ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์

สายการบินไทยรีเจียนัล ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินทุนจดทะเบียน 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมด สายการบิน Thai Regional ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ โดยใช้เครื่องบินโดยสารขนาดที่เหมาะสม ไปยังจังหวัดต่างๆที่ยังไม่มีเครื่องบินให้บริการ และมีเคาร์เตอร์เช็คอิน อยู่ที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคาร Concourse A ชั้น 4 ในปัจจุบันปิดตัวแล้ว

  • มีบริษัทในเครืออยู่ 1 บริษัท คือ
สายการบินไทยรีเจียนัล
IATA ICAO รหัสเรียก
RW TRB THAI REGIONAL
ก่อตั้ง24 กันยายน พ.ศ. 2553 (13 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จุดหมาย1
สำนักงานใหญ่บริษัท ไทย รีเจียนัล เอวิเอชั่น จำกัด
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ห้อง A4-0915 เลขที่ 999 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
บุคลากรหลักประอังคาร ปัญธิยา (ประธาน)
เว็บไซต์http://www.thairegionalairlines.com
  1. บริษัท ไทย รีเจียนัล บุ๊คกิ๊ง จำกัด บริการชำระเงินผ่านทางเอทีเอ็ม

ประวัติ แก้

สายการบิน Thai Regional ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 โดยมีความตั้งใจที่จะทำการบินให้ได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนในทุกๆจังหวัดได้มีโอกาสใช้เครื่องบินในการเดินทาง ซึ่งเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศด้วย สายการบิน Thai Regional ริเริ่มธุรกิจการบินด้วยเครื่องบินแบบ Piper Navajo Chieftain PA-31-350 ขนาด 10 ที่นั่ง และ 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็กโดยเริ่มเปิดบริการเส้นทางบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ สู่ท่าอากาศยานในต่างจังหวัดที่ยังไม่มีสายการบินให้บริการ เช่น นครราชสีมา เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ สุรินทร์ เป็นต้น

ในวันที่ 1 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2559 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก โดยเที่ยวบิน TRB 106 ตกก่อนที่จะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย

เครื่องบินที่ใช้ แก้

 
ภายในเครื่อง Piper (ในภาพนี้ไม่ใช่เป็นของ A380)

บริษัทเลือกใช้เครื่องบิน Piper Navajo Chieftain PA-31-350 ขนาด 10 ที่นั่ง และ 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ได้รับความนิยมสูง[ต้องการอ้างอิง] และ มีความปลอดภัยสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา Piper Navajo เป็นเครื่องบิน Multi Engine ชนิด 2 เครื่องยนต์ ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าเครื่องบินชนิด 1 เครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ และกำลังนำเข้ามาอีก 4



เส้นทางการบินที่เปิดให้บริการ แก้

ตารางการบิน[2]

เส้นทางการบิน ท่าอากาศยาน
หัวหิน ท่าอากาศยานหัวหิน (Hua Hin Airport) จันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
เกาะกูด สนามบินเกาะไม้ซี้ (koh mai si Airport) เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
หาดใหญ่-ภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
เชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
สุรินทร์ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
บุรีรัมย์ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
นครราชสีมา ท่าอากาศยานนครราชสีมา เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้