ไทยวีเมนส์ลีก (Thai Women's League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลหญิงลีกสูงสุดในประเทศไทย มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม

ไทยวีเมนส์ลีก
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ดิวิชัน1
จำนวนทีม8
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่ไทยวีเมนส์ลีก 2
ถ้วยระดับนานาชาติฟุตบอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย
ทีมชนะเลิศปัจจุบันกรุงเทพมหานคร (1 สมัย)
(ฤดูกาล 2566)
ชนะเลิศมากที่สุดบีจี-บัณฑิตเอเชีย (5 สมัย)
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2567

ประวัติ แก้

การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย มีการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดย ชมรมฟุตบอลหญิงแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ[1] ต่อมาสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้ามาจัดการแข่งขันเองในช่วงทศวรรษที่ 2530 ภายหลังจากชมรมฟุตบอลหญิงแห่งประเทศไทยฯ ยุติบทบาท

กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้เปลี่ยนการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จากเดิมเป็นการแข่งขันในระบบแพ้คัดออกเป็นระบบลีก[2] โดยมีเงินรางวัลสำหรับทีมชนะเลิศในระดับไทยพรีเมียร์ลีก จำนวน 7 แสนบาท และทีมชนะเลิศในระดับดิวิชัน 1 3.5 แสนบาท โดยจะมีรางวัลพิเศษรางวัลละ 5,000 บาท ประกอบด้วย ผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม, ดาวซัลโว, ผู้รักษาประตู, กองหลัง และ กองกลางยอดเยี่ยม โดยมอบหมายให้ บังอร เบ็ญจาธิกุล เป็นประธานฝ่ายจัดการแข่งขันลีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันไทยวีเมนส์ลีกอีกครั้ง จากเดิมที่แข่งขันในสนามกลาง กลายเป็นฟุตบอลลีกอาชีพเต็มรูปแบบ คือมีการแข่งขันแบบ เหย้า-เยือน และมีสนามฟุตบอลของแต่ละทีมเป็นของตนเอง[3]

จากนั้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เป็นประธานจัดงานแถลงข่าวเปิดฤดูกาลฟุตบอล ไทยวีเมนส์ลีก ฤดูกาล 2567 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ดิวิชันคือ ดิวิชัน 1 และ ดิวิชัน 2 โดยจะเปิดฤดูกาลในวันที่ 2 มีนาคม 2567 นอกจากนี้ทีมแชมป์ดิวิชัน 1 ยังจะได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2024 รอบคัดเลือก เป็นครั้งแรก[4]

อัตลักษณ์การแข่งขัน แก้

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2565) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก (8 ทีม) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม) แก้

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2566) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก (10 ทีม) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม) แก้

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2567) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก (8 ทีม) แก้

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม) แก้

ทำเนียบสโมสรชนะเลิศ แก้

ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชัน 1 แก้

ปี ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
2551/52 นครราชสีมา–อาร์แบค บัณฑิตเอเชีย
2553 อาร์แบค บัณฑิตเอเชีย
2554[5] บีจี บัณฑิตเอเชีย อาร์แบค
2556 บีจี บัณฑิตเอเชีย กรุงเทพมหานคร
2560 ชลบุรี บีจี บัณฑิตเอเชีย
2562[6] ชลบุรี และ บีจี บัณฑิตเอเชีย
2563–64 บีจี บัณฑิตเอเชีย ชลบุรี
2565 บัณฑิตเอเชีย เอ็มเอช นครศรี
2566 กรุงเทพมหานคร ชลบุรี
2567

ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชัน 2 แก้

ปี ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
2553[7] ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี
2554[8] กรุงเทพมหานคร นครนนท์-ธุรกิจบัณฑิตย์
2556[9] มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช
2563–64 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ขอนแก่น ซิตี้
2565 โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี สุรินทร์ หินโคน ยูไนเต็ด
2566 บีเอสแอล ดับเบิ้ลยู เอฟซี เอ็มเอช นครศรี ซิตี้
2567

สโมสรที่เคยเข้าร่วมแข่งขัน แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "วันนี้ ครบรอบ 46 ปี ของปฐมบทฟุตหญิงอย่างเป็นทางการในประเทศไทย - สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย".
  2. "13ทีมขาอ่อนร่วมโม้แข้งไทยวีเมนลีกหนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
  3. "ศึกไทยวีเมนส์ลีก พร้อมเดินหน้าสู่ฟุตบอลลีกอาชีพเต็มตัว". สนุก.คอม. 8 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ระเบิดศึกบอลลีกหญิงไทยสุดยิ่งใหญ่ ถ่ายสดทุกนัด เริ่ม 2 มี.ค.นี้
  5. "WOMEN'S FOOTBALL: THAI WOMEN'S PREMIER LEAGUE BEGINS THIS WEEKEND". aseanfootball.org. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  6. "4 ทีมเห็นพ้อง งดเตะนัดชิงชนะเลิศ นัดสุดท้ายของซีซั่น รับแชมป์บอลลีกหญิงร่วม". fathailand.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  7. "Thai Women's League 2010". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  8. "Thai Women's League 2011". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  9. "Thai Women's League 2013". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.