ไซตามะซูเปอร์อารีนา

(เปลี่ยนทางจาก ไซตะมะซูเปอร์อารีนา)

ไซตามะซูเปอร์อารีนา (ญี่ปุ่น: さいたまスーパーアリーナโรมาจิSaitama Sūpā Arīna) เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ในร่ม ตั้งอยู่ในเขตชูโอ ไซตามะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น สามารถจุคนได้สูงสุดสามหมื่นหกพันห้าร้อยคน แต่ในยามแข่งขันกีฬา เช่น บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, เทนนิส, ฮอกกี้น้ำแข็ง, ยิมนาสติก, มวย, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม และมวยปล้ำอาชีพ จะจำกัดความจุไว้ราวหนึ่งหมื่นเก้าพันคนถึงสองหมื่นสองพันห้าร้อยคนเท่านั้น

ไซตามะซูเปอร์อารีนา
ภาพถ่ายไซตามะซูเปอร์อารีนา ใน พ.ศ. 2548
แผนที่
ชื่อเดิมไซตามะอารีนา
ที่ตั้งญี่ปุ่น ชินโตชิง เขตชูโอ ไซตามะ จังหวัดไซตามะ
พิกัด35°53′41.60″N 139°37′51.00″E / 35.8948889°N 139.6308333°E / 35.8948889; 139.6308333
เจ้าของบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด
ผู้ดำเนินการบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด
ความจุ36,500
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนาม1 กันยายน พ.ศ. 2543
งบประมาณในการก่อสร้าง64,965 ล้านเยน
สถาปนิกสถาปนิกจังหวัดไซตามะ
ดูในบทความ
ผู้จัดการโครงการมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
ไทเซ
ยูดีเค

ไซตามะซูเปอร์อารีนาเป็นสนามกีฬาญี่ปุ่นแห่งเดียวที่มีอุปกรณ์เตรียมพร้อมไว้สำหรับอเมริกันฟุตบอลเป็นการเฉพาะ ในสนาม ประกอบด้วยที่นั่งขนาดยักษ์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ สำหรับจะลดความจุลงในเมื่อจัดกิจกรรมขนาดเล็ก และยังมีพิพิธภัณฑสถานจอห์นเลนนอน ซึ่งจัดแสดงสิ่งเตือนความจำถึงจอห์น เลนนอน

การแข่งขันมวยปล้ำอาชีพและศิลปะการต่อสู้แบบผสมมักจัดขึ้นที่นี้

ประวัติ แก้

โครงการสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ในจังหวัดไซตามะ เริ่มใน พ.ศ. 2537 โดยให้เรียกชื่อสนามกีฬาว่า "ไซตามะอารีนา" ไปพลางก่อน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 มีการจัดตั้งบริษัทไซตามะอารีนา จำกัด ขึ้นบริหาร ครั้นวันที่ 12 เดือนเดียวกันนั้น มีการเลือกและประกาศชื่อสนามกีฬาอย่างเป็นทางการว่า "ไซตามะซูเปอร์อารีนา" ออกแบบโดย แดน เมส์ (Dan Meis) สถาปนิกชาวสหรัฐอเมริกา จากบริษัทเอลเลอร์เบเบ็กเกต จำกัด (Ellerbe Becket) ร่วมกับ ทีมออกแบบนิกเก็งเซกเก/แมส 2000 (Nikken Sekkei/MAS 2000 Design Team) ส่วนการก่อสร้างดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าระหว่าง บริษัทไทเซ จำกัด (Taisei), บริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด (Mitsubishi Heavy Industries) และ บริษัทยูดีเค จำกัด (UDK) [1]

ทั้งสามบริษัทลงมือก่อสร้างในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 นั้น แล้วเสร็จและเปิดอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยสถานีวิทยุเอ็นเอชเคประกาศเชิญชวนประชาชนไปเข้าชมและออกกำลังกาย ต่อมาวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2543 ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เป็นการแข่งขันบาสเกตบอลนานาชาติระหว่างญี่ปุ่นและสเปน ใช้ชื่อว่า "ซูเปอร์ดรีมเกม 2000" (Super Dream Game 2000) และจัดคอนเสิร์ตในวันที่ 10 กันยายน

การเข้าถึง แก้

  • ทางรถยนต์ จากโตเกียว ใช้ทางด่วนสายชูโต และออกที่ทางออกไซตามะชินโตชิง-โอมิยะ ก็สามารถเข้าสู่สนามกีฬาได้ทันที มีที่จอดรถ รองรับได้เจ็ดร้อยคัน ค่าธรรมเนียมชั่วโมงแรกสี่ร้อยเยน หลังจากนั้น ทุก ๆ สามสิบนาที คิดค่าธรรมเนียมสองร้อยเยน
  • ทางรถไฟ
  • ทางเครื่องบิน[7]

อ้างอิง แก้

  1. Saitama Super Arena เก็บถาวร 2011-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  2. 京浜東北線の駅 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. 高崎線の駅 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  4. さいたま新都心 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  5. JR東北本線 (宇都宮線) เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)
  6. SAITAMA SUPER ARENA เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  7. Keisei Bus เก็บถาวร 2011-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้