ไดโจเท็นโน

(เปลี่ยนทางจาก ไดโจโค)

ไดโจเท็นโน (ญี่ปุ่น: 太上天皇, Daijō Tennō แปลตรงตัวว่า "มหาจักรพรรดิ")[1] หรือเรียกโดยย่อว่า โจโก (ญี่ปุ่น: 上皇, Jōkō)[2] เป็นพระบรมราชอิสริยยศของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่สละราชสมบัติ

จักรพรรดิโคกากุ จักรพรรดิพระองค์หนึ่งที่มีพระอิสริยยศเป็นไดโจเท็นโน

ตามประมวลกฎหมายไทโฮ ไดโจเท็นโนยังสามารถใช้พระราชอำนาจบางประการของกษัตริย์ได้ การใช้อำนาจเช่นนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยจักรพรรดินีจิโตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7

ไดโจเท็นโนที่ผนวชจะได้รับสมัญญาว่า ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) การออกผนวชดังกล่าวประพฤติกันมากในยุคเฮอัง

ทั้งนี้ สำนักพระราชวังญี่ปุ่นกำหนดคำแปลภาษาอังกฤษของ โจโก ว่า "Emperor Emeritus"[3]

การสละราชบัลลังก์ในสมัยจักรวรรดิญี่ปุ่น แก้

จักรพรรดิโคเมและโชกุน แก้

พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รีและกองเรือของเขาซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "เรือดำ" แล่นเข้าสู่ท่าเรือที่เอโดะ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโตเกียว) ในเดือนกรกฎาคม 1853 เพร์รีขอให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศเพื่อทำการค้า และเตือนญี่ปุ่นถึงผลที่ตามมาทางทหารหากพวกเขาไม่เห็นด้วย ในช่วงวิกฤติที่เกิดจากการมาถึงของเพอร์รี รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้ปรึกษากับราชสำนักเป็นครั้งแรกในรอบอย่างน้อย 250 ปี และขุนนางของจักรพรรดิโคเมแนะนำว่าควรอนุญาตให้ชาวอเมริกันทำการค้าและแจ้งให้พวกเขาทราบก่อนดำเนินการใด ๆ[4] เมื่อรู้สึกเสียเปรียบต่อมหาอำนาจตะวันตก รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องยอมให้เปิดประเทศทำการค้าและต้องยอมลงนามใน “สนธิสัญญาไม่เสมอภาค” ยอมสละอำนาจทางภาษีและสิทธิพิจารณาคดีชาวต่างชาติในศาลของตนเอง[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ทิพย์เทียมพงษ์, โฆษิต (2017-11-27). "สะดุดคำ สถานะของ "จักรพรรดิญี่ปุ่น" หลังสละราชสมบัติ กับหลากประเด็นที่ต้องคิด". ญี่ปุ่นมุมลึก. Bangkok: ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  3. "Emperor Akihito to Be Called Emperor Emeritus after Abdication". nippon.com. 25 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
  4. Keene 2002, p. 18.
  5. Gordon 2009, pp. 50–51.