ไข้หวัดนก
ไข้หวัดนก (อังกฤษ: Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก โดยเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461(ค.ศ.1918-1920) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) เริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก และข้ามมาสู่ฝั่งแปซิฟิกภายในระยะเวลา 2 เดือน มีการประมาณผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50-100 ล้านคน หรือเท่ากับคนจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรของทวีปยุโรป
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ.1957-1958) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน
ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ.1968) เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน
ประเทศจีนและฮ่องกงแก้ไข
ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 [1]
มีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ในตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และมีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว [2]
ประเทศเวียดนามแก้ไข
- มีนาคม พ.ศ. 2550 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดวินห์ลอง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 และ ทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไปแล้ว 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดที่อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.[3]
- พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองไฮฟอง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว [4] และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเงียอาน ของเวียดนาม [5]
ประเทศไทยแก้ไข
มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ .2547 โดยพบว่ามีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในปีนั้นกล่าวคือป่วย 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย ในปี พ.ศ. 2548 ป่วย 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปี พ.ศ. 2549 ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยในปี พ.ศ. 2547 พบพื้นที่ระบาดมากที่สุดโดยมากถึง 60 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2548พบพื้นที่ระบาดรองลงมา 21 จังหวัด ในปีพ.ศ. 2549พบเพียงสองจังหวัด ในปี พ.ศ. 2550 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัด และปีที่พบเป็นปีสุดท้ายได้แก่ พ.ศ. 2551 พบพื้นที่ระบาด 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี[6]
กัมพูชาแก้ไข
พบเด็กเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2555 หนึ่งราย[7]โดยก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วย 10 ราย เสียชีวิตอีก 8 รายใน ช่วงเวลาดังกล่าว[8]
ประเทศญี่ปุ่นแก้ไข
พบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการ่า ในจังหวัดคุมาโมโต้ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550[9]
การตรวจวินิจฉัยโรคแก้ไข
ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3-4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ [10] นอกจากนี้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ยังได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิจัยชาวไทยเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นชุดตรวจวินิจฉัยไข้หวัดนกที่มีความจำเพาะสูงกับไวรัสกลุ่ม H5 มีความไวสูงกว่าวิธีปัจจุบัน (IC) 100 เท่า ทราบผลภายใน 15 นาที และสามารถเก็บตัวอย่างได้นาน 1 เดือน ก่อนนำมาอ่านผลด้วยเครื่องเซนเซอร์อีกด้วย
วัคซีนป้องกันแก้ไข
สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[11] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล [12]
ไข้หวัดนกในคนแก้ไข
โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18 – 20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60% [13]
การป้องกันโรคแก้ไข
- 1.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
- 2.ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- 3.หมั่นล้างมือเป็นประจำเพื่อฆ่าเชื้อโรค และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
- 4.หากมีไข้สูง และเคยสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=16958
- ↑ http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000032761
- ↑ http://dpc6.ddc.moph.go.th/viewh5n1.php?s_h5n1id=790&s_page=oldh5n1
- ↑ http://www.naewna.com/news.asp?ID=61949
- ↑ http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=5396
- ↑ http://www.phetchaburi.go.th/data/sik_bird53.pdf
- ↑ http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81
- ↑ http://www.phetchaburi.go.th/data/sik_bird53.pdf
- ↑ พบไข้หวัดนกในนกอินทรีที่ใกล้สูญพันธุ์ของญี่ปุ่น
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/2008/04/01/WW54_5401_news.php?newsid=244218
- ↑ http://www.thaihealth.net/h/article661.html
- ↑ http://thai.cri.cn/28/2008/04/03/101@121913.htm
- ↑ http://thai.cri.cn/1/2009/01/14/21s141860.htm
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- กรมควบคุมโรค: การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
- [http://www.budu1.com
- WHO: Avian Influenza Fact Sheet โดย องค์การอนามัยโลก
- Avian Influenza (Bird Flu)
- (cat_id=c001,id=55)/ แผนธุรกิจการเมืองเรื่อง‘ไข้หวัดนก’
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.