ไทรโยค พุ่มพันธ์ม่วง

ไทรโยค พุ่มพันธ์ม่วง เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ ไทรโยคน้อย ศักดิ์ชัยณรงค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – ) เป็นนักมวยไทยชาวไทย เจ้าของฉายา "ขุนศอกอำมหิต" และ "จอมศอกโกอินเตอร์" เป็นอดีตแชมป์สนามมวยเวทีลุมพินีรุ่น 154 ปอนด์ และแชมป์รุ่น 147 ปอนด์ของประเทศไทย[1]และเป็นเจ้าของแชมป์ไทยไฟต์ 2014 เอาชนะอองตวน ปินโต

ไทรโยค พุ่มพันธ์ม่วง
(Saiyok Pumpanmuang)
เกิดศักดา เนียมหอม
23 ตุลาคม พ.ศ. 2526 (40 ปี)
ไทย เทศบาลนครพิษณุโลก ประเทศไทย
ชื่ออื่นไทรโยคน้อย ศักดิ์ชัยณรงค์
สัญชาติไทย
ส่วนสูง1.72 เมตร (5 ฟุต 7 12 นิ้ว)
น้ำหนัก72 กก. (158 ปอนด์)
รุ่นไลท์เวท
เวลเตอร์เวท
รูปแบบมวยไทย มวยสากล
ท่ายืนเซาต์พอล
มาจากกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ทีมมวยไทยพลาซา 2004 (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน)
ผู้ฝึกสอนอาจารย์พิศ และพร้อมศักดิ์
ช่วงปี29 ปี (พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน)
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม335
ชนะ283
โดยการน็อก93
แพ้50
เสมอ2
ข้อมูลอื่น
ญาติที่มีชื่อเสียงมงกุฎทอง ศักดิ์ชัยณรงค์ (พี่น้อง)
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่: 6 เมษายน พ.ศ. 2557

ประวัติและผลงานระดับอาชีพ แก้

ไทรโยค พุ่มพันธ์ม่วง มีชื่อจริงคือ ศักดา เนียมหอม เขาเกิดวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ที่เทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองของจังหวัดพิษณุโลก เขาเริ่มต่อยมวยเมื่ออายุ 11 ปี[2] จุดเริ่มต้นคือคุณพ่อของไทรโยคได้พาเขาไปเปรียบมวยโดยไทรโยคเล่าว่าคุณพ่อนั้นพาเขาขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ไปโดยที่เขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะพาไปไหน พอไปถึงพ่อก็ประกาศหาคู่ชกให้


ช่วงแรกเขาใช้ชื่อชกคือ ไทรโยคน้อย ศักดิ์ชัยณรงค์ เขาเติบโตขึ้นโดยเป็นที่เลื่องลือด้วยการคว้าแชมป์สามรายการ รวมถึงหนึ่งรายการจากสนามมวยราชดำเนินที่มีชื่อเสียง ไทรโยคได้รับการพิจารณาในประเทศไทยว่าเป็นหนึ่งในนักสู้ที่ฉายแววมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เขาได้ฟอร์มตกเมื่อเป็นฝ่ายเสียเข็มขัดให้แก่สิงห์มณี ส.ศรีสมพงษ์ ในการโต้เถียงที่สื่อไทยมองว่าเป็นการโกง[3]

หลังจากการต่อสู้ บรรดาโปรโมเตอร์ได้เบือนหน้าหนี ชะตาบีบบังคับให้เขาหางานอื่นและหาเลี้ยงชีพเป็นพ่อค้าผลไม้ แต่แล้วเขาก็ได้รับการนำตัวกลับมาโดยโปรโมเตอร์แห่งสนามมวยเวทีลุมพินี ผู้มีนามว่า พ.ต.ท.สุขทัศน์ พุ่มพันธ์ม่วง ซึ่งช่วยให้ไทรโยคได้กลับคืนสู่วงการ[3]

ไทรโยค จึงใช้ชื่อชกตามโปรโมเตอร์ของเขา และในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 เขาชนะรายการว่างรุ่นเวลเตอร์เวทที่สนามมวยเวทีลุมพินีด้วยการเป็นฝ่ายชนะน็อกสิงห์ศิริ ป.ศิริชัย ในยกที่สอง[4]

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553 ในงานรางวัลสมาคมผู้สื่อข่าวประจำปีที่กรุงเทพมหานคร ไทรโยคได้รับรางวัลทูตมวยไทยแห่งปี[5]

เขาได้เผชิญกับฟาบิโอ ปินก้า ในศึกไทยไฟต์: ลียง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555 ณ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และเป็นฝ่ายชนะคะแนนตัดสินหลังจากการแข่งสามยก[6][7]

เขาปะทะกับดีแลน ซัลวาดอร์ ในโรชทีกาเบ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และเป็นฝ่ายแพ้น็อกทางเทคนิค หลังจากที่เขาไม่สามารถชกต่อ เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เข่าในช่วงท้ายของยกแรก[8][9]

เขาเป็นฝ่ายชนะทีอากู เตเชรา ในศึกไทยไฟต์ 2013: คิงออฟมวยไทย ที่เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[10]

ไทรโยคยังได้รับการกำหนดให้ต่อสู้กับชิเก ลินด์ซีย์ ในศึกมวยไทยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 แต่การแข่งนี้ได้รับการยกเลิกไป[11]

ไทรโยคจะเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยแก่ทีมฝรั่ง ที่เผชิญกับทีมคู่แข่งที่ได้รับการฝึกสอนโดยสุดสาคร ส.กลิ่นมี ในรายการไทยไฟต์คาดเชือก ที่จัดเสนอในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2556 ทางช่อง 5 ของประเทศไทย และผู้ฝึกสอนทั้งสองได้ปะทะกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[12]

เขาเป็นฝ่ายชนะน็อกมีเกล ปีซีเตโล ด้วยศอกในยกที่สองในศึกไทยไฟต์: บางกอก 2013 ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556[13]

และเป็นฝ่ายชนะน็อกมูฮัมหมัด ซูบูกา ในยกที่สองของรายการไทยไฟต์: ปัตตานี ที่จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556[14]

เขาเป็นฝ่ายชนะเซเยดีซา อลัมดาร์เนซัม ด้วยคะแนนตัดสินในยกพิเศษในแมตช์ที่ไม่มีรอบทัวร์นาเมนต์ ของศึกไทยไฟต์เซมิไฟนอลในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[15][16]

รายการที่ชนะและความสำเร็จ แก้

  • มวยสากล
    • พ.ศ. 2557 แชมป์รุ่นเวลเตอร์เวท ของดับเบิลยูบีซี เอเชียซิลเวอร์
  • มวยไทย
    • พ.ศ. 2558 แชมป์โลกมวยไทยรุ่น 72 กก. ขององค์กรมวยไทยโลก
    • พ.ศ. 2557 แชมป์การแข่งไทยไฟต์รุ่น 72.5 กก.
    • พ.ศ. 2556 ผู้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ไทยไฟต์คาดเชือก
    • พ.ศ. 2555 แชมป์โลกมวยไทยรุ่นมิดเดิลเวท ของสมาคมกีฬาศิลปะการต่อสู้
    • พ.ศ. 2555 แชมป์ทัวร์นาเมนต์ 4 คน ของสภามวยไทยโลก
    • พ.ศ. 2553 แชมป์รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท (154 ปอนด์) ของสนามมวยเวทีลุมพินี
    • พ.ศ. 2551 แชมป์ประเทศไทยรุ่นเวลเตอร์เวท (147 ปอนด์)
    • พ.ศ. 2550 แชมป์รุ่นซูเปอร์ไลต์เวท (140 ปอนด์) ของสนามมวยราชดำเนิน
    • พ.ศ. 2550 แชมป์มวยรอบทัมใจ 8 คน (143 ปอนด์)
    • พ.ศ. 2549 แชมป์รุ่นซูเปอร์ไลต์เวท (140 ปอนด์) ของสภามวยไทยโลก

รางวัลที่ได้รับ[5] แก้

  • พ.ศ. 2553 ทูตมวยไทยแห่งปี

สถิติการแข่งขัน แก้

สถิติมวยไทย
สถิติมวยสากล

คำอธิบาย:       ชนะ       แพ้       เสมอ/ไม่มีการแข่งขัน       หมายเหตุ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2018-04-01.
  3. 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-21. สืบค้นเมื่อ 2009-12-21.
  4. [2]
  5. 5.0 5.1 [3]
  6. Scalia, Rian. "Thai Fight On Wednesday Features Saiyok vs. Pinca, Sudsakorn, Aikpracha, More". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  7. Scalia, Rian. "Thai Fight Lyon: Saiyok, Aikpracha, Bennoui Win, Sudsakorn Loses". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  8. Scalia, Rian. "Alright, Here's 10 More Fights To Watch In October". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  9. Scalia, Rian. "Dylan Salvador Scores Huge Upset With KO Over Saiyok Pumphanmuang". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  10. Walsh, Dave. "Thai's Dominate at Thai Fight 2013- King of Muay Thai". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  11. Walsh, Dave. "American Chike Lindsay Set to Take on Saiyok Pumpanmuang in One of the Most Unusual Cards This Year". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.
  13. Walsh, Dave. "Weekend Results: Thai Fight and MAX Muay Thai". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  14. Walsh, Dave. "Weekend Results: Thai Fight and MAX Muay Thai". Liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-15.
  15. [4]
  16. [5]