ไชนาแมน (ศัพท์)

สำนวน
(เปลี่ยนทางจาก ไชนาแมน (คำศัพท์))

ไชนาแมน (อังกฤษ: Chinaman, /ˈnə.mən/) เป็นศัพท์ที่มีความหมายเชิงดูหมิ่นซึ่งใช้เรียกชายหรือบุคคลชาวจีน ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ หรือในบางครั้งก็บุคคลที่เกิดในเอเชียตะวันออกหรือเห็นว่ามีเชื้อสายเอเชียตะวันออก แม้ว่าศัพท์นี้จะไม่มีความหมายในแง่ลบในพจนานุกรมเก่า ๆ[1][2] และบางครั้งการใช้คำประสมอย่างอิงลิชแมน, เฟรนช์แมน และไอริชแมน[3] ก็ถูกอ้างว่าเป็นความคล้ายคลึงกันอย่างไม่อาจโต้แย้งได้[4] แต่พจนานุกรมสมัยใหม่มักอธิบายเพิ่มเติมว่าศัพท์นี้มีความหมายในเชิงดูหมิ่น ความหมายแฝงดังกล่าวมาจากการใช้ศัพท์นี้ในบริบทดูแคลนทั้งชาวจีนและชาวเอเชีย[5] รวมทั้งจากข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในตัวศัพท์เองซึ่งคล้ายกับลักษณะเหมารวมของสำเนียงจีนในการพูดภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ[6][7][8] ในขณะที่องค์การอเมริกันเชื้อสายเอเชียต่าง ๆ ไม่ส่งเสริมให้ใช้คำว่า ไชนาแมน ในปัจจุบัน[9][10][11][12] แต่นักเขียนและศิลปินเชื้อสายเอเชียบางคนก็ยังใช้ศัพท์นี้เป็นต้นแบบดั้งเดิมในการกล่าวถึงตนเอง[13] ศัพท์นี้อาจมาจากการแปลศัพท์ภาษาจีนของวลี Chinese man/person เป็นภาษาอังกฤษอย่างตรงตัว กล่าวคือ 中國人 (Zhōngguó rén) = China man/person

อ้างอิง แก้

  1. "Chinaman". Webster Dictionary, 1913. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  2. Fowler's Dictionary of English Usage, 1956
  3. Englishman has two plurals: (the) English, when speaking of the nation and Englishmen when speaking of individuals. The same remark applies to: Dutchman, Frenchman, Scotsman, Welshman and Cornishman. Chinese is now rarely used as a singular, the compound Chinaman taking its place. A manual of English pronunciation and grammar for the use of Dutch students By J. H. A. Günther, p144
  4. Oxford American Dictionary
  5. Yam, Kimberly (2018-05-03). "Yes, 'Chinaperson' Is A Racist Term". Huffington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-02-18.
  6. Arslan, L. M., & Hansen, J. H. (1996). Language accent classification in American English. Speech Communication, 18(4), 353-367.
  7. Cargile, A. C. (1997). Attitudes toward Chinese-accented speech: An investigation in two contexts. Journal of language and social psychology, 16(4), 434-443.
  8. Kim, S. Y., Wang, Y., Deng, S., Alvarez, R., & Li, J. (2011). Accent, perpetual foreigner stereotype, and perceived discrimination as indirect links between English proficiency and depressive symptoms in Chinese American adolescents. Developmental Psychology, 47(1), 289.
  9. "'Seinfeld' Edits Out Anti-Asian Joke". AsianWeek. 1998-07-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
  10. "World News Briefs; Alberta's New Name For Peak in Rockies". The New York Times. 1998-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  11. Williams, Stephanie (June 2001). "Chicago Sun Times — discrimination in reporting". The Chicago Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  12. Hua, Vanessa (2007-03-14). "Ted Turner apologizes for remarks on Chinese". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  13. "Frank Chin". Houghton Mifflin College Division. สืบค้นเมื่อ 2007-04-03.

อ่านเพิ่ม แก้

  • "Chinaman". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". The Free Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • Chinaman. Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". Compact Oxford English Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". RhymeZone. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". AllWords.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Chinaman". The American Heritage Dictionary of the English Language: Fourth Edition. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-03-20.
  • "Bob Beckel Uses Racial Slur On Live Television". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้