น้ำมันพืช
น้ำมันพืช หรือ ไขมันพืช เป็นไขมันที่สกัดจากเมล็ดหรือจากส่วนอื่น ๆ (แม้จะน้อยกว่า) ของพืช เหมือนกับไขมันสัตว์ ไขมันพืชเป็นไตรกลีเซอไรด์แบบต่าง ๆ ที่ผสมกัน[1] น้ำมันถั่วเหลีอง น้ำมันผักกาดก้านขาว และน้ำมันโกโก้เป็นตัวอย่างไขมันจากเมล็ด น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าวเป็นตัวอย่างไขมันจากส่วนอื่น ๆ ของผลไม้ ในคำพูดทั่วไป คำว่า น้ำมันพืช อาจหมายถึงน้ำมันที่อยู่ในสถานะของเหลวที่อุณหภูมิห้องเท่านั้น แต่ก็นิยามกว้าง ๆ ด้วยว่า เป็นไขมันพืชทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงสถานะ[2][3] ด้วยเหตุนี้ น้ำมันพืชที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งจึงเรียกว่า "ไขมันพืช" น้ำมันพืชประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ ตรงข้ามกับไขมันที่โครงสร้างไม่มีกลีเซอรอล แม้พืชจะมีน้ำมันในส่วนต่าง ๆ แต่ในเชิงพาณิชย์ จะสกัดน้ำมันจากเมล็ดเป็นหลัก บนบรรจุภัณฑ์ของอาหาร คำว่า "น้ำมันพืช" มักใช้ในรายการส่วนประกอบของอาหารแทนการระบุชนิดของพืชที่ใช้ทำ
การใช้
แก้น้ำมันที่สกัดมาจากพืชได้ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในวัฒนธรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในครัวอายุ 4,000 ปีที่ขุดพบในรัฐอินดีแอนา (สหรัฐ) นักโบราณคดีได้พบหลักฐานว่า แผ่นหินขนาดใหญ่ได้ใช้เพื่อบดถั่ว hickory nut เพื่อสกัดน้ำมันด้วยน้ำเดือด[4] มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า มะกอกได้สกัดเป็นน้ำมันเริ่มตั้งแต่ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[5] และปรากฏในอิสราเอลและปาเลสไตน์ตั้งแต่ 4,500 ปีก่อน ค.ศ.[6]
การใช้ทำอาหาร
แก้น้ำมันพืชอาจทานได้โดยตรงหรือโดยเป็นส่วนประกอบในอาหารเหมือนกับไขมันสัตว์เช่นเนย เนยใส มันหมู มันไก่ เป็นต้น และอาจใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้ง
- ทำให้แป้งกรอบร่วน (shortening)
- ทำให้ส่วนประกอบอาหารอื่น ๆ ติดกันน้อยลง
- ทำให้รสชาติดีขึ้น น้ำมันบางอย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันอัลมอนด์ อาจใช้โดยเฉพาะเพราะรสชาติ/กลิ่นของมัน
- เก็บรสชาติ น้ำมันอาจเก็บรสชาติขององค์ประกอบอาหารอื่น ๆ ได้ เพราะรสมาจากสารเคมีที่ละลายได้ในน้ำมัน
อนึ่ง น้ำมันอาจทำให้ร้อนเพื่อใช้หุงต้ม/ทอดอาหารอื่น ๆ แต่น้ำมันที่ใช้เยี่ยงนี้ต้องมีจุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะติดไฟ) ที่สูงกว่า และรวมน้ำมันประกอบอาหารหลัก ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันผักกาดก้านขาว (rapeseed) น้ำมันแคโนลา (canola) น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดฝ้าย เป็นต้น น้ำมันพืชเขตร้อน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าว มักใช้ในวัฒนธรรมชาวเอเชียสำหรับการทำอาหารความร้อนสูง เพราะมีจุดวาบไฟสูงมาก
น้ำมันเติมไฮโดรเจน (hydrogenated oil)
แก้น้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัวสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) เป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งทำกับน้ำมันที่อุณหภูมิและความดันสูงผ่านกระบวนการ sparging กับไฮโดรเจนโดยมีสารเร่งปฏิกิริยาซึ่งปกติเป็นสารประกอบนิกเกิลที่เป็นแป้ง ในขณะที่พันธะคู่ระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนจะลดลงเป็นพันธะเดี่ยว ไฮโดรเจนคู่หนึ่งก็จะสร้างพันธะเดี่ยวกับคาร์บอนแต่ละอะตอมตามที่ว่านั้น การกำจัดพันธะคู่โดยเติมอะตอมไฮโดรเจนเป็นการทำให้ไขมันอิ่มตัว เมื่อระดับความอิ่มตัวเพิ่มขึ้น ไขมันก็จะมีไฮโดรเจนเต็มยิ่งขึ้น ๆ ซึ่งอาจทำเพื่อกันไม่ให้เหม็นหืน หรือเพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพบางอย่าง เพราะเมื่อความอิ่มตัวเพิ่มขึ้น ทั้งความหนืดและจุดหลอมเหลวก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
แต่การใช้น้ำมันเติมไฮโดรเจนเพื่อปรุงอาหารก็ไม่ได้ดีอย่างสมบูรณ์ เพราะไฮโดรเจนมักเติมเข้าตรงส่วนปลายของกรดไขมัน บางครั้งไม่เกิดที่ส่วนกลาง จึงทำให้ไขมันเปราะแตกง่าย[ต้องการอ้างอิง] เนยเทียมที่ทำมาจากไขมันอิ่มตัวโดยธรรมชาติจะนิ่มกว่า (ทาใส่ขนมปังได้ดีกว่า) เนยเทียมที่ทำมาจากไขมันถั่วเหลืองซึ่งเติมไฮโดรเจน[ต้องการอ้างอิง] แม้การเติมไฮโดรเจนจนเต็มจะเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันอิ่มตัวโดยมาก แต่การเติมไฮโดรเจนแบบเพียงบางส่วนจะเปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากแบบซิส (cis) ไปเป็นแบบทรานส์ (trans) เป็นบางส่วนเพราะความร้อนที่ใช้ในกระบวนการ ไขมันที่เติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วนบวกไขมันทรานส์สัมพันธ์กับความเสี่ยงตายสูงขึ้นเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD)[7] ในบรรดาความเสี่ยงทางสุขภาพที่สูงขึ้นต่าง ๆ
ในสหรัฐ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นบรรจุภัณฑ์ว่า "เนยเทียมไขมันพืช" ข้อบังคับว่าด้วยรูปพรรณของอาหาร (standards of identity for food) ระบุว่า จะต้องเป็นไขมันจากแคโนลา คำฝอย ทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือถั่วลิสงเท่านั้น[8] แต่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขึ้นป้ายดังว่าไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้
การใช้ในอุตสาหกรรม
แก้ไขมันพืชใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ผิวหนัง เทียน น้ำหอม ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดทางกายและเครื่องสำอางต่าง ๆ
ไขมันบางชนิดทำน้ำมันชักแห้งได้ดีเป็นพิเศษ จึงใช้ทำสีและผลิตภัณฑ์รักษาไม้ เช่น น้ำมันยาง (น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ผสมกับเรซินยาง) ใช้เกือบทั้งหมดเพื่อรักษาตัวเรือที่ทำด้วยไม้ ไขมันพืชยังใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นฉนวนไฟฟ้าเพราะไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม คือถ้าตกใส่สิ่งแวดล้อมก็ย่อยสลายทางชีวภาพได้ มีจุดวาบไฟและจุดติดไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะคงติดไฟอย่างน้อย 5 วินาทีหลังจุดชนวน) สูง แต่ก็เสถียรน้อยกว่า จึงมักใช้ในระบบที่ไม่เปิดรับออกซิเจน และมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
น้ำมันพืชใช้ผลิตน้ำมันไฮดรอลิก[9] และน้ำมันหล่อลื่นที่สลายได้โดยชีวภาพ[10]
ข้อจำกัดของการใช้น้ำมันพืชทางอุตสาหกรรมก็คือมันเหม็นหืนได้ ดังนั้น ไขมันที่เสถียรกว่าเช่น น้ำมันมะรุม จึงมักใช้ทางอุตสาหกรรมมากกว่า น้ำมันละหุ่งสามารถใช้ทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่างเพราะมีหมู่ไฮดรอกซิลในกรดไขมัน และเป็นสารตั้งต้นเพื่อผลิตไนลอน 11
สารเติมแต่งอาหารสัตว์เลี้ยง
แก้น้ำมันพืชใช้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงบางอย่าง สมาคมเจ้าหน้าที่ควบคุมอาหารสัตว์อเมริกัน (AAFCO)[11] นิยามน้ำมันพืชในบริบทนี้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์พืชที่ได้จากการสกัดไขมันจากเมล็ดหรือผลแล้วแปลงเพื่อให้กินได้
เชื้อเพลิง
แก้น้ำมันพืชใช้ทำเป็นไบโอดีเซล ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงเหมือนกับน้ำมันดีเซลธรรมดา น้ำมันเชื้อเพลิงผสมน้ำมันพืชอาจใช้ในรถธรรมดาได้ แต่น้ำมันพืชล้วนต้องใช้ในรถพิเศษที่สามารถอุ่นน้ำมันเพื่อลดความหนืดของมัน การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และก็มีขายมากขึ้นทั่วโลก บริษัท NNFCC ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอังกฤษประเมินว่า การลดแก๊สเรือนกระจกสุทธิเมื่อใช้น้ำมันพืชแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์อยู่ที่ระหว่าง 18-100%[12]
วิธี | อัตราร้อยละที่ได้ |
---|---|
Ghani[13] | 20-30% |
Expellers | 34-37% |
ตัวทำละลาย | 40-43% |
การผลิต
แก้กระบวนการผลิตน้ำมันพืชรวมการสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยปกติจากเมล็ด ซึ่งสามารถทำด้วยเครื่องกลหรือทางเคมีด้วยตัวทำละลาย ไขมันที่ได้สามารถทำให้บริสุทธิ์ กลั่น หรือแปลงทางเคมี
เครื่องกล
แก้น้ำมันสามารถสกัดด้วยแรงกล คือด้วยการบี้อัด/โม่ ซึ่งมักทำกับน้ำมันที่ใช้มานานแล้ว (เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น) เป็นวิธีการที่ผู้ทานอาหารสุขภาพในสหรัฐและยุโรปมักนิยม[ต้องการอ้างอิง] มีวิธีการหลายอย่าง[14] รวมทั้ง expeller pressing ซึ่งสามัญ, screw press, ram press และ ghani (ซึ่งใช้อุปกรณ์คล้ายครกและสากและได้แรงจากวัวหรือม้า) เครื่องทุบอัดเมล็ดน้ำมัน (oilseed press) เป็นอุปกรณ์สามัญในประเทศกำลังพัฒนา เพราะวิธีการอื่น ๆ อาจยังแพงเกินไป ghani เป็นอุปกรณ์ที่โดยหลักใช้ในอินเดีย[15] ปริมาณน้ำมันที่ได้โดยวิธีเหล่านี้จะต่างกันมาก ดังที่เห็นในตารางการสกัดเอาน้ำมันเมล็ดของต้น Madhuca longifolia (วงศ์พิกุล) ในอินเดีย[16]
ตัวทำละลาย
แก้น้ำมันที่ใช้ในทางพาณิชย์มักสกัดทางเคมีด้วยตัวทำละลาย ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า เร็วกว่า และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ตัวทำละลายที่สามัญก็คือเฮกเซนที่ได้จากปิโตรเลียม เป็นเทคนิคที่ใช้กับน้ำมันที่ "ใหม่กว่า" เช่น น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าวโพด
คาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพของเหลว (supercritical) ที่ความดันเหนือกว่าความดันวิกฤติ (ปกติ 72.9 บรรยากาศ, 7.39 เมกะปาสกาล, 1,071 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และอุณหภูมิเหนืออุณหภูมิวิกฤติ (ปกติ 31.10 องศาเซลเซียส) สามารถใช้เป็นตัวทำละลายปลอดพิษ[17]
การเติมไฮโดรเจน (hydrogenation)
แก้น้ำมันอาจเติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วน (partially hydrogenated) เพื่อให้ได้น้ำมันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลืองที่เติมไฮโดรเจนน้อยจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คล้ายกับน้ำมันถั่วเหลืองปกติ แต่จะทนเหม็นหืนได้ดีกว่า ส่วนเนยเทียมต้องค่อนข้างแข็งที่อุณหภูมิ 32 °C เพื่อไม่ให้ละลาย แต่ก็ต้องเป็นของเหลวอย่างสิ้นเชิงที่อุณหภูมิ 37 °C เพื่อไม่ให้มีลักษณะเหมือนน้ำมันหมู
น้ำมันทำให้แข็งขึ้นโดยรวมน้ำมันพืชกับสารเร่งปฏิกิริยาในสถานะเกือบสุญญากาศในอุหภูมิสูงมากแล้วเติมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นเหตุให้อะตอมคาร์บอนในน้ำมันแตกพันธะคู่กับคาร์บอนอะตอมอื่น ๆ แต่ละอะตอมจะสร้างพันธะเดี่ยวใหม่กับอะตอมไฮโดรเจน การเติมไฮโดรเจนเช่นนี้ทำให้ไขมันแข็งขึ้น เพิ่มอุณหภูมิจุดก่อควัน (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะเกินควันสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่องซึ่งในที่สุดก็จะมองเห็นได้) และทำให้ไขมันเสถียรยิ่งขึ้น
ไขมันพืชเติมไฮโดรเจนต่างกับไขมันอื่น ๆ ที่อิ่มตัวพอ ๆ กันสองอย่าง คือในกระบวนการ ไฮโดรเจนจะเข้าไปถึงกรดไขมันที่ปลายของไตรกลีเซอไรด์ได้ง่ายกว่าเข้าไปถึงกรดไขมันส่วนกลาง จึงทำให้ไขมันแปรรูปที่ได้เปราะแตกง่ายกว่าไขมันอิ่มตัวตามธรรมชาติ ดังนั้น เนยเทียมที่ทำจากถั่วเหลืองจึงนิ่มทาใส่ขนมปังได้ไม่ดีเท่า อนึ่ง จะเกิดกรดไขมันทรานส์ในกระบวนการ ซึ่งอาจมีมากถึง 40% ของน้ำหนักไขมันที่เติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วน และไขมันเติมไฮโดรเจนโดยเฉพาะที่เติมเป็นเพียงบางส่วนและมีกรดไขมันทรานส์มากกว่า เชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ไม่ถูกสุขภาพ
การดับกลิ่น
แก้ในการผลิตไขมันที่ใช้ทาน จะให้ความร้อนแก่ไขมันที่อยู่ในสุญญากาศจนเกือบถึงจุดก่อควัน แล้วก็เติมน้ำใต้น้ำมัน น้ำจะเปลี่ยนเป็นไอน้ำทันที ซึ่งกลายเป็นฟองลอยขึ้นผ่านไขมันโดยนำเอาสารเคมีที่ละลายน้ำได้ต่าง ๆ ไปด้วย กระบวนการ steam sparging เช่นนี้กำจัดความไม่บริสุทธิ์ที่อาจก่อกลิ่นและรสชาติที่ไม่ต้องการ การกำจัดกลิ่นสำคัญในการผลิตน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันแคโนลาเกือบทั้งหมดที่พบในซูเปอร์มาร์เก็ตได้ผ่านกระบวนการเช่นนี้มาแล้วซึ่งกำจัดกลิ่นและรสชาติ โดยทำให้น้ำมันใสขึ้นด้วย
การได้รับทางอาชีพ
แก้พนักงานอาจสูดไอน้ำมันพืชเข้าไปได้เพราะอาชีพ สำนักงานความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพสหรัฐ (OSHA) ได้ระบุจุดการได้รับในที่ทำงานมากสุดที่ 15 mg/m3 (โดยรวม) และ 5 mg/m3 เมื่อได้รับในช่วงการทำงานเป็นเวลา 8 ชม. ในแต่ละวัน ส่วนสถาบันเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพแห่งชาติสหรัฐ (NIOSH) ได้ตั้งจุดได้รับสูงสุด (REL) ที่ 10 mg/m3 (รวม) และ 5 mg/m3 เมื่อได้รับในช่วงการทำงานเป็นเวลา 8 ชม. ในแต่ละวัน[18]
ผลผลิต
แก้พืช | ผลผลิต (ตัน/เฮกตาร์) |
น้ำมันปาล์ม[19] | 4.0 |
น้ำมันมะพร้าว[20] | 1.4 |
น้ำมันแคโนลา[21] | 1.4 |
น้ำมันถั่วเหลือง[21] | 0.6 |
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน[20] | 0.6 |
น้ำมันโดยเฉพาะ ๆ
แก้น้ำมันพืชที่เป็นไตรกลีเซอไรด์ต่อไปนี้เป็นน้ำมันพืชที่ผลิตมากที่สุดในโลกโดยปริมาณ ซึ่งใช้เป็นทั้งน้ำมันประกอบอาหาร และเชื้อเพลิงหรือเพื่อผลิตไบโอดีเซล ตามกระทรวงเกษตรสหรัฐ การบริโภคทั่วโลกในปี 2007-2008 คือ[22]
แหล่งน้ำมัน | การบริโภคทั่วโลก (ล้านตัน) |
หมายเหตุ |
---|---|---|
ปาล์ม | 41.31 | น้ำมันพืชเขตร้อนที่ผลิตมากที่สุด ใช้ผลิตไบโอดีเซลด้วย |
ถั่วเหลือง | 41.28 | น้ำมันประกอบอาหารที่บริโภคมากที่สุดอย่างหนึ่ง |
ผักกาดก้านขาว | 18.24 | น้ำมันประกอบอาหารที่บริโภคมากที่สุดอย่างหนึ่ง โดยแคโนลาก็เป็นรูปแบบหนึ่งของพืชชนิดนี้ |
เมล็ดทานตะวัน | 9.91 | น้ำมันประกอบอาหารที่สามัญอย่างหนึ่ง ใช้ทำไบโอดีเซลด้วย |
ถั่วลิสง | 4.82 | น้ำมันประกอบอาหารมีกลิ่นอ่อน ๆ |
เมล็ดฝ้าย | 4.99 | เป็นน้ำมันอาหารหลักอย่างหนึ่ง บ่อยครั้งใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร |
เนื้อเมล็ดปาล์ม | 4.85 | ได้จากต้นปาล์มสายแอฟริกา |
มะพร้าว | 3.48 | ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอางและสบู่ |
มะกอก | 2.84 | ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอาง สบู่ และเป็นเชื้อเพลิงในตะเกียงน้ำมัน |
ให้สังเกตว่า ตัวเลขเหล่านี้รวมน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมและเป็นอาหารสัตว์ น้ำมันผักกาดก้านขาวของยุโรปส่วนมากใช้ผลิตไบโอดีเซล หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงในรถดีเซลล์ ซึ่งอาจต้องปรับให้อุ่นน้ำมันเพื่อลดความหนืดของมัน การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงรถได้ไม่น่าแปลกใจ เพราะนายรูดอล์ฟ ดีเซล ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ดีเซลล์ ดั้งเดิมออกแบบเครื่องยนต์เพื่อให้ใช้น้ำมันถั่วลิสง
น้ำมันไตรกลีเซอไรด์สำคัญอื่น ๆ รวมทั้ง
- น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่สามัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในปี 2006 สหรัฐผลิตประมาณ 1.09 ล้านตัน[23] ซึ่งใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร น้ำสลัด เนยเทียม มายองเนส ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเช่น ซอสสปาเกตตี และส่วนผสมอาหารอบ และเพื่อทอดอาหารสำเร็จรูป เช่น มันฝรั่งแผ่นทอด และมันฝรั่งแท่งทอด
- น้ำมันเมล็ดองุ่น ใช้ปรุงอาหารและในเครื่องสำอาง
- น้ำมันถั่วเฮเซิลและน้ำมันถั่วอื่น ๆ
- น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (linseed oil)
- น้ำมันรำข้าว
- น้ำมันเมล็ดคำฝอย เป็นน้ำมันประกอบอาหารที่ไร้รสชาติไม่มีสี
- น้ำมันงา ใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร และเป็นน้ำมันนวดโดยเฉพาะในอินเดีย
- น้ำมันผักคราดหัวแหวน (Jambú oil) สกัดจากดอก ใบ และก้าน มีกรดไขมัน spilanthol ที่ใช้ระงับความรู้สึกได้
- น้ำมันกราวิโอลา (graviola oil) ทำจากทุเรียนเทศ
- น้ำมันบราซิลนัต ใช้ทำอาหารและทำเครื่องสำอาง
- น้ำมันคาราปา (Carapa oil) จากไม้ดอกสกุล Carapa ใช้ทำยาและเทียนกันยุง
- น้ำมันบูริที (buriti oil) จากต้นปาลม์ Mauritia flexuosa ใช้ทำเครื่องสำอางและเครื่องบำรุงผม
- น้ำมันเสาวรส ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง และใช้เป็นอาหารสำหรับทั้งมนุษย์และสัตว์
- น้ำมันปราคาซี (Pracaxi oil) ได้มาจากต้น Pentaclethra macroloba ใช้ทำเครื่องสำอาง
- น้ำมันโซลาเรียม (Solarium oil) ทำจากคลอโรพลาสต์ ใช้ทำอาหาร
องค์ประกอบไขมัน
แก้น้ำมันพืช[24][25] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[24] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[24] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[26] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[27] | ||
คาโนลา[28] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[29] | |
มะพร้าว[30] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[29] | |||
ข้าวโพด[31] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | |
เมล็ดฝ้าย[33] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | |
เมล็ดแฟลกซ์[34] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[35] | |
น้ำมันกัญชง[36] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[37] | |
มะกอก[38] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[29] | |
ปาล์ม[39] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[40] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | ||
คำฝอย[41] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[29] | |
ถั่วเหลือง[42] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[43] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[44] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[45] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[32] | |
เมล็ดฝ้าย[46] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[47] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[48] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
ประวัติ
แก้น้ำมันพืชเป็นส่วนของวัฒนธรรมมนุษย์เป็นพัน ๆ ปีแล้ว เมล็ดต้นฝิ่น เมล็ดผักกาดก้านขาว เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วอัลมอนด์ งา คำฝอย และเมล็ดฝ้ายได้ใช้อย่างช้าก็ตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ในตะวันออกกลางและเอเชียกลาง[1] ในปี 1780 นักเคมีชาวเยอรมันคาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอได้แสดงว่า ไขมันทำมาจากกลีเซอรอล (glycerol) ต่อมาอีก 30 ปี นักเคมีชาวฝรั่งเศส Michel Eugène Chevreul จึงได้อนุมานว่า ไขมันเช่นนี้เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันและกลีเซอรอล
ในยุคปัจจุบัน บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลได้วางขายไขมันพืชเพื่อทำให้แป้งกรอบร่วน (shortening) ในปี 1911 โรงปั่นฝ้ายในสมัยนั้นยินดีให้คนอื่นลากเอาเมล็ดฝ้ายไป ไขมันที่สกัดจะกลั่นแล้วเติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วนเพื่อให้มีสภาพแข็งที่อุณหภูมิห้อง และดังนั้น เลียนสภาพของมันหมูตามธรรมชาติ แล้วบรรจุกระป๋องในแก๊ซไนโตรเจน เมื่อเทียบกับมันหมูที่วางขาย ไขมันที่มีชื่อการค้า Crisco นี้ราคาถูกกว่า กวนใส่ในอาหารได้ง่ายกว่า และสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องถึงสองปีโดยไม่เหม็นหืน
ถั่วเหลืองได้กลายเป็นพืชน่าสนใจซึ่งได้ใหม่จากประเทศจีนในคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นถั่วที่มีโปรตีนสูง และน้ำมันหนืดกลาง ๆ ที่ได้ก็มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง แม้เฮนรี ฟอร์ดเองก็ยังได้ตั้งศูนย์วิจัยถั่วเหลือง ได้พัฒนาพลาสติกและผ้าขนสังเคราะห์จากถั่วเหลือง และได้สร้างรถยนต์คันหนึ่งที่ "เกือบทั้งหมด" ทำจากถั่วเหลือง[49] ไม่เกินกว่าคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 น้ำมันถั่วเหลืองก็ได้กลายเป็นน้ำมันพืชที่นิยมที่สุดในสหรัฐ
ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจัยชาวแคนาดาได้พัฒนาผักกาดก้านข้าวสายพันธุ์หนึ่งที่มีกรด erucic acid ต่ำ แต่เพราะส่วนในชื่อในภาษาอังกฤษคือ "rape" (ข่มขืน) ถือว่าไม่ดีเพื่อใช้วางตลาด จึงได้ตั้งชื่อใหม่เป็น "แคโนลา" (canola) ซึ่งย่อมาจาก "Canada Oil low acid" (น้ำมันแคนาดามีกรดน้อย) โดยองค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติให้ใช้ชื่อใหม่นี้ในปี 1985[50] และเกษตรกรสหรัฐก็เริ่มปลูกพืชเป็นจำนวนมากในปีเดียวกัน
น้ำมันแคโนลามีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูงกว่า และเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ดีกว่าน้ำมันที่นิยมอื่น ๆ น้ำมันแคโนลาหนืดน้อย (ไม่เหมือนน้ำมันข้าวโพด) และไม่มีรสชาติ (ไม่เหมือนน้ำมันมะกอก) มันจึงสามารถทดแทนน้ำมันถั่วเหลืองได้ เหมือนกับที่น้ำมันถั่วเหลืองได้ทดแทนน้ำมันเมล็ดฝ้ายได้
น้ำมันที่ใช้แล้ว
แก้มีน้ำมันพืชเป็นจำนวนมากที่ใช้แล้วนำกลับไปใช้ใหม่ โดยมากจากเครื่องทอดในอุตสาหกรรมผลิตมันฝรั่ง ผลิตอาหารว่าง และร้านอาหารจานด่วน น้ำมันสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง ในการผลิตไบโอดีเซล ทำสบู่ อาหารสัตว์ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง มันขายในตลาดโภคภัณฑ์เป็น "yellow grease"
แต่เริ่มตั้งแต่ปี 2002 ประเทศในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ได้ห้ามใช้น้ำมันพืชที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อใส่อาหารสัตว์ แต่น้ำมันจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร และน้ำมันใหม่ ก็ยังคงใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้[51]
อายุคุณภาพสินค้า
แก้เพราะเหม็นหืนได้ง่ายอาศัยกระบวนการออกซิเดชันเมื่อถูกออกซิเจน ความร้อนและแสง แล้วกลายเป็นผลิตผลเพราะออกซิเดชัน เช่น เปอร์ออกไซด์และไฮโดรเปอร์ออกไซด์ น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่สูง จึงมีอายุคุณภาพสินค้าจำกัด[52][53]
บรรจุภัณฑ์ของสินค้า
แก้ในประเทศแคนาดา น้ำมันพืช 5 อย่าง คือน้ำมันปาล์ม น้ำมันเนื้อเมล็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วลิสง และน้ำมันโกโก้ ต้องขึ้นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะว่าเป็นองค์ประกอบของอาหาร[54] อนึ่ง น้ำมันในผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้แปรรูปหรือเติมไฮโดรเจนต้องระบุว่า "modified" (แปรรูป) หรือ "hydrogenated" (เติมไฮโดรเจน) เมื่อขึ้นรายการว่าเป็นส่วนผสม[55] ส่วนน้ำมันรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วสามารถระบุรวม ๆ ได้ว่า ไขมันพืช ยกเว้นในผลิตภัณฑ์คือ น้ำมันประกอบอาหาร น้ำสลัด และน้ำมันใส่เพิ่มในอาหาร (table oil) ที่ต้องระบุว่าเป็นน้ำมันอะไรโดยเฉพาะ ๆ[54]
ตั้งแต่ปี 2014 ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในสหภาพยุโรปต้องระบุน้ำมันพืชที่ใช้ผลิตโดยเฉพาะตามข้อบังคับใหม่คือ Food Information to Consumers Regulation (ข้อบังคับข้อมูลอาหารให้ผู้บริโภค)[56]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Thomas, Alfred (2002). "Fats and Fatty Oils". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Weinheim: Wiley-VCH. doi:10.1002/14356007.a10_173.
- ↑ Saroj, Parwez. The Pearson Guide to the B.Sc. (Nursing) Entrance Examination. Pearson Education India. p. 109. ISBN 81-317-1338-5.
- ↑ Dand, Robin (1999). The International Cocoa Trade. Woodhead Publishing. p. 169. ISBN 1-85573-434-6.
- ↑ "4,000-year-old 'kitchen' unearthed in Indiana". Archaeo News. 2006-01-26. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
- ↑ Schuster, Ruth (2014-12-17). "8,000-year old olive oil found in Galilee, earliest known in world". Haaretz.
{{cite news}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Ehud Galili et al., "Evidence for Earliest Olive-Oil Production in Submerged Settlements off the Carmel Coast, Israel", Journal of Archaeological Science 24:1141-1150 (1997) ; Pagnol, p. 19, says the 6th millennium in Jericho, but cites no source.
- ↑ Trans Fat Task Force (June 2006). "TRANSforming the Food Supply (Appendix 9iii)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-25. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) (Consultation on the health implications of alternatives to trans fatty acids: Summary of Responses from Experts) - ↑ "Margarine". Code of Federal Regulations Title 21, Chapter I, Subchapter B, Part 166. US Food and Drug Administration. 2011-04-01. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ McGraw, Linda (2000-04-19). "Biodegradable Hydraulic Fluid Nears Market". USDA. สืบค้นเมื่อ 2006-09-29.
- ↑ "Cass Scenic Railroad, West Virginia". GWWCA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ "The Association of American Feed -Control Officials (AAFCO)".
- ↑ North Energy (2010-03-30). "GHG Benefits from Use of Vegetable Oils for Electricity, Heat, Transport and Industrial Purposes, NNFCC 10-016". National Non-Food Crops Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Aziz, KMA (2012). "Ghani". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh. A ghani is a traditional Indian oil press, driven by a horse or ox.
- ↑ Hossain, Amjad (2012). "Kalu". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ Bachmann, Janet. "Oilseed Processing for Small-Scale Producers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
- ↑ B.L. Axtell from research by R.M. Fairman (1992). "Illipe". Minor oil crops. FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-02. สืบค้นเมื่อ 2006-11-12.
- ↑ Eisenmenger, Michael; Dunford, Nurhan T.; Eller, Fred; Taylor, Scott; Martinez, Jose (2006). "Pilot-scale supercritical carbon dioxide extraction and fractionation of wheat germ oil". Journal of the American Oil Chemists' Society. 83 (10): 863–868. doi:10.1007/s11746-006-5038-6.
- ↑ "CDC - NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards - Vegetable oil mist". www.cdc.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "Malaysian Palm Oil Industry". palmoilworld.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-20.
- ↑ 20.0 20.1 "Oil Staple Crops Compared". gardeningplaces.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18.
- ↑ 21.0 21.1 Murphy, Denis J (August 2009). "Global oil yields: Have we got it seriously wrong?". American Oil Chemists' Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-31. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ January 2009 (PDF). Oilseeds: World Market and Trade. Vol. FOP 1-09. USDA. 2009-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-12-11., Table 03: Major Vegetable Oils: World Supply and Distribution at Oilseeds: World Markets and Trade Monthly Circular เก็บถาวร 2010-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Corn Oil" (PDF) (5th ed.). Corn Refiners Association. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-04.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 32.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean Car". Popular Research Topics. Benson Ford Research Center. สืบค้นเมื่อ 2006-10-23.
- ↑ "Canola oil". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-17. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
- ↑ "Waste cooking oil from catering premises". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
- ↑ Prabhu, H Ramachandra (2000). "Lipid peroxidation in culinary oils subjected to thermal stress". Indian Journal of Clinical Biochemistry. 15 (1): 1–5. doi:10.1007/BF02873539. PMC 3453543. PMID 23105229.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Tańska, M; Roszkowska, B; Skrajda, M; Dąbrowski, G (2016). "Commercial Cold Pressed Flaxseed Oils Quality and Oxidative Stability at the Beginning and the End of Their Shelf Life". Journal of Oleo Science. 65 (2): 111–21. doi:10.5650/jos.ess15243. PMID 26782307.
- ↑ 54.0 54.1 "Basic Labelling Requirements", Guide to Food Labelling and Advertising, Canadian Food Inspection Agency, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-06, สืบค้นเมื่อ 2015-04-08
- ↑ "Common Name - Fats and Oils", Labelling Requirements for Fats and Oils (PDF), Canadian Food Inspection Agency, สืบค้นเมื่อ 2015-04-08
- ↑ "Regulation (EU) No 1169/2011 of the European Parliament and of the Council", Official Journal of the European Union, 2011-11-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-06
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Gupta, Monoj K. (2007). Practical guide for vegetable oil processing. AOCS Press, Urbana, Illinois. ISBN 978-1-893997-90-5.
- Jee, Michael, บ.ก. (2002). Oils and Fats Authentication. Blackwell Publishing, Oxford, England. ISBN 1-84127-330-9.
- Salunkhe, D.K., Chavan, J.K., Adsule, R.N. and Kadam, S.S. (1992). World Oilseeds - Chemistry, Technology, and Utilization. Van Nostrand Reinhold, New York. ISBN 0-442-00112-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)