]

ภาพมุมสูงของหิมะภาค จาก [https://web.archive.org/web/20070826211613/http://maps.grida.no/go/graphic/cryosphere เก็บถาวร 2007-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน UN Environment Programme Global Outlook for Ice and Snow
ภาพความละเอียดสูงนี้ ซึ่งออกแบบสำหรับ IPCC แสดงขอบเขตของบริเวณที่ได้รับผลจากองค์ประกอบของหิมะภาคทั่วโลก เหนือพื้นดิน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูเข้ม ขณะที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวไม่ต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูที่อ่อนกว่า สีขาวกึ่งโปร่งใสเหนือพื้นที่ดินกว้างใหญ่ของซีกโลกเหนือแสดงบริเวณซึ่งมีหิมะตกอย่างน้อยหนึ่งวันระหว่างปี 2543-2555 เส้นสีเขียวสว่างตามขอบทิศใต้ของบริเวฯนี้แสดงขอบเขตหิมะสูงสุด ขณะที่เส้นสีดำตามทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชียแสดงเส้นขอบเขตหิมะ 50% ธารน้ำแข็งแสดงเป็นจุดสีทองเล็ก ๆ ในพื้นที่ภูเขาและในละติจูดเหนือและใต้จัด เหนือพื้นน้ำ หิ้งน้ำแข็งแสดงรอบทวีปแอนตาร์กติกาตามน้ำแข็งทะเลรอบหิ้งน้ำแข็ง น้ำแข็งทะเลยังแสดงที่ขั้วโลกเหนือ สำหรับทั้งสองขั้ว ขอบเขตน้ำแข็งทะเลเฉลี่ย 30 ปีแสดงโดยขอบสีเหลือง นอกากนี้ จะเห็นแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาได้ชัดเจน

หิมะภาค[ต้องการอ้างอิง]หรือ ไครโอสเฟียร์ (อังกฤษ: Cryosphere) เป็นส่วนหนึ่งของผิวโลกซึ่งประกอบด้วยน้ำในรูปของแข็ง รวมถึงทะเลที่เป็นน้ำแข็ง ทะเลสาบน้ำแข็ง แม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง และพื้นดินซึ่งเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของหิมะภาคมักจะซ้อนอยู่บนพื้นที่ของอุทกภาค หิมะภาคนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกหลายประการ โดยมักมีอิทธิพลต่อเมฆ ปริมาณหยาดน้ำฟ้า อุทกวิทยา และการไหลเวียนของอากาศและกระแสน้ำ

โครงสร้าง แก้

น้ำที่ผ่านจุดเยือกแข็งมาแล้วมักจะพบบนพื้นผิวโลกในรูปของหิมะ น้ำแข็งในทะเลสาบและแม่น้ำ น้ำแข็งในทะเล และธารน้ำแข็ง โดยพื้นที่ที่มีน้ำแข็งปกคลุมและน้ำแข็งในแหล่งน้ำจืดนั้นมักจะขึ้นตรงกับฤดูกาล หากอุณหภูมิสูงขึ้น หิมะหรือน้ำแข็งเหล่านี้ก็อาจละลายได้ น้ำแข็งในธารน้ำแข็งบางแห่งอาจคงสภาพได้นานถึงหนึ่งแสนปีหรือมากกว่านั้น และน้ำแข็งทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกาอาจมีอายุถึงหนึ่งล้านปี

ปริมาณน้ำแข็งที่มากที่สุดในโลกอยู่ที่แอนตาร์กติกา โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกของทวีป ส่วนบริเวณที่มีน้ำแข็งหรือหิมะปกคลุมที่กว้างที่สุดในโลกนั้นอยู่บริเวณซีกโลกเหนือ โดยหิมะภาคจะกินพื้นที่ถึงร้อยละ 23 ของซีกโลกเหนือในเดือนมกราคม

มีปัจจัยทางกายภาพที่สำคัญหลายประการที่ทำให้การแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างพื้นผิวโลกกับชั้นบรรยากาศเบาบางลง ปัจจัยที่สำคัญก็คือการที่หิมะภาคสามารถสะท้อนความร้อนได้ สามารถถ่ายเทความร้อนได้ และสามารถเปลี่ยนสถานะได้ (ความร้อนแฝงจำเพาะ) ปัจจัยทางกายภาพเหล่านี้รวมถึงความขรุขระของผิวไครโอสเฟียร์นั้นมีส่วนอย่างมากในการที่มนุษย์สามารถสังเกตและศึกษาหิมะและน้ำแข็งจากอวกาศได้ ตัวอย่างเช่นความขรุขระของหิมะภาคเป็นตัวการสำคัญในการสะท้อนกลับของเรดาร์[1]

ดูเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hall, D. K., 1996: Remote sensing applications to hydrology: imaging radar. Hydrological Sciences, 41, 609-624.