ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

(เปลี่ยนทางจาก ใบประกอบวิชาชีพครู)

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เป็นหลักฐานการอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546[1] เป็นผู้มีสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตฯ คือ คุรุสภา

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ประเภทของใบอนุญาต แก้

  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น

ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต แก้

ครู แก้

  • ครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภา ตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 อยู่แล้วก่อนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้แก่ ข้าราชการครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 พนักงานครูเทศบาล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งประจำในสถานศึกษาของกรุงเทพฯ
  • ผู้ทำการสอนในสถานศึกษาที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับเงินเดือนประจำครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภา ตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 อยู่แล้วก่อน วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งต่อมาลาออกหรือเกษียณอายุราชการ หรือพ้นจากหน้าที่ครู
  • ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งบรรจุและแต่งตั้งตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติสภาครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ หรือวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 และมีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูก่อนวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ
  • ครูอัตราจ้าง ตามสัญญาจ้างที่มีวุฒิทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค.กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู ก่อนวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ
  • ผู้ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่ได้ประกอบวิชาชีพครูที่มีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู และมีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูก่อนวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ

ผู้บริหารสถานศึกษา แก้

  • ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ช่วยผู้บริหารการศึกษา เช่น ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นต้น

ผู้บริหารการศึกษา แก้

  • ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของกระทรวงศึกษาธิการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

บุคลากรทางการศึกษาอื่น แก้

  • ผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

อ้างอิง แก้

  1. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 52 ก วันที่ 11 มิถุนายน 2546

แหล่งข้อมูลอื่น แก้