H Ausf. H1 (Tiger)) Wa Prüf 6 2 มีนาคม ค.ศ. 1942
Pz.Kpfw. "Tiger" H Wa J Rue (WuG 6) 20 มิถุนายน ค.ศ. 1942
Pz.Kpfw. VI

VK 4501 (H) Tiger (H) Krupp-Turm mit 8.8 cm Kw.K. L/56 fur Ausf. H1

Wa Prüf 6 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
การผลิต
Panzerkampfwagen VI H (Sd.Kfz. 182) KStN 1150d[11] 15 สิงหาคม ค.ศ.1942
Tiger I Wa Prüf 6 15 ตุลาคม ค.ศ. 1942
Pz.Kpfw. VI H Ausf. H1 (Tiger H1) 1 ธันวาคม ค.ศ. 1942
Panzerkampfwagen VI H Ausf. H1

Panzerkampfwagen Tiger Ausf. E

D656/21+ (Tank manual) มีนาคม ค.ศ. 1943
Pz.Kpfw. Tiger (8,8 cm L/56) (Sd.Kfz. 181) KStN 1176e[12] 5 มีนาคม ค.ศ.1943
Panzerkampfwagen Tiger Ausf. E (Sd.Kfz. 181)

Panzerkampfwagen Tiger Ausf. E

D656/22 (Tank manual) 7 กันยายน ค.ศ. 1944

คำสั่งของฮิตเลอร์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ให้เลิกใช้ชื่อว่า พันเซอร์คัมฟ์วาเก็น 6 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พันเซอร์คัมฟ์วาเก็น ทีเกอร์ อัสท์. อี, ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้อย่างเป็นทางการจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง.[13] สำหรับการใช้งานโดยทั่วไป มักจะย่อคำสั้น ๆ ว่า ทีเกอร์

ประวัติศาสร์การรบ แก้

ประสิทธิภาพของปืนและเกราะ แก้

ปฏิบัติการครั้งแรก แก้

ปฏิบัติการในภายหลัง แก้

ความคล่องตัวและความน่าเชื่อถือ แก้

การจัดตั้งทางกลยุทธ์ แก้

การตอบสนองของฝ่ายสัมพันธมิตร แก้

การตอบสนองของบริติช แก้

การตอบสนองของโซเวียต แก้

การตอบสนองของสหรัฐ แก้

ผู้ใช้งาน แก้

  •   ไรช์เยอรมัน – ผู้ใช้งานหลัก
  •   ฮังการี – ตัวอย่าง 13 คันที่ถูกมอบให้โดยเยอรมนี[14] ใน ค.ศ. 1944 แก่กองทัพฮังการีที่หนึ่งเพื่อการสู้รบภายใต้คำสั่งของเยอรมันบนแนวรบด้านตะวันออก เนื่องจากขาดความสามารถในการซ่อมแซมจึงนำไปสู่การถูกทำลายล้างของรถถังส่วนใหญ่. ทีเกอร์ 3 คันที่ได้รับความเสียหายจึงถูกส่งกลับไปยังเยอรมนี.[15]
  •   ฝรั่งเศส –มีการใช้รถถังทีเกอร์ที่ยึดมาได้ในส่วนที่ยืดออกมาของแซ็งนาแซร์และฝ่ายสัมพันธมิตรรุกเข้าสู่เยอรมนี[16]
  •   โรมาเนีย – สองคันซึ่งถูกยึดมาได้ใน ค.ศ. 1944 ภายหลังจากการก่อรัฐประหารของกษัตริย์มีไฮ

สิ่งที่เหลือรอด แก้

ส่วนที่สามารถวิ่งได้ แก้

ที่อื่น ๆ แก้

รถถังที่มีบทบาท สมรรถนะ และยุคสมัยที่เทียบเคียงกัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. Zetterling 2000, p. 61.
  2. Jentz & Doyle 1993, pp. 11–13.
  3. Jentz & Doyle 2000, p. 177.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Jentz & Doyle 2000, p. 179.
  5. Green, Michael; Brown, James D. (15 February 2008). "Tiger Tanks at War" (ภาษาอังกฤษ). Voyageur Press. p. 20.
  6. 6.0 6.1 Jentz & Doyle 1993, pp. 8, 16.
  7. Hart 2007, p. 17.
  8. Jentz & Doyle 2000, p. 182.
  9. Jentz & Doyle 2000, p. 181.
  10. "Pzkpfw VI Tiger I". The Armor Site!. Fabio Prado. สืบค้นเมื่อ 2010-04-30.
  11. "Table of Organisation, KStN 1150d" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  12. "Table of Organisation, KStN 1176e" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ id3486.securedata.net2
  14. Kliment & Bernád 2007, p. [ต้องการเลขหน้า]. (n.b.- The source mentions that perhaps 15 vehicles had been delivered but only 13 are accounted for in the Hungarian Army sources.)
  15. Mujzer 2018.
  16. "CHAR TIGER I E". chars-francais.net.

เชิงอรรถ แก้

  1. Without weapons, optics, or radio. 399,800 combat ready.
  2. Although 1,350 is a common figure, World War II magazine reported the figure of 1,355 in their January 1994 edition (p.16). Jentz gives a revised number of 1,347, including the prototype, the result of the most detailed investigation of the primary sources ever undertaken.[2]
  3. Waffenamt Prüfwesen 6 – Panzer and Motorized Equipment Branch of the Heereswaffenamt (Army Weapons Department)
  4. Wa J Ru-WuG 6—Panzerkraftwagen und Zugkraftwagenabteilung – Tanks and Tractors Branch of Amtsgruppe fur Industrielle Rustung—Waffen und Gerat, the Group for Weapons and Equipment Manufacture

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tiger I