ใบอนุญาตรับชมโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักรรวมถึงบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี (หมู่เกาะแชนเนลและเกาะแมน) ทุกครัวเรือนที่รับชมหรือบันทึกการแพร่ภาพโทรทัศน์ (ไม่ว่าจะแพร่ภาพผ่านสถานีภาคพื้น ผ่านดาวเทียม หรือผ่านระบบเคเบิล) จะต้องซื้อใบอนุญาตรับชมโทรทัศน์ ใน ค.ศ. 2012 ราคาใบอนุญาตอยู่ที่ 145.50 และ 49.00 ปอนด์สเตอร์ลิง สำหรับการรับชมในระบบสีและระบบขาวดำตามลำดับ[1] ค่าใบอนุญาตนี้ถือเป็นภาษีและผู้ฝ่าฝืนไม่ชำระจะถูกลงโทษเช่นเดียวกับการเลี่ยงภาษี ในปีงบประมาณ 2010–11 เก็บค่าใบอนุญาตรวมได้ทั้งสิ้น 3.622 พันล้านปอนด์[2] (15.8% เป็นเงินที่รัฐบาลออกให้ผู้มีอายุมากกว่า 75 ปี) ซึ่งนำมาใช้เพื่อกิจการของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (BBC)

ประเด็นทางกฎหมาย แก้

เมื่อใดต้องมีใบอนุญาต แก้

ตามข้อมูลของผู้เก็บค่าใบอนุญาต "คุณต้องมีใบอนุญาตรับชมทีวีเพื่อใช้อุปกรณ์รับโทรทัศน์ เช่น ทีวี, กล่องรับสัญญาณดิจิทัล, เครื่องบันทึกเทปวิดีโอหรือดีวีดี, แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรับชมหรือบันทึกรายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพออกอากาศทางทีวี"[3] สำหรับอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้เช่น โทรศัพท์ และแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ จะใช้ที่ใดก็ได้หากเจ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นได้มีใบอนุญาตใช้งานสำหรับที่บ้านของตนแล้ว[4]

จำนวนใบอนุญาตที่ต้องมี แก้

ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ประกอบธุรกิจ ต่างก็ต้องมีใบอนุญาตเพื่อรับชมโทรทัศน์[5]

สำหรับที่อยู่อาศัย จำนวนใบอนุญาตที่ต้องมีคือหนึ่งใบต่อครัวเรือนต่อที่พัก ไม่ว่าจะมีจำนวนอุปกรณ์รับชมหรือจำนวนคนรับชมเท่าใด[6] สำหรับสถานที่อยู่อาศัยที่เช่าแยกกันอาจต้องซื้อใบอนุญาตแยกกันไปตามจำนวนสัญญาเช่า[7]

การบังคับเอาค่าใบอนุญาต แก้

 
รถตู้ตรวจการรับสัญญาณโทรทัศน์

ในอดีตมักโฆษณาว่ามีรถตรวจการรับสัญญาณโทรทัศน์เพื่อตรวจหาผู้รับชมโทรทัศน์โดยไม่มีใบอนุญาต[8][9] และยังกล่าวอ้างว่ามีเครื่องตรวจแบบมือถืออีกด้วย ซึ่งบีบีซีกล่าวอ้างว่าเครื่องตรวจจับดังกล่าวใช้เพื่อขอหมายค้น[10] แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นหลักฐานในศาล[11] และยังเป็นที่ถกเถียงว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีจริงหรือไม่หรือมีประสิทธิภาพเพียงใด

ปัจจุบันใช้วิธีบังคับค่าใบอนุญาตโดยใช้ฐานข้อมูล "LASSY" ที่รวบรวมที่อยู่ 29.5 ล้านรายการในสหราชอาณาจักร[12] ในปีงบประมาณ 2011–12 ได้มีจดหมายเตือน 21 ล้านฉบับส่งไปถึงที่อยู่ที่ยังไม่มีใบอนุญาต [13] หากที่อยู่ใดมีเพียงใบอนุญาตรับชมแบบขาวดำหรือแจ้งว่าไม่มีการรับชมโทรทัศน์ อาจมีเจ้าหน้าที่บังคับใช้ใบอนุญาตแวะไปเยี่ยมโดยไม่บอกล่วงหน้า ซึ่งมีการเยี่ยมบ้านเหล่านี้ 2.9 ล้านครั้ง และ 3.5 ล้านครั้ง ในปีงบประมาณ 2005-6 และ 2006-7 ตามลำดับ พบว่าราว 27% ของผู้ที่อ้างว่าไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกลับพบว่าต้องมีใบอนุญาต ในหกเดือนแรกของ ค.ศ. 2012 มีคนกว่า 204,000 คนในสหราชอาณาจักรที่ถูกจับได้ว่าดูทีวีโดยไม่มีใบอนุญาต[14]

มีคดีชมโทรทัศน์โดยไม่มีใบอนุญาตราวหนึ่งในสิบของคดีในศาลแขวง[15] กฎหมายอนุญาตให้ศาลกำหนดค่าปรับได้ถึง 1,000 ปอนด์ แต่ว่าค่าเฉลี่ยของเงินที่ต้องจ่ายจริงที่ศาลกำหนดให้เป็น ค่าปรับ รวมถึงฤชาธรรมเนียม และค่าทนายอยู่ที่ประมาณ 153 ปอนด์ ซึ่งมากกว่าค่าใบอนุญาตเพียงเล็กน้อย[16]

การจัดเก็บค่าใบอนุญาตบริหารจัดการเยี่ยงการขายสินค้า[17] เจ้าหน้าที่จัดเก็บค่าใบอนุญาตได้รับแรงจูงใจเป็นค่านายหน้า[18] มีหลายกรณีที่ปรากฏว่าเจ้าหน้าจัดเก็บค่าใบอนุญาตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ มีพฤติการณ์คุกคาม ข่มเหงรังแก รวมถึงสร้างหลักฐานเท็จและปลอมแปลงเอกสาร[19][20][21]

อัตราการหลบเลี่ยงไม่จ่ายค่าใบอนุญาตโดยรวมอยู่ที่ราว 5% [22][12][23] ซึ่งมีการกระจายตัวต่างกันไป และมีอัตราการหลบเลี่ยงในสกอตแลนด์สูงกว่าสหราชอาณาจักรโดยรวม [24]

ใน ค.ศ. 2004 มีรายงานว่า 2.3% ของครัวเรือนสหราชอาณาจักรไม่มีเครื่องรับโทรทัศน์[25] และใน ค.ศ. 2008 BBC รายงานว่าคนราวหนึ่งล้านคนไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตรับโทรทัศน์

อ้างอิง แก้

  1. "Why you need a TV Licence". TV Licensing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-08. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
  2. http://downloads.bbc.co.uk/annualreport/pdf/bbc_ar_online_2010_11.pdf
  3. TV Licensing. "Do I need a TV Licence?". สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  4. Oliver, Harriet (2009-10-01). "Firms issued TV licence warning". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
  5. "Q&A: The TV licence and your PC". BBC Web Site. BBC. 15 June 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  6. Do I need a TV Licence for every TV in my household?, TV Licensing, 2011
  7. Do I need a licence if I live in a shared house and it's not my TV?, TV Licensing, 2011
  8. "TV Licence – Columbo". The National Archives. สืบค้นเมื่อ 2012-09-27.
  9. "Press Office – New generation of television detector vans". BBC. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
  10. "BBC response to Freedom of Information Request, 14/03/2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-02-17.
  11. "Evidence from TV Detection Equipment FOIA Response on". Whatdotheyknow.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
  12. 12.0 12.1 "TV Licensing Annual Review, 2006/7". Tvlicensing.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
  13. "TV Licensing Postal Costs". TV Licensing Blog. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.
  14. "TV Licensing, "204,000 TV Licence evaders in first half of 2012"". Tvlicensing.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
  15. "Thousands of TV Licence cheats face prosecution every week". This is Money.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
  16. "BBC Response to Freedom of Information Request, 27/04/2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-02-17.
  17. "Managing TV licensing for the BBC". Capita. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-11. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
  18. "Job Advertisement". Capita. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
  19. icWales (2005-09-24). "TV licence worker guilty of pay scam".
  20. "Criminal TV Licensing Employees". TV Licensing Blog. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.
  21. "Man wins TV licence battle". Thurrock Gazette. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.
  22. "TV Licensing Annual Review, 2005/6" (PDF). Tvlicensing.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
  23. "2010/11 Annual Review" (PDF). www.tvlicensing.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2012-07-12.
  24. "Revealed: Britain's capital for TV licence fee evasion is.. Glasgow". Daily Record. สืบค้นเมื่อ 2012-11-07.
  25. "BBC response to Freedom of Information Request, 16/02/2006" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-02-17.